Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53038
Title: | ความต้านทานต่อการสึกของซี่ฟันปลอมอะคริลิก เรซินชนิดต่างๆ |
Other Titles: | Wear resistance of various acrylic resin teeth |
Authors: | ชนิตา ศุภอมรกุล |
Advisors: | แมนสรวง อักษรนุกิจ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Mansuang.A@chula.ac.th |
Subjects: | ฟันปลอม -- การสึกกร่อน วัสดุ -- การสึกกร่อน เรซินอะคริลิก -- การสึกกร่อน Dentures -- Erosion Materials -- Erosion Acrylic resins -- Erosion |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ความต้านทานต่อการสึก ของซี่ฟันปลอมอะคริลิกเรซิน เป็นคุณสมบัติหนึ่งที่สำคัญที่จะทำให้ผู้ป่วยที่สูญเสียฟันไปสามารถใช้ฟันปลอมได้นาน ซี่ฟันปลอมอะคริลิกเรซินที่มีความต้านทานต่อการสึกสูงจะทำให้ผู้ป่วยที่ใส่ฟันปลอมคงการสบฟันที่ดีไปได้นาน การศึกษานี้เป็นการเปรียบเทียบความต้านทานต่อการสึกของซี่ฟันปลอมอะคริลิกเรซิน 4 ยี่ห้อที่มีองค์ประกอบต่างกัน ทดสอบความต้านทานต่อการสึก โดยใช้ซี่ฟันปลอมยี่ห้อเดียวกันเป็นคู่ทดสอบกันซี่ฟันปลอมอะคริลิกเรซินที่ถูกเลือกมาใช้ในการทดสอบได้แก่ ซี่ฟันปลอม แบบโพลีเมทิลเมทาคริเลตชนิดเส้น ยี่ห้อ Major-dent ซี่ฟันปลอมแบบ โพลีเมทิลเมทาคริเลตชนิดที่มีสารเชื่อมขวางปริมาณสูงและวัสดุอัดแทรกซิลิกายี่ห้อ SR-Orthosit-PE ซี่ฟันปลอมแบบโครงสร้างตาข่ายยี่ห้อ Trubyte Bioform IPN และ ยี่ห้อ Excellence IPN ชิ้นตัวอย่างซี่ฟันปลอม และชิ้นตัวอย่างซี่ฟันปลอมคู่สบจะถูกยึดอยู่ในเครื่องทดสอบการสึก ซึ่งจำลองการสึกแบบสององค์ประกอบ ด้วยแรงกดคงที่ขนาด 2 กิโลกรัม ถูเป็นระยะทาง 8 มิลลิเมตร ด้วยความถี่ 60 รอบต่อนาที จำนวน 5,000 รอบ โดยขณะทดสอบการสึกชิ้นตัวอย่างทั้งสองจะถูกแช่อยู่ในน้ำซึ่งมีการหมุนเวียนด้วยปั๊มน้ำตลอดการทดสอบ วัดผลความต้านทานต่อการสึกจากปริมาตรของซี่ฟันปลอมที่หายไปหลังการทดสอบการสึก วัดความแข็งผิวของชิ้นตัวอย่างซี่ฟันปลอมอะคริลิกเรซิน ด้วยเครื่องวัดความแข็งผิวจุลภาควิกเกอร์ ใช้น้ำหนักกด 50 กรัมเป็นเวลา 30 วินาที วิเคราะห์ผลการทดลองด้วยสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว แล้วทำการเปรียบเทียบเชิงซ้อน พบว่า ซี่ฟันปลอมอะคริลิก เรซินยี่ห้อ Major Dent สูญเสียปริมาตรหลังการทดสอบการสึกไปมากที่สุด (0.0275 ± 0.004) จึงมีความต้านทานต่อการสึกต่ำที่สุดและแตกต่างจากซี่ฟันปลอมอะคริลิกเรซินอีก 3 ยี่ห้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ซี่ฟันปลอมอะคริลิกเรซินยี่ห้อ Excellence IPN สูญเสียปริมาตรหลังการทดสอบการสึกไปน้อยที่สุด (0.0170 ± 0.006) จึงมีความต้านทานต่อการสึกสูงที่สุด เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบความแข็งผิวเฉลี่ยของซี่ฟันปลอมอะคริลิกเรซินทั้ง 4 ยี่ห้อ พบว่าความแข็งผิวเฉลี่ยของซี่ฟันปลอมอะคริลิกเรซินยี่ห้อ SR-Orthosit-PE (29.21± 0.74 VHN) มีค่าสูงที่สุด และมีความแข็งผิวเฉลี่ยแตกต่างจากซี่ฟันปลอมยี่ห้ออื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) |
Other Abstract: | The wear resistance of acrylic resin teeth is a key factor in determining the function and service life of the removable dental prosthesis. The ability of acrylic resin teeth to maintain a stable occlusal relationship over time relies upon this property. Therefore, the purpose of this study was to evaluate wear resistance of various acrylic resin teeth based on their composition when opposed by the same tooth antagonist. Four acrylic resin teeth (Major dent, SR-Orthosit-PE, Trubyte Bioform IPN and Excellence IPN) were evaluated using an in vitro 2 body wear- testing apparatus resembling pin on disc configuration. Wear testing was performed by repeatedly grinding upper acrylic resin tooth specimen (pin) on lower acrylic resin tooth specimen (disc) with 60 Hertz, 8 mm. grinding distance and 2 Kg. dead weight under flowing water. Wear resistance was assessed by volume loss after 5,000 cycles. The Vickers microhardness (VHN) of the specimens was also measured with a load of 50 g and a loading time of 30 seconds. Data were analyzed using a 1-way analysis of variance and Turkey HSD multiple comparison at p<0.05. The volume loss of Major dent teeth (0.0275 ± 0.004) was significant higher than the others. Regarding surface hardness, SR-Orthosit-PE (29.21 ± 0.74 VHN) has significantly higher hardness than other acrylic resin teeth (p<0.05). |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ทันตกรรมประดิษฐ์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53038 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.457 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.457 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Dent - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
chanita_su_front.pdf | 1.37 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chanita_su_ch1.pdf | 833.03 kB | Adobe PDF | View/Open | |
chanita_su_ch2.pdf | 3.36 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chanita_su_ch3.pdf | 1.95 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chanita_su_ch4.pdf | 1.17 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chanita_su_ch5.pdf | 1.72 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chanita_su_ch6.pdf | 233.62 kB | Adobe PDF | View/Open | |
chanita_su_back.pdf | 1.92 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.