Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53046
Title: การพัฒนาโมเดลการใช้ประโยชน์วิจัยของนิสิตบัณฑิตศึกษาทางการศึกษา : โมเดลการวัดแบบแข่งขัน 2 แบบและโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุแบบมีองค์ประกอบแฝง
Other Titles: The development of the research utilization models of graduate students in education : two competing measurement models and causal models with latent factors
Authors: ธีระภาพ เพชรมาลัยกุล
Advisors: ศิริชัย กาญจนวาสี
นงลักษณ์ วิรัชชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Sirichai.K@Chula.ac.th
Nonglak.W@chula.ac.th
Subjects: การศึกษา -- วิจัย -- การใช้ประโยชน์
Education -- Research -- Utilization
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบและระดับการใช้ประโยชน์วิจัยในกระบวนการทำวิทยานิพนธ์ของนิสิตบัณฑิตศึกษาที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยเชิงบริบทและภูมิหลังแตกต่างกัน 2) พัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลการวัดการใช้ประโยชน์วิจัยที่ประยุกต์การวิเคราะห์โค้งพัฒนาการ 2 โมเดล คือ โมเดลการวัดการใช้ประโยชน์วิจัยโดยรวมกับโมเดลการวัดการใช้ประโยชน์วิจัยโดยรวมที่เพิ่มตัวแปรแฝงการใช้ประโยชน์วิจัยจำแนกรูปแบบการใช้ 3 รูปแบบเข้าในโมเดล (การใช้ประโยชน์วิจัยโดยตรง โดยอ้อมและเชิงชักชวน) 3) พัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการใช้ประโยชน์วิจัย วิเคราะห์ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการใช้ประโยชน์วิจัยของนิสิตบัณฑิตศึกษา พร้อมทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลระหว่างกลุ่มนิสิตที่แตกต่างระหว่างสถาบัน ระดับหลักสูตรบัณฑิตศึกษาและกลุ่มสาขาวิชา กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตระดับหลักสูตรมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต 61 กลุ่มหลักสูตรจาก 15 สาขาวิชาของสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐจำนวน 468 ราย ด้วยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดประเมินตนเอง 4 ตอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากการสังเคราะห์เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและตรวจสอบคุณภาพตามหลักการวัดได้ผลว่าแบบวัดทั้งฉบับมีค่าความเที่ยงของครอนบาชและดัชนีความสอดคล้อง = .949 และ .969 การรวบรวมข้อมูลเป็นการวัดซ้ำ 4 ครั้งตามขั้นตอนของกระบวนการวิจัย 5 ขั้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์ความแปรปรวน การวิเคราะห์ความแปรปรวนตัวแปรพหุนาม การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณด้วยโปรแกรม SPSS การตรวจสอบความตรงและทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลระหว่างสถาบัน ระดับหลักสูตรและกลุ่มสาขาวิชาด้วยโปรแกรม LISREL 8.72 ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ว่า 1) นิสิตบัณฑิตศึกษามีระดับการใช้ประโยชน์วิจัยในระดับค่อนข้างสูงในการวัดค่าทั้ง 4 ครั้ง (ค่าเฉลี่ยระหว่าง 3.513 ถึง 3.657 คือนิสิตระบุว่าใช้ประโยชน์วิจัยในช่วงร้อยละ 60.00-79.99 จากความถี่ของการใช้ความรู้จากแหล่งข้อมูลทั้งหมด) โดยการใช้ประโยชน์ในแต่ละขั้นตอนการศึกษาและทำวิทยานิพนธ์มีค่าใกล้เคียงกัน โดยใช้ในขั้นตอนดำเนินการวิจัยและขั้นตอนกำหนดปัญหาและประเด็นหลักในการวิจัยในระดับสูงที่สุดและใช้ในขั้นตอนการเผยแพร่งานวิจัยน้อยที่สุด เมื่อจำแนกตามรูปแบบการใช้ประโยชน์ นิสิตบัณฑิตศึกษามีการใช้ประโยชน์วิจัยโดยตรงสูงที่สุด รองลงมาคือใช้ประโยชน์งานวิจัยโดยอ้อมและใช้เชิงชักชวนน้อยที่สุด 2) โมเดลการวัดที่ 1 : โมเดลการวัดโค้งพัฒนาการที่มีตัวแปรแฝงแบบความแปรปรวนของความคลาดเคลื่อนไม่เท่ากันวัดค่าการใช้ประโยชน์วิจัยด้วยพหุตัวบ่งชี้มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในเกณฑ์ดี (X²= 95.508; p = .001; GFI = .981; AGFI = .925) ขณะที่โมเดลการวัดที่ 2 : โมเดลการวัดโค้งพัฒนาการที่มีตัวแปรแฝงแบบความแปรปรวนของความคลาดเคลื่อนไม่เท่ากันค่าการใช้ประโยชน์วิจัยด้วยพหุตัวบ่งชี้ที่เพิ่มการใช้ประโยชน์วิจัยจำแนกรูปแบบการใช้ 3 รูปแบบเข้าในโมเดลไม่มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในเกณฑ์ดี (X²= 324.130; p = .076; GFI = .953; AGFI = .933) ตัวแปรเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลทางบวกอย่างมีนัยสำคัญสูงที่สุดต่อการใช้ประโยชน์วิจัย คือ ประเภทงานวิจัยที่ใช้ รองลงมาคือการเรียนการสอนเน้นการใช้ประโยชน์วิจัย 4) ผลการทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการใช้ประโยชน์วิจัยระหว่างสถาบัน ระดับหลักสูตรและกลุ่มสาขาวิชานิสิตบัณฑิตพบว่า มีเพียงโมเดลที่วิเคราะห์กลุ่มพหุระหว่างสถาบันที่โมเดลมีความไม่แปรเปลี่ยนในด้านรูปแบบโมเดล แต่มีความแปรเปลี่ยนของสถานะพารามิเตอร์ในเมทริกซ์ ส่วนโมเดลที่วิเคราะห์กลุ่มพหุระหว่างระดับหลักสูตรและกลุ่มสาขาวิชามีความแปรเปลี่ยนทั้งในด้านรูปแบบโมเดลและสถานะพารามิเตอร์ทุกพารามิเตอร์ โดยโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ดีที่สุดคือโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการใช้ประโยชน์วิจัยที่ไม่แปรเปลี่ยนในด้านรูปแบบโมเดลระหว่างสถาบันมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ใน (X²= 661.664, df = 610, p = .072, RMSEA = .019, GFI = .924, X² / df = 1.085)
Other Abstract: The purposes of this research were 1) to study research utilization level and utilization pattern of graduate students with different individual, contextual and background factors 2) to develop and validate the 2 research utilization measurement models with the application of latent growth curve analysis : the measurement model of overall research utilization and the measurement model of overall research utilization adding 3 patterns of research utilization (direct, indirect and persuasive research utilization) 3) to develop and validate causal model and to determine the factors affecting research utilization of graduate students and test the model invariance across groups of graduate students with different institutions, graduate curriculum level and major of graduate students. The sample consisted of 478 graduate students selected by means of multi-stage sampling from 61 master and doctoral program in 15 departments of 2 governmental universities in Bangkok. The research instrument was self-response questionnaire consisting of 4 parts, all of which were developed by the researcher based on related literature review and were checked for quality according to the principle of measurement resulting in Conbrach’s alpha reliability of .949 and index of congruence of .969 for the whole instrument. Data collection were repeated measurement for 4 times on 5 steps of research process. Descriptive statistics, correlation analysis, analysis of variance, multivariate analysis of variance and multiple regression analysis were employed for data analysis using SPSS. Model validation and the test of model invariance between institutions, graduate curriculum levels and groups of major were employed using LISREL 8.72. The major finding were : 1) the research utilization levels of the graduate students were quite high in all 4 measurement (mean range of 3.513-3.657). The students indicated that 60.00-79.99 percent of total frequency in utilizing of overall knowledge were research utilization. The utilization frequencies were approximately equal for each step of research study and research process. The highest one was research method step, problem identification step whereas the lowest one was the research dissemination step. Classifying by pattern of research utilization revealed that the graduate student mostly utilized research directly, next was indirect utilization and the least was persuasive utilization. 2) the first model : latent growth curve multi-indicators measurement model with unequal disturbance variance was well fitted to the empirical data (X² = 95.508; p = .001; GFI = .981; AGFI = .925) whereas the 2nd model (latent growth curve multi-indicators measurement model with unequal disturbance variance adding 3 patterns of research utilization) was not fitted to the empirical data. 3) the causal model of research utilization was well fitted to the empirical data (X² = 324.130; p = .076; GFI = .953; AGFI = .933), the strongest positive causal factor was type of used research, next was the research utilization-based teaching. 4) the comparison of causal model of research utilization between groups of graduate students with different institute, graduate level and major revealed that the model was invariant in model form but variant in every parameter matrix in comparison between institute, and the model was variant in model form and parameter matrix in comparison between graduate level and major. The best invariant causal model in model form in comparison between institute was fitted to the empirical data (X² = 661.664, df = 610, p = .072, RMSEA = .019, GFI = .924, X² / df = 1.085).
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53046
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.926
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.926
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
theeraphab_ph_front.pdf2.57 MBAdobe PDFView/Open
theeraphab_ph_ch1.pdf1.82 MBAdobe PDFView/Open
theeraphab_ph_ch2.pdf12.26 MBAdobe PDFView/Open
theeraphab_ph_ch3.pdf8 MBAdobe PDFView/Open
theeraphab_ph_ch4.pdf8.9 MBAdobe PDFView/Open
theeraphab_ph_ch5.pdf5.64 MBAdobe PDFView/Open
theeraphab_ph_ch6.pdf3.45 MBAdobe PDFView/Open
theeraphab_ph_back.pdf6.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.