Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53083
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ | - |
dc.contributor.advisor | บุญมี เณรยอด | - |
dc.contributor.author | ธีรศักดิ์ อุ่นอารมย์เลิศ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2017-06-22T13:34:54Z | - |
dc.date.available | 2017-06-22T13:34:54Z | - |
dc.date.issued | 2550 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53083 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุน – ผลตอบแทนส่วนบุคคลและส่วนสังคมทั้งที่สามารถวัดเป็นตัวเงินได้และไม่สามารถวัดเป็นตัวเงินได้ จากหลักสูตรครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ 4 ปี 5 ปี และผู้สำเร็จหลักสูตรระดับปริญญาตรีแล้วศึกษาต่อหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู และนำเสนอแนวทางการผลิตบัณฑิตครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ที่พึงประสงค์ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ สถาบันการศึกษา นิสิต/นักศึกษา และบัณฑิต ของมหาวิทยาลัยที่เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ทั้ง 3 หลักสูตรข้างต้น จำนวน 10 แห่งโดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ 3 ส่วน คือ 1) ข้อมูลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล 2) ข้อมูลเกี่ยวกับงบประมาณค่าใช้จ่ายของมหาวิทยาลัย และ 3) ข้อมูลผลตอบแทนที่ไม่สามารถวัดเป็นตัวเงินได้ ในส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุน-ผลตอบแทนนั้น ใช้การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ ได้แก่ อัตราผลตอบแทนภายใน (Internal Rate of Return : IRR) มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value : NPV) และอัตราผลตอบแทนต่อต้นทุน (Benefit - Cost Ratio : BCR) และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับผลตอบแทนที่ไม่สามารถวัดเป็นตัวเงินได้โดยใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลตอบแทนส่วนสังคมที่สามารถวัดเป็นตัวเงินได้ของการผลิตบัณฑิตของหลักสูตรครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ 4 ปี 5 ปี และผู้สำเร็จหลักสูตรระดับปริญญาตรีแล้วศึกษาต่อหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มีอัตราผลตอบแทนภายในเท่ากับร้อยละ 4.1797, 3.3571 และ 3.3820 ตามลำดับ ส่วนมูลค่าปัจจุบันสุทธิมีค่าเท่ากับ 1,117,932.57 บาท 1,059,254.27 บาท และ 1,063,360.33 บาท ตามลำดับ และในส่วนของอัตราผลตอบแทนต่อต้นทุนมีค่าเท่ากับ 2.78, 2.32 และ 2.33 ตามลำดับ ส่วนผลตอบแทนส่วนบุคคลที่สามารถวัดเป็นเงินได้ มีอัตราผลตอบแทนภายในเท่ากับร้อยละ 5.1494, 4.2165 และ 3.7086 ตามลำดับ ส่วนมูลค่าปัจจุบันสุทธิมีค่าเท่ากับ 1,359,683.43 บาท 1,310,631.16 บาท และ 1,209,459.09 บาท ตามลำดับ และในส่วนของอัตราผลตอบแทนต่อต้นทุนมีค่าเท่ากับ 3.49, 2.86 และ 2.54 ตามลำดับ 2) ผลตอบแทนที่ไม่สามารถวัดเป็นตัวเงินได้ทั้ง 6 ด้านของทั้ง 3 หลักสูตร พบว่าหลักสูตร 4 ปีได้รับผลตอบแทนที่ไม่สามารถวัดเป็นตัวเงินได้เพิ่มขึ้น มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.56 – 4.14 (อยู่ในระดับมาก) หลักสูตร 5 ปี มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.79 - 4.22 (อยู่ในระดับมาก) และผู้สำเร็จหลักสูตรระดับปริญญาตรีแล้วศึกษาต่อหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.58 – 4.23 (อยู่ในระดับมาก) 3) แนวทางการผลิตบัณฑิตครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ที่พึงประสงค์ของประเทศไทยนั้นผลการวิจัยพบว่าหลักสูตรครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ 5 ปี มีความเหมาะสม แต่ควรจะต้องมีการปรับรายวิชาเรียน 3 ด้าน ได้แก่ วิชาศึกษาทั่วไป วิชาชีพครู และวิชาที่ศาสตร์เฉพาะให้เหมาะสม เพื่อสนองตอบต่อการใช้ประโยชน์มากยิ่งขึ้น และจะต้องมีการจูงใจคนเก่งมาเรียนด้วยการให้ทุนการศึกษา และการบรรจุตำแหน่งงาน เพื่อให้ผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินของหลักสูตรครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ 5 ปีมีค่าสูงขึ้น | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this study was to analyze a cost-benefit of teacher education programs which included 4 year program, 5 year program and those who had bachelor degree with a teacher certificate program. Samples used in the study were students, graduates in these programs from 10 universities. A collection of the data were collected from 3 sections; 1) Students’ budgets 2) Universities’ budgets, and 3) Feedback and responds from former students. An analysis in the study applied the economic data analyses which are Internal Rate of Return: IRR, Net Present Value: NPV, and Benefit-Cost Ratio: BCR. A data related to graduates’ feedback and responds analyzed by using Frequencies (F), Percentage (%)and Means( ),The results of the study were followings ; 1) Budget of Education Program run by universities showed that Internal Rate of Return: IRR varied from 4.1797% - a 4 year program, 3.3571% - a 5 year program, and 3.3820% - bachelor degree with a teacher certificate program. A Net Present Value is 1,117,932.57 Baht, 1,059,254.27 Baht and 1,063,360.33 Baht. While a Benefit - Cost Ratio is 2.78, 2.32 and 2.33 respectively. For student’s personal Internal Rate Return: IRR for Education Program varied from 5.1494% - a 4 year program, 4.2165 % - a 5 year program, and 3.7086% - bachelor degree with a teacher certificate program. Net Present Value: NPV of students is 1,359,683.43 Baht, 1,310,631.16 Baht, and 1,209,459.09 Baht as well, a Benefit - Cost Ratio: BCR is 3.49, 2.86 and 2.54 respectively. 2) Graduates’ feedback and responds to the programs are positive. Respectively, the respond of 4 year program is ranked 3.56 – 4.14 (high level), the respond of 5 year program is ranked 3.79 – 4.22 (high level) and the respond of teacher certificate program is ranked 3.58 – 4.23 (high level). 3) A 5 year teacher education program is appropriate for a guideline of preferable teacher producing in Thailand, but it should be adjusted 3 parts of curriculum as the following: General Education, Teaching Education, and Specific Sciences in order to serve ultimate usage. Incentives should be considered by providing scholarships for keen candidates and putting in a responsible position in order to increase tangible benefits of the 5 year program. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.647 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ครุศาสตร์ -- ต้นทุนและประสิทธิผล | en_US |
dc.subject | หลักสูตร -- ต้นทุนและประสิทธิผล | en_US |
dc.subject | ต้นทุนและประสิทธิผล | en_US |
dc.subject | Education -- Curricula -- Cost effectiveness | en_US |
dc.subject | Cost effectiveness | en_US |
dc.title | การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลตอบแทนของการศึกษาตามหลักสูตรครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ | en_US |
dc.title.alternative | A cost-benefit analysis of teacher education programs | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.degree.discipline | พัฒนศึกษา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | No information provided | - |
dc.email.advisor | No information provided | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2007.647 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
thirasak_un_front.pdf | 1.27 MB | Adobe PDF | View/Open | |
thirasak_un_ch1.pdf | 1.8 MB | Adobe PDF | View/Open | |
thirasak_un_ch2.pdf | 6.15 MB | Adobe PDF | View/Open | |
thirasak_un_ch3.pdf | 1.51 MB | Adobe PDF | View/Open | |
thirasak_un_ch4.pdf | 6.9 MB | Adobe PDF | View/Open | |
thirasak_un_ch5.pdf | 10.87 MB | Adobe PDF | View/Open | |
thirasak_un_ch6.pdf | 5.64 MB | Adobe PDF | View/Open | |
thirasak_un_ch7.pdf | 2.66 MB | Adobe PDF | View/Open | |
thirasak_un_back.pdf | 6.94 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.