Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53113
Title: | การบำบัดฟอสฟอรัสในน้ำเสียจากสถานบริการล้างรถโดยบึงประดิษฐ์ที่มีการไหลในแนวดิ่ง |
Other Titles: | Phosphorus reduction in car wash service wastewater treatment by vertical flow constructed wetland |
Authors: | ณัฐพงษ์ ผ่องแผ้ว |
Advisors: | อรทัย ชวาลภาฤทธิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | orathai.c@chula.ac.th |
Subjects: | น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดฟอสฟอรัส ธุรกิจคาร์แคร์ Sewage -- Purification -- Phosphorus removal Car wash industry |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้เป็นการทดลองบำบัดฟอสฟอรัสในน้ำเสียจากสถานบริการล้างรถ โดยระบบบึงประดิษฐ์แบบน้ำไหลใต้ผิวดินในแนวดิ่งที่ปลูกต้นธูปฤาษี ตัวกลางที่ใช้ในการทดลองเปรียบเทียบกันได้แก่ อิฐแดง และ อิฐบล็อก ปรับเปลี่ยนอัตราภาระชลศาสตร์ที่ป้อนเข้าระบบ 2 ค่าคือ 0.041 และ 0.083 ม3/(ม2-วัน) คิดเป็นอัตราการไหลน้ำเสียที่ป้อนเข้าระบบเท่ากับ 10 ลิตรต่อวันและ 20 ลิตรต่อวันตามลำดับ โดยป้อนน้ำเสียอย่างไม่ต่อเนื่องคือ เติม 2 ชั่วโมง หยุด 2 ชั่วโมง ศึกษาค่าพารามิเตอร์ คือ พีเอช อุณหภูมิ โออาร์พี ซีโอดี บีโอดี ปริมาณสารแขวนลอย ทีเคเอ็น ฟอสเฟตฟอสฟอรัส และ ฟอสฟอรัสทั้งหมดในน้ำ รวมไปถึงการวิเคราะห์คุณสมบัติทาง กายภาพ-เคมีของตัวกลาง ผลการทดลองในระยะที่ 1 ระบบบึงประดิษฐ์ป้อนอัตราการไหลน้ำเสียเข้าระบบ 10 ลิตรต่อวัน พบว่าระบบที่ใช้ตัวกลางอิฐบล็อกมีประสิทธิภาพในการบำบัดฟอสฟอรัสทั้งหมดเท่ากับร้อยละ 92.84 สูงกว่าระบบบึงประดิษฐ์ที่ใช้ตัวกลางอิฐแดง โดยตัวกลางอิฐแดงมีประสิทธิภาพในการบำบัดฟอสฟอรัสทั้งหมดเท่ากับร้อยละ 87.97 ผลการทดลองในระยะที่ 2 ระบบบึงประดิษฐ์ป้อนอัตราการไหลน้ำเสียเข้าระบบ 20 ลิตรต่อวันพบว่าระบบที่ใช้ตัวกลางอิฐบล็อกมีประสิทธิภาพในการบำบัดฟอสฟอรัสทั้งหมดเท่ากับร้อยละ 79.32 สูงกว่าระบบบึงประดิษฐ์ที่ใช้ตัวกลางอิฐแดง โดยตัวกลางอิฐแดงมีประสิทธิภาพในการบำบัดฟอสฟอรัสทั้งหมดเท่ากับร้อยละ 71.35 เปรียบเทียบประสิทธิภาพในการบำบัดฟอสฟอรัสทั้งหมด ของการทดลอง 2 ระยะพบว่า ระบบที่มีประสิทธิภาพในการบำบัดฟอสฟอรัสทั้งหมดสูงที่สุดคือ ระยะที่ 1 (ระบบบึงประดิษฐ์ป้อนอัตราการไหลน้ำเสียเข้าระบบ 10 ลิตรต่อวัน) ที่ใช้ตัวกลางอิฐบล็อก เท่ากับร้อยละ 92.84 และสามารถบำบัดปริมาณ สารแขวนลอย ซีโอดี และ ทีเคเอ็น เท่ากับร้อยละ 90.6, 96.34, 93.50 ตามลำดับ ในการศึกษากลไกการกำจัดฟอสฟอรัสของระบบบึงประดิษฐ์ที่ใช้ตัวกลางอิฐบล็อก ปริมาณฟอสฟอรัสที่เข้าระบบมีค่าเท่ากับ 5,920 มิลลิกรัม ถูกกำจัดโดยกลไกการดูดซับโดยอิฐบล็อกคิดเป็นร้อยละ 81 การนำไปใช้โดยต้นธูปฤาษีคิดเป็นร้อยละ 1 การย่อยสลายและการดูดซึมโดยจุลินทรีย์คิดเป็นร้อยละ 6 และจากปัจจัยอื่นๆคิดเป็นร้อยละ 5 รวมทั้งสิ้นฟอสฟอรัสถูกกำจัดภายในระบบมีค่าเท่ากับ 5,496 มิลลิกรัมคิดเป็นร้อยละ 93 และปริมาณฟอสฟอรัสที่ปล่อยออกจากระบบมีค่าเท่ากับ 424 มิลลิกรัม |
Other Abstract: | This study quantifies the effect of different filter media on phosphorus removal from car wash service wastewater using vertical flow constructed wetland and Typha spp. as the cultivated plant. Thus, a baked brick filled wetland and a concrete block filled wetland were operated over two phases: 0.041 and 0.083 m2/m3-day, which calculated as wastewater input rate of 10 L/day and 20 L/day, respectively. Discontinuous feed wastewater to the wetland for 2 hours alternate with pause feeding for 2 hours. This research study parameters which consist of pH, temperature, ORP, COD, BOD, SS, TKN, PO4--P, and total P in wastewater. Moreover, physical and chemical quality of media; baked brick filled wetland and concrete block filled wetland are included to consider. The result from first experiment which the constructed wetland feed with the rate of 10 L/d. This step found that a block filled have better performance than baked brick filled for removal total phosphorus; 92.84% for a concrete block filled and 87.97% for baked brick fill. Then feed wastewater to wetland for 20L/d in the second experiment. This step found that a concrete block filled have better performance than baked brick filled for removal total phosphorus; 79.32% for a concrete block filled and 71.35% for baked brick fill. From both two experiments, it can be conclude that first experiment has the most performance in total phosphorus removal which treated SS, COD, and TKN of 90.6%, 96.34% and 93.50% respectively. Phosphorus removal’s mechanism by a concrete block filled constructed wetland, phosphorus input equal to 5,920 mg which eliminated by adsorption mechanism 81%, by the plant 1%, by decompose and absorption of microorganism 6%, and by other factors 5%, Total phosphorus removal by vertical flow constructed wetland are equal to 93% of 5,496 mg. Consequently, the amount of phosphorus that emitted from the wetland is 424 mg. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53113 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.669 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.669 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
nattapong_phon_front.pdf | 1.42 MB | Adobe PDF | View/Open | |
nattapong_phon_ch1.pdf | 440.96 kB | Adobe PDF | View/Open | |
nattapong_phon_ch2.pdf | 4.75 MB | Adobe PDF | View/Open | |
nattapong_phon_ch3.pdf | 1.83 MB | Adobe PDF | View/Open | |
nattapong_phon_ch4.pdf | 6.71 MB | Adobe PDF | View/Open | |
nattapong_phon_ch5.pdf | 364 kB | Adobe PDF | View/Open | |
nattapong_phon_back.pdf | 5.98 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.