Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5313
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านร่างกาย จิตใจ สภาพแวดล้อม และอาการหายใจลำบากของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิดขณะใช้เครื่องช่วยหายใจ |
Other Titles: | Relationships between physiological, psychological, situational factors, and dyspnea of post opened-heart surgery patients receiving mechanical ventilator |
Authors: | ภัทรพร เขียวหวาน |
Advisors: | ชนกพร จิตปัญญา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | hchanokp@pioneer.netserv.chula.ac.th |
Subjects: | การหายใจลำบาก หัวใจ -- ศัลยกรรม -- ภาวะแทรกซ้อน ความเจ็บปวดหลังศัลยกรรม |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านร่างกาย ได้แก่ ความเจ็บปวดหลังผ่าตัด ประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ และภาวะโภชนาการ ปัจจัยด้านจิตใจ ได้แก่ ความไม่สมดุลทางอารมณ์ และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ได้แก่ การรบกวนจากเสียง กับอาการหายใจลำบากของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิดขณะใช้เครื่องช่วยหายใจ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิดและใช้เครื่องช่วยหายใจ จำนวน 110 คน ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินอาการหายใจลำบาก แบบประเมินความเจ็บปวดหลังผ่าตัด แบบประเมินภาวะอารมณ์ และแบบประเมินการรบกวนจากเสียง ซึ่งแบบประเมินอาการหายใจลำบาก แบบประเมินภาวะอารมณ์ และแบบประเมินการรบกวนจากเสียง ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และมีค่าความเที่ยงจากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .95, .88 - .96 และ .95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์เพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. อาการหายใจลำบากของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิดขณะใช้เครื่องช่วยหายใจอยู่ในระดับ ปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 45.28 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 25.67 2. ความเจ็บปวดหลังผ่าตัด ความไม่สมดุลทางอารมณ์ และการรบกวนจากเสียง มีความสัมพันธ์ทางบวกกับอาการหายใจลำบากของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิดขณะใช้เครื่องช่วยหายใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .655, .595 และ .164 ตามลำดับ) 3. ประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ และภาวะโภชนาการมีความสัมพันธ์ทางลบกับอาการหายใจลำบากของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิดขณะใช้เครื่องช่วยหายใจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.427 และ -.312 ตามลำดับ) 4. ความเจ็บปวดหลังผ่าตัด ความไม่สมดุลทางอารมณ์ และภาวะโภชนาการ สามารถร่วมกันพยากรณ์อาการหายใจลำบากของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิดขณะใช้เครื่องช่วยหายใจได้ร้อยละ 58.3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสร้างสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้ อาการหายใจลำบาก = .478 (ความเจ็บปวดหลังผ่าตัด) + .324 (ความไม่สมดุลทางอารมณ์) -.245 (ภาวะโภชนาการ) |
Other Abstract: | The purposes of this study were to examine the relationships between physiological, psychological, situational factors, and dyspnea of post opened-heart surgery patients receiving mechanical ventilator. The subjects were 110 post opened-heart surgery patients receiving mechanical ventilator, selected by a simple random sampling. The instrument was a set of questionnaires consisted of five parts: a demographic data form, a dyspnea questionnaire, a pain scale, a shortened form of the Profile of Mood State, and a noise annoyance questionnaire. The dyspnea questionnaire, the shortened form of the Profile of Mood State, and the noise annoyance questionnaire were tested for content validity by a panel of experts. The reliability of instruments were .95, .88 - .96, and .95, respectively. Pearson product moment correlation and Stepwise multiple regression were used for statistical analysis. Results were as follows:1. Mean of dyspnea score of post opened-heart surgery patients receiving mechanical ventilator was at the medium level (mean = 45.28, S.D. = 25.67) 2. There were positively statistical correlations between pain, mood disturbance, noise annoyance, and dyspnea of post opened-heart surgery patients receiving mechanical ventilator at the level of .05. (r = .655, .595, and .164, respectively) 3. There were negatively statistical correlations between left ventricular ejection fraction, nutritional status, and dyspnea of post opened-heart surgery patients receiving mechanical ventilator at the level of .05. (r = -.427 and -.312, respectively) 4. Pain, mood disturbance, and nutritional status were the variables that significantly predicted dyspnea at the level of .05. The predictive power was 58.3% of the variance. The equation derived from the standardized score was: Dyspnea = .478 (pain) + .324 (mood disturbance) - .245 (nutritional status) |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พยาบาลศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5313 |
ISBN: | 9741752326 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pataraporn.pdf | 1.63 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.