Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53160
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอัปสรสุดา ศิริพงศ์-
dc.contributor.advisorศุภิชัย ตั้งใจตรง-
dc.contributor.authorเฉลิมรัฐ แสงมณี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-06-27T11:17:53Z-
dc.date.available2017-06-27T11:17:53Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53160-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม )--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en_US
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการกระจายของคราบน้ำมันที่ผิวน้ำทะเลในอ่าวไทยจากภาพถ่ายเรดาร์แบบช่องเปิดสังเคราะห์ โดยรวบรวมข้อมูลจากดาวเทียม ENVISAT ระหว่างปี 2547 ถึงปี 2548 จำนวน 19 ภาพ สำหรับการวิเคราะห์โดยนำมาปรับแก้เชิงเรขาคณิต และปรับแก้เชิงคลื่น และแปลภาพด้วยตาร่วมกับข้อมูลอื่นๆประกอบ ได้แก่ ข้อมูลลมตรวจวัดจากดาวเทียม QuikSCAT และข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ เนื่องจากอ่าวไทยเป็นบริเวณที่มีการสัญจรทางเรือมากบริเวณหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และสาเหตุที่สำคัญของปัญหามลภาวะน้ำมันในทะเลนั้น ส่วนใหญ่มีแหล่งที่มาจากเรือพาณิชย์ซึ่งสัญจรระหว่างประเทศ ผลการศึกษาแสดงคราบน้ำมันที่ผิวน้ำทะเลส่วนใหญ่มีการกระจายหนาแน่นอยู่ในบริเวณกลางอ่าวไทย รวมทั้ง บริเวณปากแม่น้ำสายหลักในอ่าวไทยตอนบน โดยเฉพาะตามแนวเส้นทางสัญจรของเรือพาณิชย์ระหว่างประเทศ นอกจากนี้ลักษณะของคราบน้ำมันที่พบส่วนใหญ่ก็แสดงลักษณะเป็นเส้น โดยคราบน้ำมันลักษณะนี้มักมีสาเหตุมาจากการปล่อยจากเรือพาณิชย์ขนาดใหญ่ขณะที่กำลังเคลื่อนที่ซึ่งอาจเกิดจากกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นบนเรือ ในการพิจารณาลักษณะรูปร่างและบริเวณที่พบคราบน้ำมันแสดงความสอดคล้องกันเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดคราบน้ำมันที่พบในอ่าวไทยที่แสดงว่าเรือ พาณิชย์ขนาดใหญ่เป็นสาเหตุหลักของคราบน้ำมันที่พบ นอกจากนี้ยังพบคราบน้ำมันในบริเวณใกล้แหล่งน้ำมันในอ่าวไทย แหล่งท่องเที่ยวทางเรือ หรือ ท่าจอดเรือประมงอีกด้วย เรดาร์แบบช่องเปิดสังเคราะห์มีความสามารถในการตรวจหาคราบน้ำมันที่ผิวน้ำทะเล ดังเช่นในอ่าวไทย โดยในการศึกษานี้จะมีประโยชน์ในการจัดการมลพิษน้ำมันในทะเล ของหน่วยงานควบคุมมลพิษทางทะเลของประเทศไทยen_US
dc.description.abstractalternativeThe objective of this study is to survey the distribution of oil spills in the Gulf of Thailand using ASAR on ENVISAT satellite. The 19 satellite images were collected between 2004 and 2005. The data were analyzed by visual interpretation, after geometric and antenna pattern corrections, with QuikSCAT wind data and Geographic information. The Gulf of Thailand is an area of heavy ship traffic in Southeast Asia, thus the important source of oil pollution in the sea is the discharge from cargo ships or other ships. The result showed that most oil slick appearances were in the central part of the Gulf of Thailand and at the main river mouth areas in the upper Gulf of Thailand especially the international ship route. Most oil spills, which were found in this study, are linear pattern. Both the pattern and the appeared position of oil spill were related to the same source. The international ships are main source of oil spill in the Gulf of Thailand. Moreover, the slicks were found also in the area of oil drilled platforms, tourism and fishing ports. The ASAR sensor has good capability to detect the oil spill in the sea as shown in the Gulf of Thailand. This study is useful for oil pollution contingency plan for marine pollution control agencies in Thailand.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.650-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectน้ำมันรั่วไหลen_US
dc.subjectภาพถ่ายทางอากาศen_US
dc.subjectอ่าวไทย -- การวิเคราะห์ข้อมูลภาพระยะไกลen_US
dc.subjectการวิเคราะห์ข้อมูลภาพระยะไกลen_US
dc.subjectการวิเคราะห์ข้อมูลภาพen_US
dc.subjectOil spillsen_US
dc.subjectAerial photographsen_US
dc.subjectThailand, Gulf of -- Remote-sensing imagesen_US
dc.subjectRemote-sensing imagesen_US
dc.subjectImage analysisen_US
dc.titleการตรวจหาคราบน้ำมันที่ผิวน้ำทะเลในอ่าวไทย โดยภาพถ่ายจากดาวเทียมเอนวีแซตen_US
dc.title.alternativeOil spill detection in the Gulf of Thailand using ENVISAT satellite imagesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์ทางทะเลen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorridm@nrct.go.th-
dc.email.authorsupichai@sc.chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.650-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chalermrat_sa_front.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open
chalermrat_sa_ch1.pdf325.64 kBAdobe PDFView/Open
chalermrat_sa_ch2.pdf1.81 MBAdobe PDFView/Open
chalermrat_sa_ch3.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open
chalermrat_sa_ch4.pdf3.85 MBAdobe PDFView/Open
chalermrat_sa_ch5.pdf482.47 kBAdobe PDFView/Open
chalermrat_sa_back.pdf2.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.