Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53179
Title: ผลของวัสดุทางการเกษตรในการช่วยสลายไพรีนและฟีแนนทรีนโดยกลุ่มแบคทีเรีย RRM-V3
Other Titles: Effects of agricultural materials in facilitating pyrene and phenanthrene degradation by bacterial consortium RRM-V3
Authors: สุธาวัลย์ ดีสวัสดิ์
Advisors: กอบชัย ภัทรกุลวณิชย์
กาญจณา จันทองจีน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: kobchai@sc.chula.ac.th
Jkanchan@chula.ac.th
Subjects: แบคทีเรีย
ไพรีน -- การย่อยสลายทางชีวภาพ
ฟีแนนทรีน -- การย่อยสลายทางชีวภาพ
การกำจัดสารปนเปื้อนในดิน
Bacteria
Pyrene -- Biodegradation
Phenanthrene -- Biodegradation
Soil remediation
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: กลุ่มแบคทีเรีย RRM-V3 สามารถย่อยสลายไพรีนและฟีแนนทรีนอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อ ปลูกกลุ่มแบคทีเรียโดยตรงลงในดินไม่ปลอดเชื้อที่ปนเปื้อนสารประกอบ PAHs กลุ่มแบคทีเรียจะ ตายและสูญเสียความสามารถในการย่อยสลายสารประกอบ PAHs ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมุ่งที่จะ ใช้ฟางข้าว ใยบวบและนมผักกระเฉด เป็นตัวพาเพื่อเตรียมกล้าเชื้อ RRM-V3 ปลูกกลุ่มแบคทีเรีย RRM-V3 ที่ 108 CFU ในวัสดุทางการเกษตรปลอดเชื้อและไม่ปลอดเชื้อและบ่มที่ 30°ซ หลังจาก 3 วัน ได้จำนวนแบคทีเรียสูงที่สุด ซึ่งจำนวนแบคทีเรียที่เจริญในนมผักกระเฉดมีค่าสูงที่สุด ใช้ RRM-V3 ที่เจริญในแต่ละวัสดุเป็นเวลา 3 วัน เพื่อเป็นกล้าเชื้อสำหรับการย่อยสลายไพรีนและ ฟีแนนทรีนในอาหารเหลว CFMM ที่ความเข้มข้นสุดท้ายชนิดละ 0.05 และ 0.5 มก./มล. ไพรีน และฟีแนนทรีนถูกย่อยสลายอย่างรวดเร็วโดย RRM-V3 ที่เจริญในวัสดุปลอดเชื้อชนิดต่างๆ จนถึง ระดับที่ไม่สามารถตรวจหาได้โดย GC-FID ภายใน 14 และ 21 วัน ตามลำดับ ในขณะที่จำนวน เซลล์แบคทีเรียคงเหลือ 10.5-11 log CFU/กรัมวัสดุ และ 10-10.5 log CFU/กรัมวัสดุ ที่วันที่ 35 ตามลำดับ และเมื่อใช้วัสดุทางการเกษตรไม่ปลอดเชื้อ ไพรีนและฟีแนนทรีนถูกย่อยสลายโดย แบคทีเรียในวัสดุทางการเกษตรและ RRM-V3 ที่เติมลงไปภายใน 7 และ 28 วัน ตามลำดับ ในขณะที่จำนวนเซลล์แบคทีเรียคงเหลือ 10-10.5 log CFU/กรัมวัสดุ และ 10.5-11.5 log CFU/ กรัมวัสดุ ที่วันที่ 35 ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ DGGE แสดงให้เห็นพลวัตรประชากรหลักของ กลุ่มแบคทีเรีย RRM-V3 โดยแถบที่เข้มที่สุดของ RRM-V3 ปรากฏขึ้นสอดคล้องกับจำนวนเซลล์สูง ที่สุดและการหมดไปของสารประกอบ PAHs โดยสรุปการเตรียมกล้าเชื้อ RRM-V3 ในวัสดุทาง การเกษตรทั้ง 3 ชนิด ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายไพรีนและฟีแนนทรีนและการรอดชีวิต ของกลุ่มแบคทีเรีย RRM-V3
Other Abstract: Bacterial consortium RRM-V3 can efficiently degrade pyrene and phenanthrene. Upon inoculation of this consortium directly into non sterile PAHs-contaminated soil, RRM-V3 lost PAHs degrading activity and finally died. Therefore, this research aimed to use rice straw, loofa sponge and water minosa sponge as carriers to prepare RRM-V3 inoculum. The RRM-V3 consortium was inoculated at 108 CFU in sterile and non sterile agricultural materials and incubated at 30°C. After 3 days, maximum bacterial cell numbers in all materials reached, with water minosa sponge was the highest. The RRM-V3 cultured in respective materials for 3 days were used as inoculum for degradation of pyrene and phenanthrene at the final concentration of 0.05 and 0.5 mg/ml for each in liquid carbon free mineral medium (CFMM). The results revealed that pyrene and phenanthrene were rapidly degraded by RRM-V3 prepared in any type of sterile materials to undetectable level by GC-FID within 14 and 21 days, respectively whereas the bacterial cell count remained 10.5-11 log CFU/g material and 10-10.5 log CFU/g material respectively after 35 days. For non sterile agricultural materials, pyrene and phenanthrene were degraded by RRM-V3 prepared in agricultural materials within 7 and 28 days, respectively whereas the bacterial cell count were at 10-10.5 log CFU/g material and 10.5-11.5 log CFU/g material respectively after 35 days. DGGE analysis of DNA fragments of 16S rDNA revealed the dynamic of dominant RRM-V3 consortium population. The most intense band of RRM-V3 were found correspond to the highest cell numbers and the disappearance of PAHs. In conclusion, preparation of RRM-V3 inoculum in all three agricultural materials improved pyrene and phenanthrene degradation and the survival of RRM-V3 consortium.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53179
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.432
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.432
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
suthawan_de_front.pdf1.38 MBAdobe PDFView/Open
suthawan_de_ch1.pdf620.38 kBAdobe PDFView/Open
suthawan_de_ch2.pdf2.1 MBAdobe PDFView/Open
suthawan_de_ch3.pdf1.73 MBAdobe PDFView/Open
suthawan_de_ch4.pdf4.19 MBAdobe PDFView/Open
suthawan_de_ch5.pdf986.92 kBAdobe PDFView/Open
suthawan_de_ch6.pdf249.59 kBAdobe PDFView/Open
suthawan_de_back.pdf2.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.