Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53449
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์ | - |
dc.contributor.author | อารีย์ รัตน์ประโคน | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2017-10-08T05:27:56Z | - |
dc.date.available | 2017-10-08T05:27:56Z | - |
dc.date.issued | 2551 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53449 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการสอนศิลปะปฏิบัติในหลักสูตรศิลปกรรมศาสตร์สาขาทัศนศิลป์ ของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ โดยศึกษาด้านการวางแผนการสอน ด้านการดำเนินการสอนและด้านการวัดและการประเมินผล กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยอาจารย์จำนวน 18 คน โดยผู้วิจัยเลือกแบบเจาะจง จากอาจารย์ที่มีประสบการณ์การสอนศิลปะปฏิบัติในหลักสูตรศิลปกรรมศาสตร์สาขาทัศนศิลป์ ของสถาบันระดับอุดมศึกษาของรัฐไม่ต่ำกว่า 10 ปี และเป็นศิลปินที่มีผลงานสร้างสรรค์ศิลปะเป็นที่ยอมรับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ซึ่งผู้วิจัยเป็นผู้สร้างเอง ข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์วิเคราะห์โดยการสรุปสาระสำคัญของแต่ละด้าน แล้วบรรยายเป็นความเรียง ผลการสัมภาษณ์อาจารย์พบว่า การสอนศิลปะปฏิบัติในหลักสูตรศิลปกรรมศาสตร์สาขาทัศนศิลป์ ของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐมีจุดมุ่งหมายเพื่อผลิตบัณฑิตผู้มีความรู้และความสามารถในการสร้างสรรค์งานศิลปะสาขาทัศนศิลป์เป็นผู้รอบรู้ มีทัศนคติอันดีงาม รู้จักคิดวิเคราะห์ วินิจฉัย มีความคิดสร้างสรรค สามารถค้นคว้า วิจัยทางด้านศิลปะ และสามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพ การสอนศิลปะปฏิบัติควรมีการวางแผนการสอนอย่างเป็นระบบ เพื่อเป็นแนวทางให้รู้ว่าจะดำเนินการสอนอย่างไรให้ได้ผลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ในหลักสูตร ด้านการดำเนินการสอน ควรดำเนินการสอนอย่างเป็นระบบขั้นตอน โดยอาจารย์ต้องคำนึงถึงการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติและทักษะของนักศึกษาตลอดจนความถนัดและความสนใจของนักศึกษาแต่ละคน การสอนระดับพี้นฐานเป็นการฝึกทักษะฝีมือ และเทคนิคต่างๆ จึงเป็นการสอนให้ผู้เรียนปฏิบัติตามขั้นตอนอย่างถูกต้องและฝึกฝนจนเกิดความชำนาญจึงควรมีการสอนแบบสาธิต และมีการแนะนำ ช่วยเหลือ ติชม โดยเน้นการฝึกปฏิบัติทักษะปฏิบัติเพื่อปูพื้นฐานไปสู่การเรียนในระดับสูง ซึ่งผู้สอนจะเปลี่ยนจากการสอน มาเป็นการวิเคราะห การวิจารณ์ การแนะนำ และการประเมินคุณค่าผลงานของนักศึกษา เน้นให้นักศึกษาสามารถวางแผนการทำงานด้วยตนเองอย่างเป็นระบบ เน้นการพัฒนาทางความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น อาจารย์จะกำหนดโจทย์ เป็นหัวข้อกว้างๆแล้วให้อิสระแก่นักศึกษาได้คิด ค้นหาแนวทางการทำงานศิลปะ ของแต่ละบุคคล ใช้ผู้สอนเป็นทีม เพื่อให้นักศึกษาได้รับการวิเคราะห์ วิจารณ์ และประเมินผลจากทัศนะที่แตกต่างของอาจารย์ โดยประเมินจากภาพรวมของผลงานที่มีความสมบูรณ์ มีความสอดคล้องกันระหว่างแนวความคิด รูปแบบ เทคนิค และพัฒนาการการทำงานศิลปะของนักศึกษา ส่วนศิลปนิพนธ์ ในปีการศึกษาสุดท้ายเป็นการหาบทสรุปในการสร้างสรรค์งานศิลปะของนักศึกษา สร้างความชัดเจนในแนวทางการทำงานศิลปะของแต่ละบุคคล ประกอบด้วยภาคเอกสารและผลงานศิลปะภาคปฏิบัติ การประเมินจะพิจารณาจากผลงานศิลปะภาคปฏิบัติเป็นหลัก โดยมีภาคเอกสารและการแสดงนิทรรศการเป็นส่วนประกอบ ข้อเสนอแนะของการวิจัย คือ การสอนศิลปะปฏิบัต สิ่งที่สำคัญคือนักศึกษาต้องมีความร เข้าใจในศิลปะ เห็นคุณค่าศิลปะ อาจารย์ควรสอนให้นักศึกษารู้ว่า ศิลปะ คืออะไร ควรฝึกฝนภาคปฏิบัติควบคู่ไปกับวิชาสุนทรียศาสตร์ เพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างผลงานที่มีคุณค่า ตลอดจนนำไปสู่การตัดสินคุณค่าของผลงานศิลปะอย่างถูกต้อง | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research is to study the instructor’s opinions concerning to the studio art instruction in visual arts programs in public higher education institutions. The research emphasized on instructional planning, instructional procedures, and measurement and evaluation. The population of this study was comprised of eighteen visual art studio instructors who are the accomplishable artists and have experiences in teaching visual arts programs in public higher education institution at least ten years. The research methodology was researcher’s structured interview. The obtain data from interviewing were analyzed by summarize the main context and describe in written statements. It was found that : the purpose of teaching the visual arts studio in the Fine Arts program in the government university was to produce a bachelor who earned knowledge, ability in art creation, optimist, ability in analysis, creativity, and ability in art research in order to apply in career. Hence, the teaching in visual art studio should be the systematical planning in order to make the teaching accomplish to the aim of program. The instructional planning should be systemized. The instructors should consider to knowledge development, understanding, attitude, and skill of each students including the student’s skillful and their interested. The instructional planning was the technique skill training. Therefore, the objective of the basic level of teaching was provide basic skill and art knowledge in the right way. The instructional method should be demonstration technique, which were comprised of introducing, assisting, and commenting. These should be emphasized on practical training as basic in order to develop to the advanced learning. In the advanced learning, the instructors change employed analyzing, criticizing, suggesting, and evaluating the value of student works. The study was also emphasized on the self planning and developing in art creativity. The students instructors assign wide topic to allow more freedom for students to discover individual art style. The students were evaluated, and be criticized by various angles of instructor group. The evaluation criterions were the completion of the work, the harmony of concept, forms, techniques, and art process development. The art thesis in the last year of the study was the conclusion of student’s art creativity, which clarify in each student art style which comprised of the paper work and art work. The evaluation mainly considers to the art work supplemented by the paper work and the art exhibition. The research recommendation is that the important of visual art studio is students understand, and appreciate art; the instructors teach the students to understand what is art, and combine practical training with aesthetic in order to be the foundation to create the valuable art works and lead to determine the value of the art works exactly. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.885 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ศิลปกรรม -- การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา) | en_US |
dc.subject | ทัศนศิลป์ -- การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา) | en_US |
dc.subject | อาจารย์มหาวิทยาลัย -- ทัศนคติ | en_US |
dc.subject | Art -- Study and teaching (Higher education) | en_US |
dc.subject | College teachers -- Attitude | en_US |
dc.title | การศึกษาความคิดเห็นของอาจารย์เกี่ยวกับการสอนศิลปะปฏิบัติ ในหลักสูตรศิลปกรรมศาสตร์ สาขาทัศนศิลป์ ของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ | en_US |
dc.title.alternative | A study of instructor's opinons concerning studio art instruction in visual arts programs in public higher education institutions | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | ศิลปศึกษา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | ppoonara@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2008.885 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
aree_ra_front.pdf | 1.23 MB | Adobe PDF | View/Open | |
aree_ra_ch1.pdf | 1.5 MB | Adobe PDF | View/Open | |
aree_ra_ch2.pdf | 18.17 MB | Adobe PDF | View/Open | |
aree_ra_ch3.pdf | 540.88 kB | Adobe PDF | View/Open | |
aree_ra_ch4.pdf | 6.64 MB | Adobe PDF | View/Open | |
aree_ra_ch5.pdf | 1.42 MB | Adobe PDF | View/Open | |
aree_ra_back.pdf | 2.19 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.