Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5352
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธนิส เหมินทร์-
dc.contributor.advisorชุติมา ไตรรัตน์วรกุล-
dc.contributor.authorพรรณรัตน์ มณีรัตนรังษี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2008-01-09T03:21:42Z-
dc.date.available2008-01-09T03:21:42Z-
dc.date.issued2542-
dc.identifier.isbn9743330488-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5352-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542en
dc.description.abstractการติดแน่นและประสิทธิผลในการป้องกันฟันผุของสารเคลือบหลุมร่องฟันชนิดเรซินเป็นที่ยอมรับกันมานาน หากมีการสูญเสียวัสดุเรซินไปจากหลุมร่องฟันซึ่งอาจเกิดจากการที่วัสดุมีเทคนิคการทำที่อ่อนไหวแล้ว หลุมร่องฟันบริเวณนั้นอาจจะเกิดการผุได้ จึงมีการนำแก้วไอโอโนเมอร์มาใช้แทนวัสดุชนิดเรซิน เนื่องจากแก้วไอโอโนเมอร์สามารถยึดติดกับฟันด้วยพันธะเคมี นอกจากนี้แก้วไอโอโนเมอร์ยังสามารถปล่อยฟลูออไรด์ช่วยในการป้องกันฟันผุได้อีกด้วย ดังนั้นการเคลือบหลุมร่องฟันด้วยแก้วไอโอโนเมอร์จึงอาจลดปัญหาการผุภายหลังจากวัสดุหลุดไปจากหลุมร่องฟัน วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้จึงเปรียบเทียบการติดอยู่และการป้องกันฟันผุของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันชนิดแก้วไอโอโนเมอร์ (Fuji IXGP) กับชนิดเรซิน (Delton) ในการเคลือบหลุมร่องฟันกรามถาวรซี่ที่หนึ่ง โดยทำการศึกษาแบบสปลิทเม้าธ์ ในเด็กนักเรียนอายุ 7-9 ปี จำนวน 90 คน ตัวอย่างคือฟันกรามถาวรบนซี่ที่หนึ่ง 85 คู่ และฟันกรามถาวรล่างซี่ที่หนึ่ง 32 คู่ สุ่มอย่างง่ายเลือกฟันในข้างซ้ายหรือขวาของขากรรไกรเพื่อเคลือบหลุมร่องฟันด้วยแก้วไอโอโนเมอร์ อีกข้างหนึ่งเคลือบด้วยวัสดุเรซิน เคลือบหลุมร่องฟันโดยทันตแพทย์ผู้เดียว จากนั้นตรวจการติดอยู่ของวัสดุทั้งสองเมื่อเวลา 6 และ 12 เดือน และตรวจหาฟันผุเมื่อเวลา 12 เดือน โดยทันตแพทย์อีกผู้หนึ่งตลอดการศึกษา ทดสอบความแม่นยำในการตรวจคำนวณเป็นค่าดัชนีแคปปามีค่าเท่ากับ 0.99 อัตราการติดอยู่ทั้งหมดของวัสดุแก้วไอโอโนเมอร์และเรซินในฟันกรามถาวรบนซี่ที่หนึ่งเมื่อเวลา 6 เดือนเท่ากับร้อยละ 47 และ 66.7 ตามลำดับ เมื่อเวลา 12 เดือน เท่ากับร้อยละ 18.2 และ 36.4 ตามลำดับ ส่วนที่เหลือทั้งหมดมีวัสดุติดอยู่บางส่วน ไม่มีฟันซี่ใดที่สูญเสียวัสดุไปทั้งหมด การติดอยู่ของวัสดุทั้งสองชนิดนี้ในฟันกรามถาวรบนซี่หนึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งเมื่อเวลา 6 เดือน (p=.042) และเมื่อเวลา 12 เดือน (p=.028) อัตราการติดอยู่ทั้งหมดของวัสดุแก้วไอโอโนเมอร์และเรซินในฟันกรามถาวรล่างซี่ที่หนึ่งเมื่อเวลา 6 เดือน เท่ากับร้อยละ 24 และ 36 ตามลำดับ เมื่อเวลา 12 เดือนเท่ากับร้อยละ 0 และ 8 ตามลำดับ ส่วนที่เหลือทั้งหมดมีวัสดุติดอยู่บางส่วน ไม่มีฟันซี่ใดที่สูญเสียวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันไปทั้งหมด การติดอยู่ของวัสดุทั้งสองชนิดนี้ในฟันกรามถาวรล่างซี่ที่หนึ่งไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.05) เมื่อเวลา 6 และ 12 เดือน อัตราการติดอยู่ทั้งหมดของวัสดุแก้วไอโอโนเมอร์และเรซินในฟันกรามถาวรซี่ที่หนึ่งเมื่อเวลา 6 เดือนมีค่าร้อยละ 40.7 และ 58.2 ตามลำดับ เมื่อเวลา 12 เดือน เท่ากับร้อยละ 13.2 และ 28.6 ตามลำดับ ซึ่งการติดอยู่ของวัสดุทั้งสองชนิดนี้ในฟันกรามถาวรซี่ที่หนึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งเมื่อเวลา 6 เดือน (p=.027) และเมื่อเวลา 12 เดือน (p=.013) เมื่อสิ้นสุดการศึกษาพบฟันผุในฟันกรามถาวรล่างซี่ที่หนึ่งที่เคลือบหลุมร่องฟันด้วยแก้วไอโอโนเมอร์ 1 ซี่ และในฟันกรามถาวรบนซี่ที่หนึ่งที่เคลือบหลุมร่องฟันด้วยเรซิน 1 ซี่ ซึ่งทั้งนี้ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.05) ของวัสดุทั้งสองชนิดในการเกิดฟันผุen
dc.description.abstractalternativeResin-based pit and fissure sealants have been accepted as a caries preventive strategy since the 1970's. The efficacy in preventing caries has been associated with the duration and degree of sealant retention. Placement of the resin is very technique-sensitive. Caries may occur in fissure where the sealant is badly adapted, partially lost or totally lost. Glass ionomer cement sealant may offer additional advantages due to its ability to bond chemically to enamel and release fluoride to prevent the development of caries. The aim of this study is to compare the retention and caries preventive effect of a GIC and resin-based sealant. Fuji IXGP was tested against a visible light cured resin-based material (Delton) using a split mouth design. Bangkok schoolchildren (n=90), age 7-9 y., received sealants on the pit and fissure of sound homologous permanent first molar pairs (upper molars = 85 pairs, lower molars = 32 pairs). Test (GIC) and control (resin) sealants were systemically allocated to left and right side by simple random sampling, and were placed by one dentist. After 6 and 12 months, the retention of the sealants was checked clinically. Caries registration were done at 12 months by one dentist. Intraexaminer agreement was calculated as a Kappa index. Kappa index value was 0.99. In upper first permanent molars, 47% of GIC and 66.7% of resin-based sealants were totally present after 6 months. At 12 months, the retention rates were 18.2% and 36.4%, respectively. None of the sealants was totally lost. The retention of these two materials was significantly different at 6 and 12 months (p=.042 and .028, respectively). In lower first permanent molars, 24% of GIC and 36% of resin-based sealants were totally present after 6 months. At 12 months, the retention rates were 0% and 8%, respectively. None of the sealants was totally lost. There was no significant difference in retention of these two materials (p=.05) at 6 and 12 months. In first permanent molars, 40.7% of GIC and 58.2% of resin-based sealants were totally present after 6 months. At 12 months, the retention rates were 13.2% and 28.6%, respectively. The retention of these two materials was significantly different at 6 and 12 months (p=.027 and .013, respectively). At the end of the study, caries was recorded in one of the GIC-sealed upper first molars and in one of the resin-sealed lower first molars. There was no significant difference in carious lesions (p=.05) at 6 and 12 months. This study suggests that the retention and caries preventive effect of glass ionomer cement and resin-based sealant is not significantly different in twelve-month perioden
dc.format.extent4427153 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectวัสดุผนึกหลุมร่องฟันen
dc.subjectฟันผุในเด็กen
dc.titleการศึกษาเปรียบเทียบการติดอยู่และการป้องกันฟันผุของวัสดุชนิดแก้วไอโอโนเมอร์กับชนิดเรซินในการเคลือบหลุมร่องฟันกรามถาวรซี่ที่หนึ่งen
dc.title.alternativeComparison of retention and caries prevention of glass ionomer and resin-based fissure sealants in first permanent molarsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineทันตกรรมสำหรับเด็กes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorDhanis.H@Chula.ac.th-
dc.email.advisorctrairat@yahoo.com-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pannarat.pdf4.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.