Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5378
Title: การวิเคราะห์เหตุขัดข้องของเครื่องจักร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในงานบำรุงรักษาเชิงป้องกันกรณีศึกษา : โรงงานผลิตชิ้นส่วนเครื่องยนต์รถจักรยานยนต์
Other Titles: Failure analysis of the machine for increasing preventive maintenance efficiency case study : a motorcycle parts manufacturing plant
Authors: ดนัย สาหร่ายทอง
Advisors: จิตรา รู้กิจการพานิช
สินทวี ธัญญาผล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: fieckp@eng.chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: เครื่องจักรกล -- การบำรุงรักษาและการซ่อมแซม
การบำรุงรักษา
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาและสร้างขั้นตอนการวิเคราะห์เหตุขัดข้องของเครื่องจักร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในงานบำรุงรักษาเชิงป้องกัน โดยการนำประวัติการขัดข้องในรูปแบบของข้อมูลลำดับชั้น การขัดข้องของเครื่องจักรมาประยุกต์ใช้กับข้อมูลทางสถิติ ของปัญหาการขัดข้องที่เกิดขึ้นของเครื่องจักรให้ได้มาซึ่งหัวข้อ และช่วงเวลาการปฏิบัติงานบำรุงรักษาเชิงป้องกันที่เหมาะสม และดำเนินการแก้ไขปรับปรุง จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า ระบบบำรุงรักษาเชิงป้องกันของโรงงานกรณีศึกษา ในปัจจุบันไม่มีการนำข้อมูลการขัดข้องของเครื่องจักร มาวิเคราะห์เพื่อนำไปใช้ในการปรับแผนงานบำรุงรักษาเชิงป้องกัน ดังนั้นในการศึกษานี้ได้สร้างขั้นตอนวิเคราะห์เหตุขัดข้อง ของเครื่องจักร จัดระเบียบข้อมูลการขัดข้อง นำเสนอวิธีการปรับปรุงหัวข้อ และช่วงเวลาการปฏิบัติงานบำรุงรักษาเชิงป้องกัน สุดท้ายได้มาซึ่งแผนปฏิบัติงานบำรุงรักษาเชิงป้องกัน ที่แบ่งช่วงปฏิบัติทุก 500 ชั่วโมง 1000 ชั่วโมง และ 2000 ชั่วโมงตามชั่วโมงการทำงานของเครื่องจักร การศึกษานี้ได้ปรับปรุงแผนกผลิตชิ้นส่วนเพลาข้อเหวี่ยง ในสายการผลิต A และ B โดยเครื่องจักรที่สนใจ ได้แก่ เครื่องจักรประเภทเจียรนัยผิวนอกและเจียรนัยผิวในอัตโนมัติ และเครื่องจักรประเภทกลึงอัตโนมัติ ผลการปรับปรุงพบว่า เครื่องจักรประเภทเจียรนัยผิวนอกอัตโนมัติ มีช่วงเวลาเฉลี่ยก่อนเกิดการขัดข้องเพิ่มขึ้น 10,610.33 นาที และ 6,469.75 นาที ตามลำดับ และมีค่าเปอร์เซ็นต์ความพร้อมทำงานเพิ่มขึ้น 1.62% และ 3.07% ตามลำดับ ที่เครื่องจักรประเภทเจียรนัยผิวในอัตโนมัติ มีช่วงเวลาเฉลี่ยก่อนเกิดการขัดข้องเพิ่มขึ้น 8,452.50 นาที และ 6,658.38 นาที ตามลำดับ และมีค่าเปอร์เซ็นต์ความพร้อมทำงานเพิ่มขึ้น 2.59% และ 0.97% ตามลำดับ และที่เครื่องจักรประเภทกลึงอัตโนมัติ ที่สายการผลิต A ไม่เกิดช่วงเวลาเฉลี่ยก่อนเกิดการขัดข้องขึ้น และสายการผลิต B มีช่วงเวลาเฉลี่ยก่อนเกิดการขัดข้องเพิ่มขึ้น 4,183 นาที ตามลำดับ และมีค่าเปอร์เซ็นต์ความพร้อมทำงานเพิ่มขึ้น 0.21% และ 0.56% ของสายการผลิต A และ B ตามลำดับ
Other Abstract: To study and construct the steps of the failure analysis of the machine to increase the preventive maintenance efficiency. This is done by applying to use the machine downtime data in the pattern of machine failure class information with the statistical data of machine failure problems to suit the preventive maintenance items and to improve them. Basically, in the preventive maintenance system, the historical data of machine downtime had never been analyzed in the view to improve preventive maintenance plan. Therefore, the step of machine failure analysis, the data organization of the failure, the proposal of improvement the items and the mean time of preventive maintenance operation were created by this study. Finally, the improvement preventive maintenance plan was occurred. It depended on the mean time of the machine operation that is every 500 hours, 1,000 hours and 2,000 hours. Line A and B of Crank Shaft division were selected to implement in this study. The NC External and Internal Grinding machines as well as CNC Lathe machine of these lines were interesting, it was found that the Mean Time Between Failure (MTBF) of the External Grinding machine increased by 10,610.33 minutes, 6,469.75 minutes and the percent of machine availability increased by 1.62%, 3.07% orderly for line A and B. For NC Internal Grinding machine, it was found that the mean time between failure increased by 8,452.50 minutes, 6,658.38 minutes and the percent of machine availability increased by 2.59%, 0.97% orderly for line A and B. For CNC Lathe machine, it was found that the mean time between failure was not occurred for line A and was increased 4,183 minutes for line B and the percent of machine availability increased by 0.21%, 0.56%, respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยลัย, 2543
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5378
ISBN: 9741302908
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Danai.pdf4.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.