Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5379
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ธงชัย พรรณสวัสดิ์ | - |
dc.contributor.author | ธนินทร์ ปัญญาภิญโญผล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2008-01-09T08:49:27Z | - |
dc.date.available | 2008-01-09T08:49:27Z | - |
dc.date.issued | 2543 | - |
dc.identifier.isbn | 9741305834 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5379 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 | en |
dc.description.abstract | ศึกษาผลของอัตราส่วนเวลากักแอนแอโรบิก/แอโรบิก ที่มีต่อประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียความเข้มข้นสูง ซึ่งในงานวิจัยนี้ใช้น้ำเสียสังเคราะห์แป้งมันสำปะหลังที่มีซีโอดี 8,256-9,090 มก./ล. (บีโอดี 6,000-6,800 มก./ล.) โดยใช้ระบบเอสบีอาร์ขนาด 10 ลิตร เวลาวัฏจักร 12 ชั่วโมง อัตราส่วนน้ำที่เติม (Vf) ต่อน้ำค้างถัง (V0) เท่ากับ 1:9 งานวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนแรกแปรสัดส่วนเวลากักแอนแอโรบิก/แอโรบิก 3 ค่า ได้แก่ 8/3, 5.5/5.5 และ 3/8 ชั่วโมง ที่อายุสลัดจ์ 7 วัน เมื่อระบบเข้าสู่สถานะคงตัวพบว่า 3 ชุดการทดลองดังกล่าว มีประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีร้อยละ 98.7, 99.2 และ 99.4 ตามลำดับ โดยมีค่า F/Mv เท่ากับ 0.21-0.26 และซีโอดีที่ลดลงเกือบทั้งหมดถูกกำจัดในช่วงแอนแอโรบิก สำหรับขั้นตอนที่ 2 ได้เลือกสัดส่วนเวลากัก 5.5/5.5 มาแปรค่าอายุสลัดจ์เพิ่มเติมอีก 2 ค่า คือ 3 และ 5 วัน โดยเมื่อระบบเข้าสู่สถานะคงตัว ชุดการทดลองที่อายุสลัดจ์ 3 และ 5 วัน มีประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีเท่ากันที่ร้อยละ 98.9 ทั้งนี้มีค่า F/Mv เท่ากับ 0.47 และ 0.34 ตามลำดับ จากผลการทดลองพบว่าสัดส่วนแอนแอโรบิก/แอโรบิกที่เหมาะสมคือ 5.5/5.5 ชม. และอายุสลัดจ์ 7 วัน โดยพิจารณาจากความไวในการเกิดสลัดจ์อืดและค่าใช้จ่ายในการเดินระบบ และผลการทดลองยังชี้ให้เห็นว่ากระบวนการแอนแอโรบิก/แอโรบิก เมื่อเดินระบบอย่างถูกต้อง สามารถช่วยลดปัญหาสลัดจ์อืดเนื่องจากสารอาหารชนิดแป้งมันสำปะหลังได้ โดยสามารถให้ค่าเอสวีไอ 26-32 มล./ก. | en |
dc.description.abstractalternative | The effect of the ratio of anaerobic/aerobic retention time on the COD removal efficiency was studied by using 10 L SBR reactors with an influent volume (Vf) : retaining volume (V0) ratio of 1:9 and 12-hours cycle time. A tapioca starch wastewater was synthesized to have COD concentration in the range of 8,256-9,090 mg/l (BOD 6,200-6,800 mg/l). The experiments consisted of 2 parts; firstly, three anaerobic/aerobic retention time ratio of 8/3, 5.5/5.5 and 3/8 hours were used at 7 days sludge age, from which the COD removal efficiencies at steady state and F/Mv ratio of 0.21-0.26 day-1 were 98.7, 99.2, and 99.4 percent, respectively. Most of COD removal occurred in the anaerobic condition. Secondly, the anaerobic/aerobic retention time ratio of 5.5/5.5 was selected for a subsequent study at sludge age of 3 and 5 days. During the steady state, the COD removal efficiencies was 98.9 percent for both sludge age, at F/M ratio of 0.47 and 0.34 day-1, respectively. The results shown that the anaerobic/aerobic retention time ratio of 5.5/5.5 at sludge age of 7 days was considered to be the most suitable operating condition based on sensitivity to sludge bulking and operating cost, and also indicated that if this process was properly operated, it could decrease sludge bulking problem which might be caused by substrate like tapioca starch. The sludge volume index (SVI) of this experiment was in the range of 26-32 ml/g | en |
dc.format.extent | 3374438 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | แป้งมันสำปะหลัง -- การผลิต | en |
dc.subject | น้ำเสีย -- การบำบัด | en |
dc.subject | น้ำเสีย -- การบำบัด -- กระบวนการแบบตะกอนเร่ง | en |
dc.title | ผลของอัตราส่วนเวลากักแอนแอโรบิก/แอโรบิกที่มีผลต่อ ประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียสังเคราะห์แป้งมันสำปะหลัง โดยกระบวนการแอกทิเวเต็ดสลัดจ์ชนิดเอสบีอาร์แบบแอนแอโรบิก/แอโรบิก | en |
dc.title.alternative | Effect of anaerobic/aerobic retention time ratio on the efficiency of synthetic tapioca wastewater treatment by an anaerobic/aerobic SBR activated sludge process | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Thongchai.P@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thanin.pdf | 3.3 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.