Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5409
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชูเวช ชาญสง่าเวช-
dc.contributor.authorกิตติพงษ์ โพธิ์ธรานนท์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2008-01-11T10:16:58Z-
dc.date.available2008-01-11T10:16:58Z-
dc.date.issued2543-
dc.identifier.isbn9743465006-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5409-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543en
dc.description.abstractศึกษาปัจจัยที่ต้องพิจารณาและพัฒนาระบบการตัดสินใจ โดยการประยุกต์ใช้หลักการกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ เพื่อเลือกวัสดุทนไฟที่ใช้ในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ และอุตสาหกรรมเหล็กสำหรับการพัฒนาให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ของผู้ผลิตวัสดุทนไฟขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในประเทศไทย การกำหนดปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการเลือกผลิตภัณฑ์สำหรับการพัฒนา เกิดจากการรวบรวมปัจจัยจากบทความวิชาการด้านการบริหาร การจัดการ และการระดมสมองของคณะกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์มาจัดกลุ่ม และแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ โดยใช้เทคนิคแผนผังกลุ่มเชื่อมโยง และแผนผังแสดงความสัมพันธ์เป็นเครื่องมือ หลังจากนั้นแปลงให้อยู่ในรูปแบบโครงสร้างลำดับชั้น สำหรับการหาน้ำหนักความสำคัญของปัจจัยทำโดยการออกแบบสอบถาม เพื่อเปรียบเทียบความสำคัญของปัจจัยทีละคู่ โดยมีคณะกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์จำนวน 7 ท่านเป็นผู้พิจารณาเปรียบเทียบ และคำนวณน้ำหนักความสำคัญของปัจจัยโดยอาศัยโปรแกรมสำเร็จรูป Expert choice สามารถสรุปปัจจัยที่สำคัญได้ 6 ปัจจัย คือ คุณภาพที่พึงประสงค์ร้อยละ 22.2 ราคาขายผลิตภัณฑ์เทียบกับต้นทุนผันแปร ร้อยละ 18 ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 9.3 Know-how ที่ใช้ในการพัฒนาร้อยละ 8.7 ความสะดวกในการติดตั้งใช้งานร้อยละ 4.6 ระยะเวลาที่คู่แข่งจะพัฒนาสินค้าเทียบเท่าร้อยละ 4.2 หรือรวมน้ำหนักปัจจัยทั้ง 6 ปัจจัยเป็นร้อยละ 71.2 ของน้ำหนักปัจจัยทั้งหมด การกำหนดระดับคะแนนมาตรฐานในการประเมินวัสดุทนไฟ ที่ถูกเสนอพิจารณาให้พัฒนาให้กับทุกปัจจัยที่ต้องพิจารณา โดยอาศัยหลักการฟังก์ชั่นอรรถประโยชน์เพื่อให้การประเมินทางเลือกต่างๆ มีความชัดเจน และลดความลำเอียงของผู้ประเมิน โดยเฉพาะปัจจัยด้านคุณภาพที่พึงประสงค์ มีการพยากรณ์ความเหมาะสมกับเทคโนโลยี ในอนาคตของลูกค้าแล้วแปลงให้อยู่ในรูปคุณสมบัติของวัสดุทนไฟ ที่สามารถวัดค่าได้ สำหรับการประมวลผลได้ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป Expert choice ช่วยในการคำนวณหาน้ำหนักความสำคัญโดยรวมของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อหาวัสดุทนไฟที่สมควรพัฒนาเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต่อองค์กรกรณีศึกษาตามลำดับความสำคัญก่อนหลัง และวิเคราะห์ความไวในกรณีที่น้ำหนักความสำคัญของปัจจัยเปลี่ยนไป จากการศึกษาทั้งหมดพบว่า การตัดสินใจเลือกผลิตภัณฑ์สำหรับการพัฒนา สิ่งที่จำเป็นที่สุดคือ การกำหนดปัจจัยที่ต้องมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการ การกำหนดน้ำหนักความสำคัญของปัจจัยเพื่อระบุปัจจัยที่สำคัญ การกำหนดระดับคะแนนมาตรฐานเพื่อ ...en
dc.description.abstractalternativeTo study the key factors and develops the decision support system by applying the analytic hierachy process for selecting new refractory products in the cement and steel industries for development to suit the business environment of one of the leargest refractory mamufacturers in Thailand. The determination of the key factors was derived by collecting the various factors to be considered from published articles in management and administration and the brain storming of members of the product development committee. These items were then grouped into related factors using affinity diagram and relation diagram and consequently transformed to be in the form of the hierarchy model. As for the weights of the factors, the pairwise comparison questionnaire was developed and answered by the seven-member new product development team of the company. The answers were evaluated by using the expert choice software and the weight of factors, which are network related, were calculated. The results show that there are six significant factors that influence the new product selecting process. These are quality (22.2% weight), selling price relative to variable cost (18%) environmental impact (9.3%), know-how for the development (8.7%), installation friendly (4.6%) and time for competitors to develop the same product (4.2%), these six factors gain 71.2% of total weight. The standard scores for the assessment of new product development were defined using the utility function approach in order to make it clear and minimize the bias of the assessors especially in terms of desired quality, which was derived from the forcasting of future technology demanded by the customers and transformed into the quantitiable refractory properties using matrix diagram. Using expert choice software, the calculation of total weight score for developed products is done and the relative priorities of new product for development which will offer the best benefit to the company are assigned, together with the sensitivity analysis for the weights of the factors. In conclusion, the most important crieria of the decision process of selecting new product to be developed are the determination of key factors which must conform to the objective of the company, calculating the weight of the key factors, determinating the standard score to minimize the bias of the assessors and the processing of the results must be clear and simple to analyze for the strength and weakness of each product for future improvement. The analytic hierarchy process is able to accommodate all these requirements in a satisfactory manner.en
dc.format.extent7202838 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectอุตสาหกรรมวัสดุทนไฟen
dc.subjectกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์en
dc.subjectการจัดการผลิตภัณฑ์en
dc.titleปัจจัยในการเลือกผลิตภัณฑ์สำหรับการพัฒนา : กรณีศึกษา โรงงานอุตสาหกรรมวัสดุทนไฟen
dc.title.alternativeFactors for selecting a product for development : case study of a refractory factoryen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิศวกรรมอุตสาหการes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorChuvej.C@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kittiphong.pdf7.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.