Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54870
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ปัทมา สิงหรักษ์ | - |
dc.contributor.advisor | เพ็ญใจ สมพงษ์ชัยกุล | - |
dc.contributor.author | วัชรพงษ์ น้อยหมื่นไวย์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2017-10-30T04:20:27Z | - |
dc.date.available | 2017-10-30T04:20:27Z | - |
dc.date.issued | 2559 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54870 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 | - |
dc.description.abstract | การขาดแคลนทรัพยากรน้ำเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ การขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวทำให้ความต้องการทรัพยากรน้ำเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับปัจจัยเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลให้ปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอนาคต จึงมีความจำเป็นต้องบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ปัจจุบันยังไม่มีเครื่องมือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจที่สามารถแสดงผลลัพธ์ของแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างชัดเจน การศึกษานี้จึงได้พัฒนาระบบสำหรับการประเมินความเปราะบางด้านทรัพยากรน้ำของเมืองท่องเที่ยว โดยใช้กรอบการวิเคราะห์ Driver-Pressure-State-Impact-Response (DPSIR) กระบวนการวิเคราะห์ตามลําดับชั้น (Analytic Hierarchy Process: AHP) และกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อรวบรวมและจัดลำดับมาตรการจัดการทรัพยากรน้ำที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่ และสร้างแบบจำลองเชิงพลวัตของระบบการบริหารจัดการน้ำ ที่สามารถจำลองความสัมพันธ์ระหว่างมาตรการในการบริหารจัดการน้ำ กับการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรน้ำ และศักยภาพในการรองรับความต้องการน้ำในอนาคต โดยใช้เทศบาลเมืองหัวหินซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วเป็นพื้นที่ต้นแบบในการศึกษา ผลการศึกษาแสดงให้เห็นภาพอนาคตของวิกฤตการขาดแคลนทรัพยากรน้ำ จะเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2563 โดยมีศักยภาพในการรองรับความต้องการใช้น้ำเพียง 17 ล้านลูกบาทศ์เมตรต่อปี แต่เมื่อใช้แนวทางการแก้ปัญหาที่มีจุดแข็งและจุดอ่อนที่แตกต่างกัน ระหว่างแนวทางที่เสนอโดยกลุ่มประชาชนในพื้นที่ กลุ่มผู้บริหาร และนักวิชาการ แนวทางหลักประกอบด้วย มาตรการจัดหาทรัพยากรน้ำ การควบคุมการใช้น้ำ และการปรับตัว ส่งผลให้ศักยภาพของพื้นที่เพิ่มขึ้น และยืดระยะเวลาการเกิดวิกฤตออกไปจนถึงปี พ.ศ. 2580 ปี พ.ศ. 2577 และปี พ.ศ. 2575 ตามลำดับ การศึกษานี้แสดงให้เห็นศักยภาพของระบบสำหรับการประเมินความเปราะบางด้านทรัพยากรน้ำในการช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเลือกแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการน้ำ และสามารถนำไปปรับใช้กับพื้นที่ท่องเที่ยวอื่นได้ | - |
dc.description.abstractalternative | Water scarcity is a major problem that affects the country's sustainable development goals. Rapid economic growth, especially in tourism, has led to increased demand for water resources. Combined with climate change, water scarcity is likely to increase in the future. It is therefore necessary to effectively manage water resources. However a decision support system that can clearly show the outcome of the solution is still lacking. This study has developed a system for assessing the vulnerability of water scarcity in tourist city. Driver-Pressure-State-Impact-Response (DPSIR) framework, Analytic Hierarchy Process (AHP) and stakeholder participatory assessment were used to identify and prioritize appropriate water management strategies for the area. A system dynamic model was constructed to simulate the relationship between proposed water management measures and changes in water resources as well as the potential for future water needs. The municipality of Hua Hin, a fast-growing tourist destination, was selected as a prototype for this study. The result showed that water scarcity will happen in 2020, with the potential to support water need of only 17 million cubic meters per year. However when applying different solutions proposed by local actors, local policy makers and academics, each having their own strengths and weaknesses, the water capacity was increased and water scarcity crisis was prolonged until 2037, 2034, and 2032 respectively. The main water management measures include increasing water supply, controlling water demand and adaptation to water scarcity. This study has demonstrated the potential of the developed decision support system for water resources management and could be applied to other tourist cities. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.840 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.title | ระบบสำหรับการประเมินความเปราะบางต่อการขาดแคลนทรัพยากรน้ำในเมืองท่องเที่ยว: กรณีศึกษาเทศบาลเมืองหัวหิน | - |
dc.title.alternative | VULNERABILITY ASSESSMENT SYSTEM OF WATER SCARCITY FOR TOURISM CITY: A CASE STUDY OF HUA-HIN MUNICIPALITY, THAILAND | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | - |
dc.degree.discipline | วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | Patama.S@Chula.ac.th,patama.s@chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Penjai.S@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2016.840 | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5487805020.pdf | 7.58 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.