Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54871
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | หทัยกานต์ มนัสปิยะ | - |
dc.contributor.advisor | อัจฉรา จันทร์ฉาย | - |
dc.contributor.advisor | ต่อยศ ปาลเดชพงศ์ | - |
dc.contributor.author | วาสนา โกมลวัฒนพงศ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2017-10-30T04:20:27Z | - |
dc.date.available | 2017-10-30T04:20:27Z | - |
dc.date.issued | 2559 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54871 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 | - |
dc.description.abstract | ปัจจุบันแนวโน้มการพัฒนาและวิจัยนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารกำลังได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีโอกาสที่จะถูกถ่ายทอดไปสู่ภาคอุตสาหกรรมอาหาร ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบจำลองการเลือกรับเทคโนโลยีนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ทางเลือกใหม่ ที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้ประกอบการอาหารในประเทศไทย โดยใช้เทคนิคกระบวนการวิเคราะห์เชิงโครงข่าย การศึกษาได้แบ่งเป็น 3 เฟส โดยในเฟสที่1 เป็นการทบทวนวรรณกรรม จากนั้นสร้างเป็นแบบสอบถามผู้ประกอบการอาหารและบรรจุภัณฑ์จำนวน 35 ราย และ 5 รายตามลำดับทั่งนี้เพื่อระบุเกณฑ์ที่จะใช้เลือกรับเทคโนโลยี นอกจากนี้ยังมีการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องจำนวน 9 รายจากหน่วยงานภาครัฐสถาบันการศึกษา/วิจัย และภาคการผลิต เพื่อดูแนวโน้มและสถานการณ์ของเทคโนโลยีนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์อาหารในประเทศไทย ในเฟสที่ 2 เป็นการสร้างโมเดลโดยสำรวจความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องจำนวน 10 ราย ในการประเมินให้คะแนนเปรียบเทียบเกณฑ์แต่ละคู่และวิเคราะห์ผลโดยใช้โปแกรม Super Decisions เพื่อหาเทคโนโลยีทางเลือกที่เป็นกรณีศึกษา จากการศึกษาพบว่าภายใต้เกณฑ์หลักด้านเทคโนโลยี ด้านการตลาดและการแข่งขันทางธุรกิจ ด้านการเงินและเศรษฐศาสตร์ ด้านกลยุทธ์ กฎหมาย สังคม และสิ่งแวดล้อม บรรจุภัณฑ์ย่อยสลายได้เป็นเทคโนโลยีทางเลือกที่ดีที่สุด รองลงมาคือบรรจุภัณฑ์ยืดอายุ และบรรจุภัณฑ์เพื่อการบ่งชี้สภาวะอาหาร โดยมีระดับคะแนนน้ำหนักอยู่ที่ 0.392 0.357 และ 0.251 ตามลำดับ ภายหลังจากได้แบบจำลองแล้วได้ทวนสอบประสิทธิภาพของแบบจำลองโดยการทดสอบการใช้งานจากบริษัทผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์จำนวน 4 รายพบว่าคุณภาพและการทำงานตามฟังค์ชันของโปรแกรมอยู่ที่ร้อยละ 66 สำหรับในเฟสที่สามเป็นการสำรวจการยอมรับในโปรแกรมโดยใช้ทฤษฎีการยอมรับเทคโนโลยี(TAM2)จากผู้เข้าร่วมรายเดิมจำนวน 4 ราย ซึ่งพบว่าพบอยู่ในเกณฑ์การยอมรับในระดับปานกลางที่ร้อยละ75 สุดท้ายได้มีสร้างเป็นโปรแกรมสนับสนุนการตัดสินใจเลือกรับเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ทางเลือกใหม่ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ต่อไป | - |
dc.description.abstractalternative | Currently, trend to development and research of food packaging has been interested. It is probably transfer to food industry in the future. Therefore the objective of this research aim to construct the model for selecting innovative food packaging technology using analytic network process (ANP) to support the decision for entrepreneur. The proposed methodology consists of three phase as: first review literature and survey to 30 and 5 participated from food and packaging manufacturing firms respectively to specify the suitable criteria and also study the current situation in Thailand through in-depth interview nine participants from of the government agency, research institutions and industrial sectors. Second phase to construct the model, pairwise comparison evaluated by 10 expert opinions then interpreted by Super Decisions program. We found that base on criteria of technology, marketing and business competition, financial and economical, and strategy, social and environment, the biodegradable has the highest priority at 0.392 and then was gas indicator and prolong shelf life packaging technology at 0.357, and 0.251 respectively. Then the model was validated by 4 packaging firms for fruites,vegetales and meats, the result of quality and functionality was 66 percent. Third phase to study the model acceptance by apply the theory of Technology acceptance model (TAM2) though 4 previous participants. We found that the acceptance was 75 percent or medium level. The end of this research, the model was provided to program to apply use in commercialization stage. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.379 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.title | นวัตกรรมระบบการเลือกเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์อาหาร | - |
dc.title.alternative | INNOVATIVE FOOD PACKAGING TECHNOLOGY SELECTION SYSTEM | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | - |
dc.degree.discipline | ธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | Hathaikarn.M@Chula.ac.th,Hathaikarn.M@chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | achandrachai@gmail.com | - |
dc.email.advisor | toryosp@hotmail.com | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2016.379 | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5487807320.pdf | 14.3 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.