Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54933
Title: | MICROTENSILE BOND STRENGTH OF REPAIRED CERAMIC USING RESIN COMPOSITE WITH UNIVERSAL ADHESIVE SYSTEM COMPARED TO CONVENTIONAL BONDING SYSTEM IN VITRO |
Other Titles: | การเปรียบเทียบกำลังแรงยึดแบบดึงระดับจุลภาคของการซ่อมแซมเซรามิกด้วยเรซินคอมโพสิตระหว่างการใช้สารยึดระบบยูนิเวอซัลกับสารยึดติดระบบธรรมดา |
Authors: | Chisanu Lertthawinchira |
Advisors: | Sirivimol Srisawasdi |
Other author: | Chulalongkorn University. Faculty of Dentistry |
Advisor's Email: | Sirivimol.S@Chula.ac.th,sirivimol6415@gmail.com |
Issue Date: | 2016 |
Publisher: | Chulalongkorn University |
Abstract: | The purpose of this study was toThe effectiveness of two types of ceramic, repaired using a resin composite and a universal adhesive were compared to a conventional adhesive. The effectiveness of two types of ceramic, repaired using a resin composite and a universal adhesive were compared to a conventional adhesive. Leucite-reinforced glass ceramic ingots (IPS Empress® Esthetic; “EE”; Ivoclar Vivadent, Germany) and lithium-disilicate glass ceramic ingots (IPS e.max® Press; “EM”; Ivoclar Vivadent, Germany) were fabricated into a ceramic block size 8x8x4 mm. The ceramic surfaces were wet polished with silicon carbide paper and then treated with 9.5 % hydrofluoric acid (Ultradent® Porcelain Etch; Ultradent, USA). Resin composite (FiltekTM Z350 XT; 3M ESPE, USA), shade A4, was built up with two adhesive systems, one half (“U”) using universal dental adhesive (Single BondTM Universal; 3M ESPE, USA) and the other (“C”) using total etch dental adhesive (AdperTM ScotchbondTM Multipurpose Plus; 3M ESPE, USA) combined with ceramic primer (RelyxTM Ceramic Primer; 3M ESPE, USA). The specimens were stored in water at 37°C for 24 hours and then subjected to thermocycling for 10,000 cycles prior to a microtensile bond strength (µTBS) test. Modes of failure were analyzed using a stereomicroscope (ML 9300; MEIJI, Japan). Three-way ANOVA and a Bonferroni post-hoc test was used to analyze the data (n = 36, α = 0.05). There was no significant difference between the immediate and aging groups (p = 0.207). However, a Bonferroni post-hoc test revealed significant differences among all tested groups. The highest µTBS was recorded by the “EMC” group (36.3±13.1), while the lowest was found in the “EEU” group (22.0±7.9). The µTBS between the resin composite and ceramic repaired using a conventional adhesive system was higher compared with a universal adhesive system, especially in the lithium disilicate type. |
Other Abstract: | วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการซ่อมแซมวัสดุเซรามิกส์ 2 ชนิดด้วยวัสดุคอมโพสิต เรซิน ระหว่างสารยึดติดระบบยูนิเวอซัลและสารยึดติดระบบดั้งเดิม วิธีการศึกษา: ชิ้นงานอินกอต 16 ชิ้น จากแต่ละกลุ่มของเซรามิกส์ ไอพีเอสเอมเพรสเอสเทติก (IPS Empress® Esthetic; "EE", Ivoclar Vivadent) และ ไอพีเอสอีแมกซ์เพรส (IPS e.max® Press; "EM", Ivoclar Vivadent) จะได้รับการขึ้นรูปเป็นชิ้นงานเซรามิกส์ขนาด 8x8x4 ลูกบาศ์กมิลลิเมตร ชิ้นงานทุกชิ้นจะถูกปรับสภาพผิวของเซรามิกส์ด้วยกรดไฮโดรฟลูออริกความเข้มข้น 9.5 เปอร์เซ็นต์ หลังจากนั้นชิ้นงานเซรามิกส์จะได้รับการบูรณะด้วยคอมโพสิต เรซิน ฟิลล์เทค ซีสามห้าศูนย์เอกซ์ที เฉดสี เอโฟว์ (FiltekTM 350 XT; 3M ESPE, USA) โดยใช้สารยึดติด 2 ระบบ ครึ่งแรกได้รับการใช้สารยึดติดระบบยูนิเวอซัล (U) ซึ่งประกอบด้วยสารยึดติดซิงเกิ้ลบอนด์ยูนิเวอซัล (Single BondTM Universal; 3M ESPE, USA) ต่างจากระบบสารยึดติดแบบดั้งเดิมในครึ่งกลุ่มหลัง (C) ที่จะมีการทาไซเลน รีไลน์เอกซ์เซรามิกส์ (RelyXTM Ceramic; 3M ESPE, USA) ร่วมกับการใช้สารยึดติด แอดเป้อ สกอตซ์บอนด์มัลติเพอโพสพลัส (AdperTM ScotchbondTM Multipurpose Plus; 3M ESPE, USA) ชิ้นงานหลังจากได้รับการบูรณะด้วยเรซิน คอมโพสิตแล้วจะถูกแบ่งออกเป็น 8 กลุ่มการทดลอง โดยมีชิ้นงาน 36 ชิ้นต่อกลุ่ม หลังจากนั้นชิ้นงานในกลุ่มที่ต้องการทดสอบการเอจจิ้งชิ้นงานจะถูกนำไปแช่ในน้ำที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 24 ชั่วโมง ต่อด้วยการทำเทอร์โมไซคลิ่ง (TC301, KMITL) จำนวนหนึ่งหมื่นรอบด้วยระยะเวลา 60 วินาทีต่อรอบก่อนนำมาทดสอบค่าแรงยึดติดแบบดึงระดับจุลภาคในทุกกลุ่มการทดลอง ข้อมูลค่าเฉลี่ยการยึดติดแบบดึงระดับจุลภาคได้ถูกวิเคราะห์ทางสถิติด้วย การวิเคราะห์ความแปรปรวน 3 ทาง และ บอนเฟอรินีโพสฮอคเทส ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ความล้มเหลวของชิ้นทดสอบ (mode of failure) จะถูกตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบสเตอริโอ (ML 9300; MEIJI) ผลการศึกษา: ค่าเฉลี่ยการยึดติดแบบดึงระดับจุลภาคระหว่างกลุ่ม อิมมีเดียด และกลุ่ม เอจจิ้ง นั้นมีค่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จากสถิติบอนเฟอโรนีแสดงให้เห็นว่าค่าเฉลี่ยการยึดติดแบบดึงระดับจุลภาคมีค่าสูงที่สุดในกลุ่ม อีเอ็มซี (EMC) ตามด้วยกลุ่ม อีอีซี (EEC) และ อีเอ็มยู (EMU) และกลุ่มที่น้อยที่สุดคือกลุ่ม อีอียู (EEU) ถึงแม้ว่าจะมีค่าการยึดติดที่แตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติกับกลุ่ม อีเอ็มยู (EMU) ก็ตาม สรุป: ค่าเฉลี่ยการยึดติดแบบดึงระดับจุลภาคระหว่างคอมโพสิตเรซิน และเซรามิกส์ที่ใช้สารยึดติดระบบดั้งเดิมมีค่าการยึดติดที่สูงกว่าสารยึดติดระบบยูนิเวอซัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเซรามิกส์ไอพีเอสอีแมกเพรส |
Description: | Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2016 |
Degree Name: | Master of Science |
Degree Level: | Master's Degree |
Degree Discipline: | Esthetic Restorative and Implant Dentistry |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54933 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1576 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.1576 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Dent - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5675828732.pdf | 2.82 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.