Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5499
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจิตรา รู้กิจการพานิช-
dc.contributor.authorพิพัฒน์ ไพศาลภาณุมาศ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2008-01-16T07:45:12Z-
dc.date.available2008-01-16T07:45:12Z-
dc.date.issued2543-
dc.identifier.isbn9741304889-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5499-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543en
dc.description.abstractปัญหาที่มักพบในอุตสาหกรรมเครื่องประดับเกี่ยวกับการตรวจสอบคุณภาพ คือ การเกิดความผิดพลาดในการตรวจสอบโดยพนักงานตรวจสอบคุณภาพสูง วิธีการตรวจสอบใช้วิธีการเคาะตัวเรือนแหวนแล้วฟังเสียง ดังนั้นจึงต้องมีการตรวจสอบคุณภาพ 100 เปอร์เซ็นต์ 2 ครั้ง ซึ่งทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบสูง เนื่องจากเครื่องประดับมีมูลค่าสูง และคุณภาพมีผลต่อความพึงพอใจและมีคุณค่าทางจิตใจ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้าง ต้นแบบสำหรับการตรวจสอบสภาพการฝังอัญมณีบนตัวเรือนแหวน โดยการนำทฤษฎีต่างๆ ได้แก่ คลื่น ความถี่ เสียง ไม่โครคอนโทรลเลอร์และวงจรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น มาประยุกต์ในการออกแบบและสร้างต้นแบบ โดยมีหลักการทำงานของต้นแบบดังนี้ เริ่มต้นจากชุดกำเนิดความถี่จะส่งความถี่ใช้งานที่เหมาะสมไปยังอุปกรณ์กำเนิดความถี่และส่งต่อไปที่ตัวเรือนแหวน โดยในการศึกษาครั้งนี้ความถี่ใช้งานเหมาะสมกับขีดความสามารถของอุปกรณ์อยู่ที่ 150 Hz เมื่อแหวนได้รับความถี่นั้นก็จะสั่นและเกิดความถี่ขึ้นมา ต่อจากนั้นใช้อุปกรณ์ตรวจจับกความถี่ตรวจจับความถี่ที่เกิดขึ้นที่แหวนส่งต่อไปยังชุดกรองความถี่ เพื่อทำการกรองความถี่ที่ไม่ต้องการออก ส่งต่อไปยังชุดขยายสัญญาณเพื่อขยายสัญญาณให้สูงขึ้น ส่งต่อไปยังชุดไมโครคอนโทรลเลอร์เพื่อประมวลผล และส่งผลนั้นไปแสดงผลที่ชุดแสดงผลเพื่อแสดงว่าแหวนหลวมหรือไม่หลวม ในการสร้างแต่ละส่วนประกอบได้มีการทดลองเพื่อหาค่าความต้านทาน ค่าความเก็บประจุ อัตราขยายของชุดขยายสัญญาณ ช่วงความถี่ใช้งานที่เหมาะสม การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการทดสอบต้นแบบที่สร้างขึ้น โดยทำการทดสอบต้นแบบที่ห้องปฏิบัติการและที่โรงงานตัวอย่าง ได้ทำการทดสอบกับแหวนที่มีรูปแบบแตกต่างกันจำนวน 9 รูปแบบ และทำการทดสอบรูปแบบละ 10 ครั้ง ผลการเปรียบเทียบเปอร์เซ็นต์ความผิดพลาดของการตรวจสอบระหว่างวิธีการเดิมกับวิธีการใหม่ พบว่าการใช้ต้นแบบนั้นมีความผิดพลาดน้อยกว่า และการตรวจสอบโดยใช้ต้นแบบนี้สามารถตรวจสอบได้ทั้ง 9 รูปแบบ ให้ผลการตรวจสอบที่ถูกต้องและสามารถใช้งานได้จริงในการตรวจสอบสภาพการฝังอัญมณีบนตัวเรือนแหวนen
dc.description.abstractalternativeQuality inspection problem was found in a jewelry industry. The problem is human error in quality inspection. Due to satisfying customer requirement, the quality of products is necessary high. The objective of this research is to develop prototype for inspection of jewelry setting on a ring using theory and applications about wave, frequency, sound, microcontroller and electrical and electronic circuit etc. The procedures of the prototype are as follows. First of all, the frequency generator sends the appropriate frequency to frequency generating equipment and then sends it to rings. According to the study, the result indicates that the appropriate frequency is 150 Hz. When rings receive the frequency, they will shake and generate the frequency. They sensor is used to detect the signal, send it to the filter in order to filter the necessary band and send it to the amplifier. After the signal is amplified, it is sent to microcontroller for processing. Finally, the signal is sent to the display unit to identify whether rings is fitting. The experiment to find the appropriate characteristic of circuit and equipment selection is conducted. The comparison between inspection error by human and inspection error using prototype for inspection of jewelry setting on a ring is conducted at a laboratory and a factory by using 9 models. There are 10 replications in each model. The result indicates that inspection by the prototype can be made for every model and when the prototype is used, the inspection error is less than human inspection.en
dc.format.extent3046407 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectคลื่นความถี่วิทยุen
dc.subjectไมโครคอนโทรลเลอร์en
dc.subjectอุตสาหกรรมอัญมณี -- การควบคุมคุณภาพen
dc.titleต้นแบบสำหรับการตรวจสภาพการฝังอัญมณีบนตัวเรือนแหวนen
dc.title.alternativePrototype for inspection of jewelry setting on a ringen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิศวกรรมอุตสาหการes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorfieckp@eng.chula.ac.th-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pipat.pdf2.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.