Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55030
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดาว สุวรรณแสง จั่นเจริญ-
dc.contributor.authorปณิธี เปรมสัตย์ธรรม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-10-30T04:23:30Z-
dc.date.available2017-10-30T04:23:30Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55030-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ศึกษาการชะละลายโลหะหนักจากผลิตภัณฑ์คอนกรีตและจีโอโพลิเมอร์คอนกรีตที่มีเถ้าลอยลิกไนต์และบิทูมินัสเป็นส่วนผสม โดยทำการวิเคราะห์ปริมาณโลหะหนักเบื้องต้นในเถ้าลอยด้วยวิธีย่อยสลาย ตามมาตรฐาน USEPA method 3051 พบว่าเถ้าลอยลิกไนต์มีปริมาณโลหะหนักชนิดอาร์เซนิก โครเมียม ตะกั่ว และสังกะสีเท่ากับ 0.13 0.04 0.03 และ 0.13 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ เถ้าลอยบิทูมินัสมีปริมาณโลหะหนักชนิดอาร์เซนิก โครเมียม ตะกั่ว และสังกะสีเท่ากับ 0.01 0.01 0.01 และ 0.07 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ และวิธี TCLP ตามมาตรฐาน USEPA SW-856 method 1311 พบว่าเถ้าลอยลิกไนต์มีปริมาณโลหะหนักสูงกว่าเถ้าลอยบิทูมินัส โดยพบโลหะหนักชนิดอาร์เซนิก โครเมียม และตะกั่วในเถ้าลอยลิกไนต์สูงกว่าที่มาตรฐานกำหนด (3.54 1.95 และ 0.40 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ) ยกเว้นสังกะสีต่ำกว่าที่มาตรฐานกำหนด (4.55 มิลลิกรัมต่อลิตร) และพบว่าพีเอชมีผลต่อการชะละลายโลหะหนักในเถ้าลอย กล่าวคืออาร์เซนิกและตะกั่วถูกชะละลายเพิ่มขึ้นที่พีเอชเท่ากับ 4 ถึง 8 และต่ำลงที่พีเอชเท่ากับ 10 ในขณะที่โครเมียมและสังกะสีถูกชะละลายต่ำลงที่พีเอชเท่ากับ 4 ถึง 8 และเพิ่มขึ้นที่พีเอชเท่ากับ 10 และเมื่อทำการวิเคราะห์ปริมาณโลหะหนักหลังจากขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์แล้วพบว่าคอนกรีตและจีโอโพลิเมอร์คอนกรีตสามารถตรึงโลหะหนักชนิดอาร์เซนิก โครเมียม ตะกั่ว และสังกะสีที่มีในเถ้าลอยได้ สำหรับการออกแบบส่วนผสม พบว่าสามารถใช้เถ้าลอยแทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ในงานคอนกรีตได้ตั้งแต่ร้อยละ 15 ถึง 60 โดยปริมาณเถ้าลอยที่เหมาะสมคือร้อยละ 4.30 ของปริมาณส่วนผสมทั้งหมด และสามารถใช้เถ้าลอยเป็นวัสดุปอซโซลานร่วมกับสารละลายด่างในงานจีโอโพลิเมอร์คอนกรีตได้ โดยปริมาณเถ้าลอยที่เหมาะสมคือร้อยละ 13.67 ของปริมาณส่วนผสมทั้งหมด สามารถรับแรงอัดได้ 230 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร-
dc.description.abstractalternativeThis research investigated the leaching of heavy metals from concrete and geopolymer concrete containing bituminous or lignite fly ash. The studies comprised of heavy metals determination by acid digestion of US. EPA method 3051. The results revealed that lignite fly ash contains As, Cr, Pb and Zn were detected at concentration of 0.13, 0.04, 0.03 and 0.13 mg/kg respectively. Bituminous fly ash contains As, Cr, Pb and Zn were detected at concentration of 0.01, 0.01, 0.01 and 0.07 mg/kg respectively. And analyzed by TCLP of US. EPA SW-856 method 1311. Lignite fly ash had higher content of heavy metals than bituminous fly ash, which As, Cr and Pb in lignite fly ash leached higher than the standard (3.54, 1.95 and 0.40 mg/L respectively). Except for Zn was below standard (4.55 mg/L). Leaching of heavy metals was pH dependent. As and Pb were increased at pH 4 to 8 and lowered at pH 10 while Cr and Zn were lowered at pH 4 to 8 and increased at pH 10. Concrete and geopolymer concrete structure could fix heavy metals better than fly ash alone, which led to lower leaching of heavy metals. Mix design of fly ash in concrete could be used to replace ordinary portland cement from 15% to 60%. The suitable fly ash content was 4.30% of the total mixture. And fly ash could be used as pozzolanic materiaI which was combined with alkaline liquid to make geopolymer concrete. The suitable fly ash content was 13.67% of the total mixture which gave compressive strength of 230 kg/cm2.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1024-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleการเปรียบเทียบความสามารถในการรับแรงอัดและการตรึงโลหะหนักจากคอนกรีตและจีโอโพลิเมอร์คอนกรีตที่มีเถ้าลอยลิกไนต์และบิทูมินัสเป็นส่วนผสม-
dc.title.alternativeCOMPARISON OF COMPRESSIVE STRENGTH AND FIXING OF HEAVY METALS FROM CONCRETE AND GEOPOLYMER CONCRETE CONTAINING BITUMINOUS OR LIGNITE FLY ASH-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorDao.S@chula.ac.th,daosjanjaroen@gmail.com,dao.s@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.1024-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5770438821.pdf7.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.