Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55064
Title: การจัดการงานก่อสร้างระบบผนังภายนอกคอนกรีตสำเร็จรูป: กรณีศึกษาอาคารชุดพักอาศัยแนวราบ
Other Titles: CONSTRUCTION MANAGEMENT OF EXTERIOR PRECAST CONCRETE WALL SYSTEM: A CASE STUDY OF LOW RISE RESIDENTIAL CONDOMINIUMS
Authors: กรณ์ภวิษย์ คูศุภรเจริญ
Advisors: ไตรวัฒน์ วิรยศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Traiwat.V@Chula.ac.th,TriwatV9@gmail.com
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบันการขยายตัวทางธุรกิจอาคารชุดพักอาศัยแนวราบ หรือ Low Rise เป็นอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 8 ชั้น เพราะมีข้อจำกัดในการก่อสร้างน้อยกว่าอาคารขนาดใหญ่ และมีความรวดเร็วในการก่อสร้าง การลดต้นทุนในการก่อสร้างอาคาร จึงเป็นปัจจัยหลักของโครงการประเภทนี้ เมื่อเปรียบเทียบต้นทุนค่าก่อสร้างด้วยระบบดั้งเดิม กับการก่อสร้างด้วยระบบอุตสาหกรรมนั้น การก่อสร้างด้วยระบบอุตสาหกรรมมีความรวดเร็วในการทำงาน ลดปัญหาด้านแรงงาน และลดการสิ้นเปลืองวัสดุได้อย่างมาก โดยเฉพาะระบบผนังภายนอกคอนกรีตสำเร็จรูป ที่นิยมใช้มากในโครงการอาคารชุดพักอาศัยเวลานี้ ผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษาการจัดการงานก่อสร้างระบบผนังภายนอกคอนกรีตสำเร็จรูป สำหรับอาคารชุดพักอาศัยแบบ Low Rise โครงการประเภทเดียวกัน 2 โครงการ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ปัญหาในขั้นตอนงานก่อสร้างด้วยระบบโครงสร้างคอนกรีตสำเร็จรูป และได้ทำการเปรียบเทียบระหว่าง 2 โครงการ เพื่อหาแนวทางการจัดการก่อสร้างให้มีความเหมาะสมในทางธุรกิจ โดยวิธีการศึกษาโครงการ การเก็บข้อมูลทุติยภูมิ จากแหล่งข้อมูลที่เป็นเอกสาร หนังสือ บทความ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและทำการศึกษาเก็บข้อมูลปฐมภูมิ จากการเก็บข้อมูล สำรวจสอบถาม และการสัมภาษณ์โครงการประเภทเดียวกัน 2 โครงการ โครงการแรกเป็นโครงการที่ใช้ระบบการก่อสร้างประเภทนี้เป็นหลัก และโครงการที่สอง เป็นโครงการที่พึ่งเริ่มใช้ระบบนี้ เพื่อให้เห็นปัญหา และรูปแบบที่เหมาะสม โดยการเก็บข้อมูลเป็น 3 กลุ่มคือ 1) ผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการ 2) ผู้ออกแบบผนังสำเร็จรูปภายนอกอาคาร 3) ผู้รับเหมาก่อสร้างผนังสำเร็จรูปภายนอกอาคาร จากการศึกษาเปรียบเทียบสรุปได้ว่า โครงการที่ 2 เป็นโครงการที่พึ่งเริ่มใช้ระบบนี้ โดยปัญหาของระบบผนังภายนอกคอนกรีตสำเร็จรูป ส่วนใหญ่มากจากขั้นตอนในการจัดการงานก่อสร้าง เพราะยังขาดความเข้าใจในขั้นตอน ของระบบก่อสร้างประเภทนี้ ได้แก่ ปัญหาของการวางแผนขั้นตอนการออกแบบ คือการออกแบบผนังสำเร็จรูป ตามแบบขออนุญาตก่อสร้างเดิมที่ออกแบบไว้เป็นผนังก่ออิฐ แล้วจึงทำการเปลี่ยนมาใช้ระบบผนังภายนอกคอนกรีตสำเร็จรูป รวมถึงการออกแบบใช้ประสิทธิภาพของเครื่องจักรไม่เหมาะสมกับขนาดชิ้นส่วนผนัง ซึ่งพบว่าผลการออกแบบดังกล่าว มีจำนวนชิ้นส่วนของผนังสำเร็จรูปจำนวนมาก จึงทำให้เกิดรอยต่อของผนังมาก จึงใช้เวลาการติดตั้งนานกว่า 95% ของโครงการที่ 1 และปัญหาการวางแผนการติดตั้งไม่สอดคล้องกับเครื่องจักร ที่ทำให้ต้องเพิ่มเครื่องจักร และเวลาการติดตั้งจึงมากขึ้น ข้อเสนอแนะของผู้ศึกษาวิจัย ได้นำผลการศึกษาจากการเปรียบเทียบทั้ง 2 โครงการมาทดลองปรับสภาพทางกายภาพในโครงการที่ 2 พบว่าจากการปรับสมดุลให้สอดคล้องตามแนวทางการจัดการด้านการออกแบบ และเครื่องจักร ทำให้โครงการที่ 2 ลดปริมาณชิ้นส่วน ได้ 19% สามารถลดเครื่องจักรที่เพิ่มได้ และเวลาการก่อสร้างลดลง 23% จากระยะเวลาก่อสร้างเดิม จึงเห็นได้ว่าการศึกษาการวางแผนการจัดการโครงการก่อนการก่อสร้างประเภทนี้ สามารถนำมาเป็นแนวทางการลดปัญหาดังกล่าวได้ เพื่อให้ทุกฝ่ายเข้าใจถึงลักษณะการทำงาน ขั้นตอนในการจัดการแผนงาน และเกณฑ์ในการพิจารณาการก่อสร้างด้วยระบบผนังภายนอกคอนกรีตสำเร็จรูป ในการลดค่าใช้จ่าย และเวลาของปัญหาดังกล่าวนั้นได้อย่างเหมาะสม
Other Abstract: Nowadays, the residential flat business or Low Rise condominium, which is not higher than 8 floor building, is expanding because of the lesser restrictions than the high building and the lesser time consuming in construction. The main factor for constructing Low Rise condominium are cost and time reduction. When compare the construction cost of traditional construction with the construction industry system, the construction of the industrial system can add speed of work, reduces labor and minimizes material consumption greatly, especially the concrete wall system for the external part of the building which is the most popular in the construction system now. The purposes of the studies of building construction with the concrete wall system for the external part of building for the Low Rise condominium in the 2 similar projects are for analyzing the problems of the process of using concrete wall for the external part of the building, compare the problems of both projects and finding the solutions for the problems by gathering the secondary information from the researches, books, and the primary information from interviewing 2 similar projects; first, the project which is using the concrete wall for external part of building for the main method, and the second project which just start using this method recently. For the best point of view of this method, I collect the information from 3 sources 1) The Construction Project Managers 2) The designer of concrete wall for the external part of the building 3) The constructors. For the result from comparing both projects, the second project which just start using the concrete wall‘s main problem comes from the process of planning because the lack of understanding the process of construction of external wall. The problem of planning is the wall designing process following the signed floor plan. Firstly, the projects and design is for the traditional method but the project manager change to use the external concrete wall and the machine available. There are lots of numbers of the component of the wall makes many of the joints of wall leading to much time consuming more than the first project about 95% and the problem in the planning process do not along with the production and the capacity of the machine. The writer compare both project and trial the condition in the second project and found that the adjustment of the planning to be more balances in designing and the capacity of the machine makes the second project reduce the material usage for 19% and reduce the usage of machine and time consuming for 23%. It can be seen that, the planning before the construction of Low Rise condominium can be the guidelines for reducing the problems and to educate all concerns about the procedure of constructing, planning stage and the basis of the decision made for the project about using the construction of the industrial system to reduce the cost and time consuming.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55064
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1148
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1148
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5773301025.pdf8.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.