Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55087
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชนกพร จิตปัญญา-
dc.contributor.authorปรียา เอี่ยมวัน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-10-30T04:25:25Z-
dc.date.available2017-10-30T04:25:25Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55087-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลของโปรแกรมการพยาบาลที่เน้นการใช้ดนตรีต่อความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองวัยผู้ใหญ่ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองวัยผู้ใหญ่จำนวน 44 คน ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและหอผู้ป่วยในประสาทวิทยา สถาบันประสาทวิทยา แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง จำนวนกลุ่มละ 22 คน และจับคู่ตามเพศ อายุ ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน คะแนนภาวะซึมเศร้า โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรม กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของสถาบันประสาทวิทยา (2554) แบบประเมินภาวะซึมเศร้าของ Beck (1967) และโปรแกรมการพยาบาลที่เน้นการใช้ดนตรีต่อความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและภาวะซึมเศร้า ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาของผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติสถิติเชิงบรรยาย และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1. คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองวัยผู้ใหญ่หลังได้รับโปรแกรมมากกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 2. คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองวัยผู้ใหญ่หลังการทดลองกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 3.คะแนนเฉลี่ยของภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองวัยผู้ใหญ่หลังได้รับโปรแกรมต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4.คะแนนเฉลี่ยของภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองวัยผู้ใหญ่หลังการทดลองในกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this quasi-experimental research was to examine the effects of nursing program emphasizing music used on function ability and depression in adult stroke patients. Forty-four adult stroke patients at stroke unit and neurology wards in Prasat Neurological Institute were recruited. They were randomly assigned into an experimental and a control group equally by matching gender, age, level of activity daily, and level of depression. The experimental group received nursing program emphasizing music used whereas the control group received regular nursing care. Research instruments included 1) The demographic data interview 2) The Barthel’s index of activities of daily living 3) Beck Depression Inventory (1967) Content validity of the study instruments were tested through 5 experts. Data were analyzed using descriptive statistics and t-test. Major findings were as follows: 1. The mean score of activity of daily living in adult stroke patients after receiving nursing program emphasizing music used was significantly higher than that before received the program, at the .05 level. 2. The mean score of activity of daily living in adult stroke patients who received nursing program emphasizing music used was significantly higher than those of adult stroke patients who received regular nursing care, at the .05 level. 3. The mean score of depression in adult stroke patients after receiving nursing program emphasizing music used was significantly lower than that before received the program, at the .05 level. 4. The mean score of depression in adult stroke patients who received nursing program emphasizing music used was significantly lower than those of adult stroke patients who received regular nursing care, at the .05 level.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.622-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectโรคหลอดเลือดสมอ -- ผู้ป่วย-
dc.subjectบุคคลซึมเศร้า-
dc.subjectดนตรีบำบัด-
dc.subjectCerebrovascular disease -- Patients-
dc.subjectDepressed persons-
dc.subjectMusic therapy-
dc.titleผลของโปรแกรมการพยาบาลที่เน้นการใช้ดนตรีต่อความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองวัยผู้ใหญ่-
dc.title.alternativeEFFECTS OF NURSING PROGRAM EMPHASIZING MUSIC USED ON FUNCTIONAL ABILITY AND DEPRESSION IN ADULT STROKE PATIENTS-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.622-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5777175036.pdf4.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.