Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55089
Title: ผลของการให้ยาลดไข้ร่วมกับการให้ความเย็นเฉพาะที่สองวิธีต่อภาวะอุณหภูมิกายสูงในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ
Other Titles: THE EFFECT OF ANTIPYRETIC MEDICATION COMBINED WITH TWO COOLING METHODS ON HYPERTHERMIA IN TRUAMATIC BRAIN INJURY PATIENTS
Authors: พนิดา รัตนวาร
Advisors: ชนกพร จิตปัญญา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Chanokporn.J@Chula.ac.th,jchanokp@hotmail.com
Subjects: ศีรษะบาดเจ็บ -- ผู้ป่วย
อุณหภูมิกาย -- การวัด
Head -- Wounds and injuries -- Patients
Body temperature -- Measurement
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้เป็นการทดลองแบบไขว้กันวัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยอุณหภูมิกายของผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการให้ยาลดไข้ร่วมกับการให้ความเย็นเฉพาะที่ และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยอุณหภูมิกายของผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการให้ยาลดไข้ร่วมกับการให้ความเย็นเฉพาะที่และกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ และเพื่อเปรียบเทียบระยะเวลาของการเกิดอุณหภูมิกายสูงครั้งต่อไปของผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการให้ยาลดไข้ร่วมกับการให้ความเย็นเฉพาะที่ และกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะที่มีภาวะอุณหภูมิกายสูง จำนวน 15 คน อายุระหว่าง 18-59 ปี ที่เข้ารับการรักษาตัวในหอบำบัดผู้ป่วยหนักศัลยกรรม และหอบำบัดผู้ป่วยหนักศัลยกรรมประสาทโรงพยาบาลตากสิน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกสัญญาณชีพผู้ป่วย แบบบันทึกระดับอุณหภูมิกาย แบบบันทึกระยะเวลาการเกิดอุณหภูมิกายสูงครั้งต่อไป และโปรแกรมการให้ยาลดไข้ร่วมกับการให้ความเย็นเฉพาะที่ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และสถิติ Paired-Samples t-test และสถิติ Wilcoxon Signed Rank test ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะหลังได้รับโปรแกรมการให้ยาลดไข้ร่วมกับการให้ความเย็นเฉพาะที่มีค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิกายต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการให้ยาลดไข้ร่วมกับการให้ความเย็นเฉพาะที่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะกลุ่มได้รับโปรแกรมการให้ยาลดไข้ร่วมกับการให้ความเย็นเฉพาะที่มีค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิกายต่ำกว่าผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะกลุ่มได้รับโปรแกรมการให้ยาลดไข้ร่วมกับการให้ความเย็นเฉพาะที่มีระยะเวลาการเกิดอุณหภูมิกายสูงครั้งต่อไปยาวนานกว่าผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: This research is a crossover design. The purposes of this study were to compare the mean of body temperature in traumatic brain injury patients before and after receiving the antipyretic medications combined with local cooling program and to compare the differences of the mean of body temperature and period of next hyperthermia occurrence in traumatic brain injury patients receiving the antipyretic medications combined with local cooling program and the group receiving routine nursing care. The samples were 15 traumatic brain injury patients with hyperthermia; age between 18 and 59 years old; and were admitted in Surgery intensive care unit and Neurosurgery intensive care unit in Taksin Hospital. The instruments were the personal and clinical data record, and antipyretic medications combined with local cooling program which was check for content validity from 5 experts. The data were analyzed using descriptive statistics, Paired t-test and Wilcoxon Signed Rank test. Results of the study were as follows: 1. The traumatic brain injury patients after receiving the antipyretic medications combined with local cooling program had statistically lower mean of body temperature than before receiving program at significant level of .05 2. Traumatic brain injury patients receiving the antipyretic medications combined with local cooling program had statistically lower mean of body temperature than the group receiving routine nursing care at significant level of .05 3. Traumatic brain injury patients receiving the antipyretic medications combined with local cooling program had statistically longer period of time of hyperthermia occurrence than patients receiving routine nursing care at significant level of .05
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55089
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.620
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.620
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5777179536.pdf3.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.