Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5508
Title: ประสิทธิภาพของสาหร่ายช่อพริกไทย Caulerpa lentillifera และสาหร่ายหนาม Acanthophora spicifera ในการบำบัดสารประกอบไนโตรเจน ในน้ำทิ้งจากบ่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำ
Other Titles: Efficiency of the macroalgae Caulerpa lentillifera and Acanthophora spicifera for the treatment of nitrogen compound from shrimp pond effluent
Authors: อลิสา โชควิวัฒนวนิช
Advisors: เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต
สรวิศ เผ่าทองศุข
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: piamsak@sc.chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: สาหร่าย
กุ้งกุลาดำ -- การเพาะเลี้ยง
น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดไนโตรเจน
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบันมีผู้นิยมนำสาหร่ายช่อพริกไทย และสาหร่ายหนามมาใช้ในการบำบัดน้ำทิ้ง จากบ่อเลี้ยงกุ้งที่มีสารประกอบไนโตรเจนอยู่สูง เนื่องจากสาหร่ายสามารถนำไนโตรเจนในรูปของแอมโมเนียม และไนเตรทเข้าสู่เซลล์เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตได้โดยตรง งานวิจัยนี้ได้ศึกษาอัตราการสังเคราะห์แสงของสาหร่าย โดยวัดจากปริมาณออกซิเจนในน้ำที่สาหร่ายปลดปล่อยออกมาจาก กระบวนการสังเคราะห์แสงเมื่อให้แสงที่ความเข้มระดับต่างๆ ภายใต้สภาพแสงธรรมชาติและแสงจากโคมฮาโลเจน ผลการทดลองพบว่าสาหร่ายช่อพริกไทย และสาหร่ายหนามมีจุดอิ่มตัวที่ระดับความเข้มแสงประมาณ 15,000-20,000 ลักซ์ ต่อมาได้ศึกษาจลนพลศาสตร์ของการนำแอมโนเนียและไนเตรท เข้าสู่เซลล์ของสาหร่ายทั้งสองชนิดพบว่า ในส่วนของการนำแอมโมเนียเข้าสู่เซลล์ สาหร่ายช่อพริกไทยมีค่า Vmax = 0.0897 mgNH4+ -N/g(fw)/hr, Km = 18.5822 mgNH4+ -N/l ส่วนในสาหร่ายหนามมีค่า Vmax = 0.3406 mgNH4+ -N/g(fw)/hr, Km = 50.9554 mgNH4+ -N/l ในขณะที่การนำไนเตรทเข้าสู่เซลล์ของสาหร่ายช่อพริกไทยมีค่า Vmax = 0.0157 mgNO3- -N/g(fw)/hr, Km = 40.1094 mgNO4- -N/l ส่วนในสาหร่ายหนามมีค่า Vmax = 0.0425 mgNO3- -N/g(fw)/hr, Km = 90.0509 mgNO3- -N/l จากข้อมูลดังกล่าวสรุปได้ว่าสาหร่ายหนามมีประสิทธิภาพ ในการนำแอมโมเนียมและไนเตรทเข้าสู่เซลล์ได้ดีกว่า สาหร่ายช่อพริกไทยและผลการทดลองยังแสดงให้เห็นอีกว่า สาหร่ายทั้งสองชนิดจะเลือกใช้สารประกอบไนโตรเจน ที่อยู่ในรูปของแอมโนเนียมก่อนไนเตรทเสมอ โดยไนเตรทมีความเข้มข้นสูงไม่มีผลยับยั้งการนำแอมโมเนียม เข้าสู่เซลล์ของสาหร่ายทั้งสองชนิด และเมื่อทดลองใช้สาหร่ายทั้งสองชนิด ในการบำบัดสารประกอบไนโตรเจนในน้ำจากบ่อเลี้ยงกุ้ง พบว่าสาหร่ายทั้งสองชนิดจะลดปริมาณแอมโมเนียมในน้ำลงได้อย่างรวดเร็ว โดยชุดทดลองที่ให้แสงต่อเนื่องที่ระดับ 15,000 ลักซ์ จะได้ผลดีกว่าชุดทดลองที่ได้รับแสงธรรมชาติ และสาหร่ายหนามจะมีประสิทธิภาพในการบำบัดแอมโนเนียม ได้ดีกว่าสาหร่ายช่อพริกไทย ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาจลนพลศาสตร์ข้างต้น
Other Abstract: Caulerpa lentillifera and Acanthophora spicifera are the macroalgae often used for taking up nitrogen waste in shrimp wastewater treatment pond in Thailand. The present study aims to evaluate photosynthesis efficiency and nitrogen uptake in these algae. It was found that Caulerpa letillifera and Acanthophora spicifera had light saturation, indicated by oxygen evolution, at approximately 15,000-20,000 lux. On the other hand, ammonium and nitrate uptake kinetic of both algae in laboratory condition (30 ppt, 30 ํC and 15000 lux light intensity) were studied using Michaelis-Menten equation. It results showed that Caulerpa lentillifera had maximum ammonium uptake rate (Vmax) and half saturation constant (Km) of 0.0897 mgNH4+ -N/g(fw)/hr and 18.5822 mgNH4+ -N/l, respectively, while Acanthophora spicifera had Vmax = 0.3406 mgNH4+ -N/g(fw)/hr and Km = 50.9554 mgNH4+ -N/l, respectively. For nitrate uptake, Caulerpa lentillifera had maximum nitrate uptake rate (Vmax) of 0.0175 mgNO3- -N/g(fw)/hr with Km = 40.7094 mgNO3- -N/l while Acanthophora spicifera had Vmax = 0.0425 mgNO3- -N/g(fw)/hr and Km = 90.0509 mgNO3- -N/l. The results suggested that Acanthophora spicifera had the higher nitrogen uptake rate than Caulerpa lentillifera. Ammonium was found the primary nitrogen source and high concentration of nitrate was not effect ammonium uptake rate in both algae. In the experiment with the water from shrimp pond algae could rapidly reduce ammonium and the treatment with continuous artificial light (15,000 lux) had higher efficiency than natural light (control). The results also indicated that Acanthophora spicifera had higher treatment efficiency than Caulerpa lentillifera which was related to the kinetics experiments.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5508
ISBN: 9741305508
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Alisa.pdf3.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.