Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55151
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วรรณี แกมเกตุ | - |
dc.contributor.author | สายถวิล แซ่ฮ่ำ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2017-10-30T04:27:58Z | - |
dc.date.available | 2017-10-30T04:27:58Z | - |
dc.date.issued | 2559 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55151 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดจิตสาธารณะสำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิต 2) เปรียบเทียบจิตสาธารณะระหว่างนักศึกษาที่มีเพศ อายุ ชั้นปี ภูมิลำเนา สาขาวิชา รายรับในแต่ละเดือน ชมรมที่สังกัด แตกต่างกันของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต และ 3) สร้างเกณฑ์การแปลความหมายคะแนนที่ได้จากแบบวัดจิตสาธารณะสำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิต ตัวอย่างการวิจัย คือ นักศึกษาปริญญาบัณฑิต จำนวน 900 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและสถิติเชิงอ้างอิง ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย ความเบ้ ความโด่ง การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหพันธ์แบบเพียร์สัน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. แบบวัดที่พัฒนาขึ้นเป็นแบบวัดจิตสาธารณะชนิดสถานการณ์สำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิต ซึ่งมี 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ แบ่งออกเป็น 4 องค์ประกอบ คือ การช่วยเหลือส่วนรวม การมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม การเคารพสิทธิของส่วนรวม และการดูแลรักษาสิ่งของส่วนรวม แบบวัดมีความตรงเชิงเนื้อหา (IOC= 0.6-1.00) และมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ (0.33-0.55) แบบวัดมีความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่สูง โดยมีค่าความเที่ยงของแบบวัดด้านการช่วยเหลือส่วนรวม การมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม การเคารพสิทธิของส่วนรวม และการดูแลรักษาสิ่งของส่วนรวม เท่ากับ 0.76, 0.76, 0.78 และ 0.79 ตามลำดับ มีความตรงเชิงโครงสร้างที่ได้จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองพบว่า โมเดลการวัดจิตสาธารณะมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (chi-square = 65.86, df = 54, p = 0.13, GFI = 0.99, AGFI = 0.98, RMR = 0.01, RMSEA = 0.02) 2. ผลการวิเคราะห์คะแนนเฉลี่ยจิตสาธารณะของนักศึกษาปริญญาบัณฑิตจำแนกตามเพศ พบว่า นักศึกษาหญิงมีระดับจิตสาธารณะสูงกว่านักศึกษาชาย จำแนกตามอายุ พบว่า นักศึกษาที่มีอายุ 23 ปี 22 ปี และ 20 ปี มีค่าเฉลี่ยคะแนนจิตสาธารณะสูงกว่านักศึกษาที่มีอายุ 21 ปี จำแนกตามชั้นปี พบว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 5 และ ชั้นปีที่ 2 มีค่าเฉลี่ยคะแนนจิตสาธารณะสูงกว่านักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำแนกตามสาขาวิชาที่เรียน พบว่า นักศึกษาที่เรียนสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยคะแนนจิตสาธารณะสูงกว่านักศึกษาที่เรียนสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ จำแนกตามกลุ่มที่เป็นสมาชิกชมรม พบว่า นักศึกษาที่เป็นสมาชิกชมรมศิลปะและดนตรี มีค่าเฉลี่ยคะแนนจิตสาธารณะสูงกว่านักศึกษาที่เป็นสมาชิกชมรมวิชาการ และนักศึกษาที่ไม่มีชมรมสังกัด จำแนกตามกลุ่มที่มีรายรับในแต่ละเดือน พบว่า นักศึกษาที่มีรายรับในแต่ละเดือนไม่เกิน 15,000 บาท มีค่าเฉลี่ยคะแนนจิตสาธารณะสูงกว่านักศึกษาที่มีรายรับในแต่ละเดือนมากกว่า 15,000 บาทขึ้นไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อจำแนกตามภูมิลำเนา พบว่า นักศึกษาในแต่ละภูมิลำเนามีค่าเฉลี่ยคะแนนจิตสาธารณะไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. เกณฑ์การแปลความหมายคะแนนของแบบวัดจิตสาธารณะสำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิต เป็นเกณฑ์แบบทีปกติ (normalized T-score) โดยแบ่งเป็นรายองค์ประกอบ ดังนี้ การช่วยเหลือส่วนรวม มีคะแนนดิบอยู่ระหว่าง 15-49 มีคะแนนทีปกติระหว่าง T17.39-T82.61 การมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม มีคะแนนดิบอยู่ระหว่าง 16-36 มีคะแนนทีปกติระหว่าง T21.55-T66.72 การเคารพสิทธิของส่วนรวม มีคะแนนดิบอยู่ระหว่าง 19-48 มีคะแนนทีปกติระหว่าง T17.39-T68.81 และ การดูแลรักษาสิ่งของส่วนรวม มีคะแนนดิบอยู่ระหว่าง 17-40 มีคะแนนทีปกติระหว่าง T20.65-T67.13 | - |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research were to 1) develop and validate a public mind scale for undergraduate students, 2) compare public mind among undergraduate students with different backgrounds in terms of gender, age, year, home of origin, field of study, monthly income and club, 3) develop the public mind scale criteria for undergraduate students. The sample consisted of 900 undergraduate students. The data analysis was conducted by using the descriptive statistics and inferential statistics including frequency, percentage, means, standard deviation (S.D.), coefficient of variation (C.V.), skewness, kurtosis, Pearson’s correlation, t-test, one-way ANOVA , and second-order confirmatory factor analysis. The research findings were as follow: 1. The public mind scale was the situation test with indicators comprising 4 factors: participate in public, public responsibility, public respect, and public attendance. The public mind scale had content validity (IOC = 0.60 – 1.00) and acceptable discrimination indexes (0.33-0.55). The overall reliability was 0.92. The reliability coefficients of the four subscales were 0.76, 0.76, 0.78 and 0.79, respectively. The result from confirmatory factor analysis suggested that all models fit empirical well (chi-square= 65.86, df = 54, p = 0.13, GFI = 0.99, AGFI = 0.98, RMR = 0.01, RMSEA = 0.02). 2. The comparisons of public mind for among undergraduate students were that female has higher public mind than male, students with age of 20, 22 and 23 years old had higher public mind than those with 21 years old. 2nd and 5th year students had higher public mind than 4th year students. Student from Science, Humanities and Social Sciences fields had higher public mind than Health science. Students attending arts and music club had higher public mind than those attending academic club and those who are not members of any clubs. Students with income lower 15,000 Baht has higher public mind than those having income upper 15,000 Baht. Furthermore, the home of origin of undergraduate students did not impact their public mind. 3. The criteria of public mind scale for undergraduate students were developed using the normalized T-score. The participation in public subscale had raw score between 15-49 (T17.39-T82.61), the public responsibility subscale had raw score between 16-36 (T21.55 -T66.72), public respect subscale had raw score between 19-48 (T17.39 - T68.81), and public attendance subscale had raw score between 17-40 (T20.65 - T67.13). | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.199 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.title | การพัฒนาแบบวัดจิตสาธารณะสำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิต | - |
dc.title.alternative | DEVELOPMENT OF A PUBLIC MIND SCALE FOR UNDERGRADUATE STUDENTS | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | การวัดและประเมินผลการศึกษา | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | Wannee.K@Chula.ac.th,wannee.k@gmail.com | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2016.199 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5783918927.pdf | 5.99 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.