Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55268
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอารีย์วรรณ อ่วมตานี-
dc.contributor.authorจงจิตร รัยมธุรพงษ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-10-30T04:34:08Z-
dc.date.available2017-10-30T04:34:08Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55268-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วย 2) พัฒนาแบบประเมินสมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วย และ 3) ตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมินสมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลสมุทรปราการ โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 ศึกษาสมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วย โดยการสนทนากลุ่มกับหัวหน้าหอผู้ป่วยทั้งหมด 26 คน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อกำหนดสมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วย ตอนที่ 2 พัฒนาเป็นแบบประเมินสมรรถนะ และกำหนดพฤติกรรมบ่งชี้ในการประเมินสมรรถนะด้วยเกณฑ์รูบริค และตอนที่ 3 ศึกษาคุณภาพของแบบประเมินสมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วย ความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ คำนวณหาค่าความเที่ยงของความสอดคล้องของการประเมินระหว่างผู้ประเมิน 4 กลุ่ม คือ รองหัวหน้ากลุ่มการพยาบาล หัวหน้าหอผู้ป่วย เพื่อนร่วมงาน และพยาบาลประจำการ จำนวน 232 คน ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. สมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วย ประกอบด้วยสมรรถนะ 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านภาวะผู้นำ เป็นพฤติกรรมที่แสดงถึงทักษะต่างๆ ที่หัวหน้าหอผู้ป่วยใช้ในการทำงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย 2) ด้านการบริหารจัดการ เป็นพฤติกรรมที่แสดงถึงความสามารถของหัวหน้าหอผู้ป่วย ในการบริหารทรัพยากรและระบบบริการอย่างมีประสิทธิภาพ 3) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นพฤติกรรมที่แสดงถึงการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของหัวหน้าหอผู้ป่วยที่เกิดประโยชน์ต่อบุคลากรและหน่วยงาน 4) ด้านการพัฒนาคุณภาพทางการพยาบาล เป็นพฤติกรรมที่แสดงถึงความสามารถที่หัวหน้าหอผู้ป่วย ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างและใช้นวัตกรรม งานวิจัยทางการพยาบาล และนำมาพัฒนาระบบบริการพยาบาล และ 5) ด้านคุณธรรมจริยธรรม เป็นพฤติกรรมที่หัวหน้าหอผู้ป่วยแสดงออกในการปฏิบัติงานด้วยความรับผิดชอบ มีความยุติธรรม ซื่อสัตย์สุจริต ให้เกียรติและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี 2. แบบประเมินสมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วย ประกอบด้วย 5 ด้าน ข้อรายการสมรรถนะ 24 ข้อ ประกอบด้วย 1) ด้านภาวะผู้นำ 7 ข้อ 2) ด้านการบริหารจัดการ 6 ข้อ 3) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 2 ข้อ 4) ด้านการพัฒนาคุณภาพทางการพยาบาล 4 ข้อ และ5) ด้านคุณธรรมจริยธรรม 5 ข้อ 3. ผลการศึกษาคุณภาพของแบบประเมิน พบว่า แบบประเมินมีความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ .81 และความเที่ยงของความสอดคล้องของการประเมินระหว่างผู้ประเมิน 4 กลุ่ม ในการประเมินสมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วย 18 หอผู้ป่วย ได้ค่ามากกว่า 0.70 เท่ากับร้อยละ 100 ค่าความเที่ยงของแบบประเมินโดยรวมทั้งฉบับ เท่ากับ .89-
dc.description.abstractalternativeThe objectives of the present study were aimed at:1)exploring the key competencies of head nurses; 2) developing a Head Nurses’ Competency Assessment Scale and 3) examining psychometric properties of the Head Nurses’ Competency Assessment Scale Samutprakarn Hospital. This study was divided into tree parts. Part 1 focused on studying head nurses’ key competencies by conducting focus group discussions with 26 head nurses.The data obtained was analyzed to determine the head nurses’ key competencies. Part 2 involved developing the competency assessment scale and specifying indicative behaviors in competency assessment using Rubric’s criteria. Part 3 consisted of qualified experts’ study of the Head Nurses’ Competency Scale’s quality and content validity. Reliability of assessment consistency was calculated among four assessor groups consisting of deputy head nurses, head nurses, colleagues and staff nurses (232 people). The findings were as follows: 1. The key competencies of head nurses are categorized by the following five dimensions: 1) Leadership indicating skills employed by head nurses in working to achieve goals; 2) Management perspectives showing head nurses’ capacity for effectively managing resources and service systems; 3) Information technology or head nurses’ behaviors in using information technology to benefit personnel and the organization, 4) Care quality improvement showing head nurses’ ability to promote and support the creations and implementation of innovations and nursing research to develop care service systems and 5) Morality and ethics expressed by head nurses working with responsibility, fairness and honesty while respecting and collaborating with others well. 4) quality improvement in nursing and 5) morality and ethics. 2. The Head Nurses’ Competency Scale was composed of five dimensions covering the following 24 competency items including 7 leadership competency items; 6 management competency items; 2 information technology competency items; 4 care quality development items and 5 morality and ethics competency items. 3. According to the psychometric properties, the scale’s CVI was .81 and reliability of assessment consistency among four groups of assessors in assessing competency among head nurses of 18 patient wards was more than 0.70 (100%) with a mean of .87.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.643-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectผู้บริหารการพยาบาล-
dc.subjectสมรรถนะ-
dc.subjectNurse administrators-
dc.subjectPerformance-
dc.titleการพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลสมุทรปราการ-
dc.title.alternativeTHE DEVELOPMENT OF HEAD NURSES' COMPETENCY SCALE, SAMUTPRAKARN HOSPITAL-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.643-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5877158436.pdf11.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.