Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55308
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปองสิน วิเศษศิริ-
dc.contributor.advisorพฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์-
dc.contributor.authorพงษ์ลิขิต เพชรผล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-10-30T04:35:20Z-
dc.date.available2017-10-30T04:35:20Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55308-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดของการบริหารห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของความเป็นพลเมือง 2) ศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภาวะคุกคามของการบริหารห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของความเป็นพลเมือง และ 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของความเป็นพลเมือง โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสม ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างคือ โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัด สพฐ. จำนวน 230 โรงเรียน โดยผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียนฝ่ายวิชาการและครูหัวหน้ากลุ่มสาระหรือครูหัวหน้าระดับ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสอบถามและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าดัชนีความต้องการจำเป็น PNI Modified และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดของการบริหารห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของความเป็นพลเมือง ประกอบด้วย กรอบแนวคิดกระบวนการบริหาร กรอบแนวคิดเรื่องลักษณะห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 กรอบแนวคิดเรื่องความเป็นพลเมืองและกรอบแนวคิดเรื่องการเสริมสร้างคุณภาพของความเป็นพลเมือง 2) จุดแข็งของการบริหารห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของความเป็นพลเมืองคือ บรรยากาศของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ จุดอ่อนคือ การวัดและประเมินผลการศึกษา ส่วนโอกาสคือ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และภาวะคุกคาม ได้แก่ นโยบายของรัฐบาล สภาพเศรษฐกิจ และสภาพสังคม และ 3) กลยุทธ์การบริหารห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของความเป็นพลเมืองมี 3 กลยุทธ์ ประกอบด้วย (1) กลยุทธ์การปฏิรูปการวัดและประเมินผลการศึกษาให้ห้องเรียนเพื่อเสริมสร้างคุณภาพของความเป็นพลเมือง (2) กลยุทธ์การยกระดับประสิทธิภาพของหลักสูตร และวิธีจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนวิชาหน้าที่พลเมืองเพื่อเสริมสร้างคุณภาพของความเป็นพลเมือง และ (3) กลยุทธ์การพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนให้มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างการคุณภาพของความเป็นพลเมือง-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research study were to 1) study the framework of 21st century classroom management for enhancing the quality of citizenship 2) study the strengths, weaknesses, opportunities and threats of 21st century classroom management for enhancing the quality of citizenship and 3) develop 21st century classroom management strategies for enhancing the quality of citizenship. Research methodology being used was a mixed-methods approach. The research included 230 middle-sized secondary schools under the Office of the Basic Education Commission (OBEC) area in the northeast region of Thailand. The informants were directors, vice-directors and teachers. Questionnaires and strategies evaluation form of feasibility and appropriateness were used as tools to collect data. Frequency, percentage, mean, standard deviation, and PNI Modified were used to analyze the collected data. The results were as follows: 1) the framework of 21st century classroom management for enhancing the quality of citizenship consist of management, 21st century classroom, citizenship and enhancing the quality of citizenship frameworks’. 2) The strengths were the atmosphere of instructional management focused on learners' participation in the learning process. The weaknesses were educational measurement and evaluation. The opportunities were the technological advancement and technology condition. The threats were government policy, economic conditions and social conditions. 3) The 3 main strategies of 21st century classroom management for enhancing the quality of citizenship were (1) strategies to reforming the educational measurement and evaluation in the classroom for enhancing the quality of citizenship. (2) strategies to promote the effectiveness of curriculum and teaching methodology in citizenship for enhancing the quality of citizenship. (3) strategies to develop learning system that provides an atmosphere conducive to 21st century education by using educational technology as a base to enhance the quality of citizenship.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.511-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleการนำเสนอกลยุทธ์การบริหารห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของความเป็นพลเมือง-
dc.title.alternativePROPOSED 21st CENTURY CLASSROOM MANAGEMENT STRATEGIES FOR ENHANCING THE QUALITY OF CITIZENSHIP-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาเอก-
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorPongsin.V@Chula.ac.th,v.pongsin@gmail.com-
dc.email.advisorPruet.S@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.511-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5484463527.pdf6.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.