Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55313
Title: การศึกษาเปรียบเทียบการออกแบบเรขศิลป์โดยใช้ทฤษฎีต้นแบบบุคลิกภาพสำหรับสินค้าที่มีความเกี่ยวพันสูงระหว่างกลุ่มเมโทรเซ็กชวลและกลุ่มอูเบอร์เซ็กชวล
Other Titles: A COMPARATIVE STUDY OF GRAPHIC DESIGN BY USING ARCHETYPE THEORY FOR HIGH INVOLVEMENT PRODUCT BETWEEN METROSEXUAL AND UBERSEXUAL
Authors: ณพงศ หอมแย้ม
Advisors: เอื้อเอ็นดู ดิศกุล ณ อยุธยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Ua-endoo.D@Chula.ac.th,ua_endoo@yahoo.com
Subjects: การออกแบบกราฟิก
การสร้างสรรค์ในงานโฆษณา
Graphic design
Creativity in advertising
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการออกแบบเรขศิลป์สื่อสารต้นแบบบุคลิกภาพสำหรับสินค้าที่มีความเกี่ยวพันสูงระหว่างกลุ่มเมโทรเซ็กชวลและกลุ่มอูเบอร์เซ็กชวล โดยต้นแบบบุคลิกภาพหมายถึงแนวคิดทางจิตวิทยาที่เชื่อว่าการเล่าเรื่องผ่านตัวละครมีบุคลิกภาพที่คุ้นเคยทำให้ผู้รับสารเข้าถึงเนื้อสารที่ต้องการสื่อได้มากขึ้น และมีตัวแปรต้นเป็นกลุ่มเป้าหมายที่มีความใกล้เคียงกันทางกายภาพคือกลุ่มผู้ชาย แต่มีรายละเอียดทางจิตภาพต่างกัน โดยผู้ชายกลุ่มเมโทรเซ็กชวลหมายถึงกลุ่มผู้ชายที่เน้นความสำคัญกับรูปลักษณ์ภายนอก ติดแบรนด์ชั้นนำ แต่งตัวนำสมัยนิยม สนใจคุณภาพมากกว่าราคา และผู้ชายกลุ่มอูเบอร์เซ็กชวลหมายถึงกลุ่มผู้ชายที่มีรูปลักษณ์ภายนอกโดดเด่นเช่นกัน แต่มีรูปแบบการดำเนินชีวิตที่เน้นสาระของชีวิตมากกว่า แสดงออกถึงความเป็นชายชาตรี มีความเป็นสุภาพบุรุษสูง คำนึงถึงคนอื่นไม่น้อยกว่าที่ดูแลตนเอง โดยสื่อสารต้นแบบบุคลิกภาพผ่าน 4 แนวคิดทางด้านการออกแบบเรขศิลป์ ได้แก่ กลวิธีการนำเสนอ (Creative Execution) สิ่งจูงใจในการโฆษณา (Advertising Appeals) การเปรียบต่างของสี (Color Contrast) และการเปรียบต่างของภาพ (Visual Contrast) การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ส่วนเพื่อตอบแต่ละวัตถุประสงค์ของการวิจัย ตอบวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้ชายไทย อายุ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 400 คน แบ่งเป็นกลุ่มเมโทรเซ็กชวล 200 คน และกลุ่มอูเบอร์เซ็กชวล 200 คน ผ่านวิธีการอ้างอิงแบบต่อเนื่อง (Snowball Sampling Technique) ด้วยวิธีการแจกแบบสอบถามอิเล็คทรอนิคส์คัดเลือกต้นแบบบุคลิกภาพที่มีอิทธิพลต่อตนเองจาก 21 ต้นแบบ จากการวิจัยพบว่ามี 10 ต้นแบบที่มีอิทธิพลต่อกลุ่มเมโทรเซ็กชวล และมี 11 ต้นแบบที่มีอิทธิพลต่อกลุ่มอูเบอร์เซ็กชวล ซึ่งต้นแบบบุคลิกภาพที่มีอิทธิพลของแต่ละกลุ่มมีความเหมือนและต่างกัน ดังนี้ มี 8 ต้นแบบที่มีอิทธิพลต่อทั้งสองกลุ่ม มี 2 ต้นแบบที่มีอิทธิพลเฉพาะกลุ่มเมโทรเซ็กชวล และมี 3 ต้นแบบที่มีอิทธิพลเฉพาะกลุ่มอูเบอร์เซ็กชวล รวมมีต้นแบบบุคลิกภาพที่มีอิทธิพลกลุ่มผู้ชายในการวิจัยครั้งนี้ ทั้งหมด 13 ต้นแบบบุคลิกภาพ ตอบวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างประเภทผลงานโฆษณาระดับสากลของสินค้าที่มีความเกี่ยวพันสูงที่สื่อสารด้วย 13 ต้นแบบบุคลิกภาพที่มีอิทธิพลต่อผู้ชายทั้งสองกลุ่ม จำนวน 400 ชิ้นงาน ด้วยวิธีการแจกแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเรขศิลป์ 9 ท่าน เลือกแนวทางการออกแบบเรขศิลป์ที่เหมาะสมด้านกลวิธีการนำเสนอและสิ่งจูงใจในการโฆษณาด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเรขศิลป์ จำนวน 2 ท่าน รวมกับผู้วิจัยวิเคราะห์แนวทางการออกแบบเรขศิลป์ที่เหมาะสมด้านการเปรียบต่างของสีและการเปรียบต่างของภาพ จากการวิจัยพบว่ามีแนวทางการออกแบบทั้งหมด 3 แนวทาง ได้แก่ 1) แนวทางการออกแบบเรขศิลป์สำหรับกลุ่มเมโทรเซ็กชวลโดยเฉพาะ 2) แนวทางการออกแบบเรขศิลป์สำหรับกลุ่มอูเบอร์เซ็กชวลโดยเฉพาะ และ 3) แนวทางการออกแบบเรขศิลป์สำหรับทั้งสองกลุ่มรวมกัน โดยแต่ละแนวทางแบ่งกลุ่มคำตอบออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มคำตอบที่น่าเชื่อถือมากที่สุด กลุ่มคำตอบที่น่าเชื่อถือ และกลุ่มคำตอบที่ไม่น่าเชื่อถือ ตามลำดับ ตอบวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 การเปรียบเทียบแนวทางการออกแบบเรขศิลป์สื่อสารต้นแบบบุคลิกภาพระหว่างกลุ่มเมโทรเซ็กชวลและกลุ่มอูเบอร์เซ็กชวล ด้านกลวิธีการนำเสนอมีแนวทางที่น่าเชื่อถือ 15 กลวิธีไม่ต่างกัน มี 8 กลวิธีที่น่าเชื่อถือมากที่สุดสำหรับกลุ่มเมโทรเซ็กชวล และมี 7 กลวิธีที่น่าเชื่อถือมากที่สุดสำหรับกลุ่มอูเบอร์เซ็กชวลซึ่งเหมือนกัน 7 กลวิธี และต่างกัน 1 กลวิธี ด้านสิ่งจูงใจในการโฆษณามีแนวทางที่น่าเชื่อถือ 15 สิ่งจูงใจไม่ต่างกัน และมี 3 สิ่งจูงใจที่น่าเชื่อถือมากที่สุดสำหรับกลุ่มเมโทรเซ็กชวลเหมือนกลุ่มอูเบอร์เซ็กชวล ด้านการเปรียบต่างของสีมีแนวทางที่น่าเชื่อถือ 6 วิธีไม่ต่างกัน และมี 2 วิธีที่น่าเชื่อถือมากที่สุดสำหรับกลุ่มเมโทรเซ็กชวลเหมือนกลุ่มอูเบอร์เซ็กชวล แต่มี 1 วิธีที่น่าเชื่อถือสำหรับกลุ่มเมโทรเซ็กชวลเท่านั้น และด้านการเปรียบต่างของภาพมีแนวทางที่น่าเชื่อถือ 5 วิธีไม่ต่างกัน มี 2 วิธีที่น่าเชื่อถือมากที่สุดสำหรับกลุ่มเมโทรเซ็กชวล และมี 3 วิธีที่น่าเชื่อถือมากที่สุดสำหรับกลุ่มอูเบอร์เซ็กชวล ซึ่งเหมือนกัน 1 วิธี และต่างกัน 3 วิธี ผลการประเมินความพึงพอใจการประยุกต์ผลการวิจัยออกแบบเรขศิลป์โฆษณาแบรนด์สินค้าแว่นตากันแดด แบ่งการประเมินออกเป็น 3 กลุ่ม โดยตัวแทนกลุ่มเมโทรเซ็กชวลพึงพอใจแนวทางการวางองค์ประกอบในภาพมากที่สุดที่ค่าเฉลี่ย 3.80 และตัวแทนกลุ่มอูเบอร์เซ็กชวลพึงพอใจในผลงานโฆษณาสามารถสร้างแรงจูงใจต่อการซื้อสินค้ามากที่สุดที่ค่าเฉลี่ย 3.80 โดยพึงพอใจในแนวทางการออกแบบด้านกลวิธีการนำเสนอและการใช้สีอยู่ที่ค่าเฉลี่ย 3.40 และตัวแทนจากทั้งสองกลุ่มรวมกันพึงพอใจแนวทางการออกแบบด้านสิ่งจูงใจในการโฆษณา การใช้สี การวางองค์ประกอบในภาพ มากที่สุดที่ค่าเฉลี่ย 4.00
Other Abstract: The purpose of this study was to conduct a comparative study of graphic design by using archetype theory for high involvement products between metrosexual and ubersexual. The archetype theory is a psychological concept in effective narration through characters with familiar personalities. The target audience were males with different perceptual frameworks. The metrosexual males give priority to appearance, brand names, fashion and quality over price while the ubersexual males are males with outstanding appearance and serious lifestyles. They are masculine, polite and thoughtful. The graphic designs based on the archetype theory are presented in four aspects: creative execution, advertising appeals, color contrast and visual contrast. The study was conducted in three phrases. The first one was data collection from four hundred Thai males (two hundred of metrosexual and ubersexual). They all were older than 20 years old. The Snowball Sampling technique was employed. The survey was distributed electronically. Twenty one archetypes were selected. The study found that ten archetypes had an influence on metrosexual. Eleven archetypes had an influence on ubersexual. The archetype of each group shared some characteristics and had some differences. Eight archetypes had influences on both groups. Two archetypes had an influence only on the metrosexual group, and three archetypes had an influence only on the ubersexual group. In total, thirteen archetypes had an influence on male in this study. The second phrases was collecting data from four hundred international advertisements of the high involvement products presented by the thirteen archetypes influencing both groups. Nine experts on graphic design were asked to choose appropriate methods for creative execution and appeals in the advertisements. The experts were interviewed in depth on graphic design. The two experts and the researcher collaborated on an analysis of the appropriate designs on color contrast and visual contrast. The study found that there were three designs: specific graphic designs for metrosexual, specific graphic designs for ubersexual and designs for both groups. For these three designs, the answers were divided into three groups: the most reliable answers, reliable answers and unreliable answers. The last phrase was to compare graphic designs by using archetype theory between the two groups: metrosexual and ubersexual. For creative execution methods, there were fifteen reliable ways. Among these, there were eight most reliable ways for metrosexual and seven for ubersexual. All seven for ubersexual were the same as those for metrosexual. There was only one which was different between two groups. For advertising appeals, there were fifteen reliable ways. Among these, there were three most reliable ways for metrosexual and ubersexual. For color contrast, there were six reliable ways. Among these, there were two most reliable ways for metrosexual and ubersexual. There was merely one reliable way for metrosexual. For visual contrast, there were five reliable ways. Among these, there were two most reliable ways for metrosexual and three for ubersexual. There was one similar method and three different methods. The satisfaction on the application of graphic design in an advertisement of sunglasses was divided into three groups. Representatives of metrosexual were satisfied with visual contrast the most at 3.80 averagely. Representatives of ubersexual were satisfied with advertising appeals the most at 3.80 averagely and the satisfaction on creative execution and color contrast was at 3.40. Representatives from both groups were satisfied with advertising appeals, color contrast and visual contrast at 4.00 the most.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ศิลปกรรมศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55313
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1110
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1110
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5486804235.pdf58.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.