Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55384
Title: ผลการใช้โปรแกรมสุขภาพในโรงเรียนที่มีต่อการป้องกันการเป็นเหา การรักษาความสะอาดของฟันและมือ ของนักเรียนชาวเขาประถมศึกษาตอนปลาย
Other Titles: EFFECTS OF SCHOOL HEALTH PROGRAM FOR HEAD LICE PREVENTION, CLEANING OF THE TEETH AND HANDS OF ELEMENTARY SCHOOL HILL TRIBE STUDENTS
Authors: สุชัญญา สุขสอาด
Advisors: จินตนา สรายุทธพิทักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Jintana.S@Chula.ac.th,Jintana.S@chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนด้านความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติ การป้องกันการเป็นเหา การรักษาความสะอาดของฟันและมือ ก่อนและหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองและของนักเรียนกลุ่มควบคุม 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนด้านความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติ การป้องกันการเป็นเหา การรักษาความสะอาดของฟันและมือ หลังการทดลองระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองกับนักเรียนกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายจำนวน 40 คน โรงเรียนธารทิพย์ จังหวัดเชียงราย แบ่งเป็นนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมสุขภาพในโรงเรียนที่มีต่อการป้องกันการเป็นเหา การรักษาความสะอาดของฟันและมือ จำนวน 20 คน เป็นเวลา 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 ชั่วโมง และนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับโปรแกรมสุขภาพในโรงเรียน จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัยประกอบด้วย โปรแกรมสุขภาพในโรงเรียนที่มีต่อการป้องกันการเป็นเหา การรักษาความสะอาดของฟันและมือ มีค่าดัชนีความสอดคล้องรวมเท่ากับ 0.95 และแบบวัดความรู้ แบบวัดเจตคติ และแบบวัดการปฏิบัติการป้องกันการเป็นเหา การรักษาความสะอาดของฟันและมือ มีค่าดัชนีความสอดคล้องรวมเท่ากับ 0.88, 0.98 และ 1.00 ตามลำดับ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.84, 0.80 และ 0.80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนด้านความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติ เรื่องการป้องกันการเป็นเหา การรักษาความสะอาดของฟันและมือ หลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลอง สูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าเฉลี่ยของคะแนนด้านความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติ เรื่องการป้องกันการเป็นเหา การรักษาความสะอาดของฟันและมือ หลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มควบคุม ไม่แตกต่างจากก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนด้านความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติ เรื่องการป้องกันการเป็นเหา การรักษาความสะอาดของฟันและมือ หลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this study were: 1) to compare the average score of knowledge, attitude and practice of head lice prevention, cleaning of the teeth and hands before and after implementation between the experimental group students and control group students 2) to compare the average score of knowledge, attitude and practice after implementation between the experimental group students and the control group students. The sample was 40 students from the elementary school students of Tharnthip School, Chiangrai. Twenty students in the experimental group were given the school health program for head lice prevention, cleaning of the teeth and hands while the other twenty students in the control group not received the school health program. The research instruments were composed for 6 weeks, 3 days a week, 1 hour a day of the school health program had an IOC 0.95. The academic test on knowledge, attitude and practice of head lice prevention, cleaning of the teeth and hands had an IOC 0.88, 0.98 and 1.00, the reliability was 0.84, 0.80 and 0.80. Then data were analyzed by mean, standard deviations, and t-test. The research findings were as follows: 1) The mean scores of the knowledge, attitude and practice after implementation of the experimental group students were significantly higher than before at .05 level. The mean scores of the knowledge, attitude and practice before and after implementation of the control group students were not significantly different at .05 level. 2) The mean scores of the knowledge, attitude and practice after implementation of the experimental group students were significantly higher than the control group students at .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขศึกษาและพลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55384
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1212
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1212
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5883386027.pdf6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.