Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55493
Title: ผลของโอโซนต่อไนทริไฟอิงแบคทีเรียและแบคทีเรียสกุลวิบริโอในระบบการเลี้ยงกุ้งทะเลแบบปิด
Other Titles: Effect of Ozonation on Nitrifying bacteria and Vibrio spp. in Closed Recirculating Aquaculture System for Marine Shrimp
Authors: ธนัช ทวีพิทักษ์ไทย
Advisors: วิบูลย์ลักษณ์ พึ่งรัศมี
สรวิศ เผ่าทองศุข
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Wiboonluk.P@Chula.ac.th,wiboonluk@hotmail.com,wiboonluk@hotmail.com
sorawit@biotec.or.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลของการเติมโอโซนต่อไนทริไฟอิงแบคทีเรียและแบคทีเรียสกุลวิบริโอในระบบการเลี้ยงกุ้งทะเลแบบปิด แบ่งการทดลองออกเป็น 3 ช่วง ช่วงแรกเป็นการสำรวจแหล่งอาศัยและปริมาณแบคทีเรียสกุล Vibrio ในระบบการเลี้ยงกุ้งน้ำเค็มแบบปิด ผลการทดลองพบว่าแบคทีเรีย Vibrio spp. และ V. parahaemolyticus มีการสะสมตัวมากที่สุดบริเวณตะกอนก้นถัง โดยมีปริมาณเท่ากับ 131.11±41.67 และ 21.11±11.67 ซีเอฟยู/มล. ตามลำดับ การทดลองช่วงที่ 2 เป็นการศึกษาพิษของโอโซนต่อแบคทีเรีย เมื่อพิจารณาจากระยะเวลาการพ่นโอโซนต่อค่าความเข้มข้นโอโซนตกค้าง (Residual Ozone Concentration; ROC) ในน้ำเค็ม พบว่าเมื่อเติมโอโซนด้วยเครื่องที่มีกำลังการผลิตโอโซน 300 มก./ชม. ลงในน้ำเค็มปริมาตร 1 ล. โอโซนจะอิ่มตัวในน้ำที่เวลา 50 นาที โดยค่าความเข้มข้นโอโซนตกค้างในน้ำจะลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อทำการเติมอากาศลงในน้ำหลังหยุดเติมโอโซน จากนั้นทำการศึกษาพิษของโอโซนต่อประสิทธิภาพการบำบัดไนโตรเจนของตัวกรองชีวภาพไนทริฟิเคชัน เปรียบเทียบระหว่างชุดควบคุมที่ไม่เติมโอโซนกับชุดทดลองที่เติมโอโซนที่ระดับความเข้มข้นโอโซนตกค้างแตกต่างกัน ผลการทดลองพบว่าโอโซนจะเริ่มมีผลต่อการทำงานของไนทริไฟอิงแบคทีเรียที่ความเข้มข้นโอโซนตกค้าง 0.4 มก./ล. นั่นคือทำให้อัตราการบำบัดแอมโมเนียลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (P < 0.05) สำหรับการศึกษาพิษของโอโซนต่อ V. parahaemolyticus ที่แขวนลอยภายในน้ำ ผลการทดลองพบว่าเมื่อเติมโอโซนลงในน้ำที่มีแบคทีเรียดังกล่าวปริมาณ 3.83±1.44x104 ซีเอฟยู/มล. ที่ระดับความเข้มข้นโอโซนตกค้าง 0.3 และ 0.4 มก./ล. แบคทีเรียจะลดลงได้ทั้งหมดภายในระยะเวลา 50 และ 40 นาที ตามลำดับ ในการศึกษาพิษของโอโซนต่อไนทริฟายอิงแบคทีเรียและ V. parahaemolyticus ที่เติบโตร่วมกันบนวัสดุตัวกรองพลาสติก ที่ระดับความเข้มข้นของโอโซนตกค้าง 0.30±0.04 มก./ล. ผลการวิเคราะห์อัตราการบำบัดแอมโมเนียของตัวกรองชีวภาพแสดงให้เห็นว่าโอโซนไม่มีผลต่อการทำงานของแบคทีเรียกลุ่มไนทริฟิเคชัน (P ≥ 0.05) โดยตัวกลางที่ผ่านการบ่ม V. parahaemolyticus เป็นเวลา 4 ชม. ปริมาณแบคทีเรียดังกล่าวบนตัวกรองชีวภาพในชุดทดลองมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับเวลา ส่วนการทดลองสุดท้ายเป็นการศึกษาพิษของโอโซนต่อแบคทีเรียในระบบการเลี้ยงกุ้งทะเลแบบปิด ผลการทดลองพบว่าการเติมโอโซนที่ความเข้มข้นโอโซนตกค้างเท่ากับ 0.30±0.01 มก./ล. ในชุดทดลองสามารถทำลายแบคทีเรีย Vibrio spp. และ V. parahaemolyticus ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่มีผลต่อการทำงานของไนทริไฟอิงแบคทีเรีย เมื่อพิจารณาจากความเข้มข้นของแอมโมเนีย ไนไทรต์ ไนเทรต และอัตราการบำบัดแอมโมเนีย (P ≥ 0.05) ซึ่งมีค่าเท่ากับ 0.13±0.03, 0.14±0.04, 11.77±0.52 มก.-ไนโตรเจน/ล. และ 45.70±0.46 มก.-ไนโตรเจน/ตร.ม./วัน ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าโอโซนยังมีผลช่วยออกซิไดซ์สารอินทรีย์ของน้ำในถังเลี้ยงกุ้ง ทำให้มีความใสกว่าชุดควบคุม โดยไม่มีผลกระทบต่ออัตราการเจริญเติบโตและอัตราการรอดตายของกุ้ง
Other Abstract: In this research, effect of ozonation on nitrifying bacteria and Vibrio spp. in the closed recirculating aquaculture system for marine shrimp was evaluated. The study consisted of three experiments. The first experiment was the survey of viable Vibrio spp. and V. parahaemolyticus in the recirculating aquaculture system (RAS). The result showed that most of the bacteria were found in the settled solid of the of RAS. Accumulation of Vibrio spp. And V. parahaemolyticus were 131.11±41.67 and 21.11±11.67 CFU/ml., respectively. The second experiment evaluated the effect of residual ozone concentrations (ROC) on bacterial survival. The ROC after ozone bubbling in seawater and the duration of ozone degradation were studied. The result showed that the ROC saturated after 50 minutes of ozone bubbling and ozone degradation was enhanced by aeration. Furthermore, the effect of ROC on nitrification treatment of nitrifying biofilter was observed. It was found that ROC of 0.4 mg/L could significantly decrease the ammonia removal rate of the nitrifying biofilter (P < 0.05). Thereafter, the effect of ROC on V. parahaemolyticus at the initial concentration of 3.83±1.44x104 CFU/ml was evaluated. The result indicated that the number of total bacteria were reduced by ROC of 0.3 and 0.4 mg/L with in 50 and 40 minutes, respectively. On the other hand, V. parahaemolyticus on biofilter was inhibited by ozone while the ROC of 0.3 mg/L did not affect the ammonia removal rate (P≥0.05). Finally, the effect of ROC on bacteria in the RAS for marine shrimp were evaluated. The results indicated that Vibrio spp. and V. parahaemolyticus were inhibited by ROC of 0.30±0.01 mg/L while ROC was not significantly decrease (P ≥ 0.05) the ammonia removal rate of 45.70±0.46 mg-N/m2/day. Moreover, oxidation of dissolved organic compounds by ozone caused the higher water transparency without any negative effect on shrimp growth and survival.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55493
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1027
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1027
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5770424021.pdf8.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.