Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55625
Title: พฤติกรรมการใช้สิ่งอำนวยความสะดวกในโครงการที่อยู่อาศัย เพื่อผู้สูงอายุ : กรณีศึกษา โครงการสวางคนิเวศ สภากาชาด และโครงการเวเนสซิตี้
Other Titles: USAGE OF FACILITIES BEHAVIOR BY ELDERLY RESIDENTS PROJECT : AS CASE STUDY OF SAWANGKANIVES AND WELLNESS CITY
Authors: กรายระวี เตียตระกูล
Advisors: ไตรรัตน์ จารุทัศน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Trirat.J@Chula.ac.th,trirat13@gmail.com
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จุดประสงค์เพื่อการศึกษาพฤติกรรมการใช้งานของสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุ โดยวิเคราะห์ความต้องการต่อกิจกรรมของผู้สูงอายุ และเสนอแนะแนวทางการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่ส่วนกลาง เพราะในปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ และในอนาคตคาดว่าจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นกลุ่มผู้สูงอายุจึงเป็นกลุ่มเป้าหมายของการจัดการระบบดูแลและเฝ้าระวัง การศึกษาสิ่งอำนวยความสะดวกภายในโครงการที่อยู่อาศัยเพื่อผู้สูงอายุจึงมีความสำคัญ เพื่อแนวทางในการพัฒนาที่อยู่อาศัยให้มีความเหมาะสมต่อผู้สูงอายุ การรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุทั้งหมด 66 ชุด จากโครงการที่ทำการศึกษา และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงปริมาณ แบ่งการวิเคราะห์สิ่งอำนวยความสะดวกออกเป็น 4 ด้าน คือ (1) พื้นที่กิจกรรม (2) พื้นที่พักผ่อน (3) พื้นที่รักษาพยาบาล (4) พื้นที่บริการ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้สิ่งอำนวยความสะดวกบ่อยที่สุด คือ พื้นที่สวนเพื่อการบำบัดหรือสวนสุขภาพ โดยใช้ทุกวัน ในช่วงเวลา 06.00-09.00 น. ครั้งละ 30-60 นาที โดยความสำคัญลำดับที่ 1 ที่ผู้สูงอายุให้ความต้องการต่อพฤติกรรมการใช้สิ่งอำนวยความสะดวกในด้านพื้นที่กิจกรรม (1) ด้านส่งเสริมสภาพร่างกาย ให้ความสำคัญกับพื้นที่สวนเพื่อการบำบัดหรือสวนสุขภาพ (2) กิจกรรมด้านสันทนาการและการบันเทิง ให้ความสำคัญกับพื้นที่กิจกรรม (3) กิจกรรมด้านส่งเสริมสภาพทางสมอง ให้ความสำคัญกับแปลงปลูกต้นไม้ ด้านพื้นที่พักผ่อนให้ความสำคัญ (1) กิจกรรมด้านส่งเสริมสภาพร่างกาย ให้ความสำคัญกับพื้นที่นวดแผนโบราณ (2) กิจกรรมด้านสันทนาการและการบันเทิง ให้ความสำคัญกับสระน้ำ (3) กิจกรรมด้านส่งเสริมสภาพทางสมอง ให้ความสำคัญกับห้องสมุด (4) กิจกรรมด้านส่งเสริมสภาพจิตใจ ให้ความสำคัญกับห้องปฏิบัติธรรม ด้านพื้นที่รักษาพยาบาล ให้ความสำคัญกับ พื้นที่ปฐมพยาบาล และด้านพื้นที่บริการ ให้ความสำคัญกับ ร้านอาหาร วิจัยฉบับนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบการ ในการคัดเลือก และจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกให้ตรงกับความต้องการของผู้สูงอายุ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะและคาดว่าจะเติบโตขึ้นในอนาคต
Other Abstract: This research aims at studying facility use behaviour in elderly residential projects. The elderly’s needs for activities were analysed and guidelines for developing facilities in the central area were suggested. Nowadays, the number of elderly in Thailand is more than 10 per cent of the total population and is expected to steadily increase in the future. As a result, the elderly have become a target group of the management of caring and monitoring systems. Therefore, the study of facilities of elderly residential projects is important in order to suggest guidelines for developing appropriate elderly residences. The data were collected using a questionnaire administered to a target group of 66 elderly people in the study projects and were analysed using quantitative statistics. An analysis of facilities was divided : (1) Active Facility, (2) Passive Facility, (3) Medical Facility, (4) Service. The results show that the facility which the majority of the target group used most often was a therapeutic garden or a healthy garden. The elderly used this area during 6.00-9.00 a.m. every day and spent 30-60 minutes there each time. Considering facility use behaviour in terms of the activity area, the elderly gave priority to (1) the therapeutic garden or the healthy garden for body-enhancing activities, (2) the activity area for recreational and entertainment activities, and (3) a growing plot for brain-boosting activities. In terms of the relaxation area, priority was given to a traditional Thai massage area for body-enhancing activities, (2) a pool for recreational and entertainment activities, (3) a library for brain-boosting activities, and (4) a meditation room for spiritual-supporting activities. In terms of the nursing area, priority was given to a first-aid area, and, in terms of the service area, priority was given to restaurants. Hopefully, this research will be beneficial for entrepreneurs in facility selection and preparation to meet the needs of the elderly, who have specific needs and the number of which is expected to increase in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพัฒนาที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55625
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.173
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.173
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5873332525.pdf8.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.