Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55648
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรภัทร์ อิงคโรจน์ฤทธิ์-
dc.contributor.authorมาริสา จิวเวชดำรงค์กุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-10-30T04:43:20Z-
dc.date.available2017-10-30T04:43:20Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55648-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractอาคารปฏิบัติการเคมี เป็นประเภทอาคารที่สำคัญในมหาวิทยาลัย สำหรับทำการวิจัยเพื่อการเรียนการสอน และการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ทางด้านวิทยาศาสตร์ หากแต่ในปัจจุบันยังขาดการเก็บข้อมูลพลังงานอย่างเป็นระบบ งานวิจัยนี้จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบการใช้พลังงานของอาคารปฏิบัติการเคมีในมหาวิทยาลัย โดยมีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นกรณีศึกษา เพื่อช่วยทำการประเมินประสิทธิภาพด้านการใช้พลังงานของอาคาร และช่วยกำหนดนโยบายเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในอาคารของมหาวิทยาลัย ในการศึกษาได้ทำการเก็บข้อมูลจากอาคารปฏิบัติการที่ประกอบด้วยห้องปฏิบัติการเคมี และชีวเคมี จำนวน 4 อาคาร เป็นข้อมูลรายชั้นจำนวน 46 ชั้น และข้อมูลค่ากำลังไฟฟ้าจากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ติดตั้งอยู่ในรายห้องจำนวน 51 ห้อง ผลของการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยของขนาดพื้นที่ใช้สอยรายชั้นเท่ากับ 1,357.60 m2 มีขนาดพื้นที่ปรับอากาศเฉลี่ย 793.78 m2 คิดเป็นพื้นที่ร้อยละ 61 และมีค่าดัชนีการใช้พลังงานต่อปีเฉลี่ย 133.86 kWh/m2/year โดยมีการกระจายตัวของค่าดัชนีการใช้พลังงาน (EUI) ในลักษณะเป็นเส้นโค้งลาดมาทางบวก มีค่ามัธยฐานเฉลี่ยเท่ากับ 89.63 kWh/m2/year ส่วนค่ากำลังไฟฟ้าของอุปกรณ์ไฟฟ้า (EPD) และค่ากำลังไฟฟ้าเพื่อการส่องสว่าง (LPD) ต่อพื้นที่รายห้อง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 214.54 Watt/m2 และ 12.90 Watt/m2 ตามลำดับ โดยในการวิเคราะห์ถดถอยเพื่อทำการหาสมการทำนายการใช้พลังงานรายชั้น ใช้ตัวแปรต้นเป็นขนาดพื้นที่ใช้สอย สมการที่ได้มีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (r2) เท่ากับ 0.27 (p<0.05) มีค่าความคลาดเคลื่อน RMSE และค่า CV(RMSE) เท่ากับ 0.37 และ 7.3% ตามลำดับ จากงานวิจัยนี้เสนอให้ทำการศึกษาเพิ่มเติมโดยการเพิ่มจำนวนรายชั้นที่ทำการศึกษา และทำการศึกษาอาคารปฏิบัติการที่ประกอบด้วยห้องปฏิบัติการรูปแบบอื่นเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบลักษณะการใช้พลังงานของห้องปฏิบัติการแต่ละรูปแบบภายในอาคารปฏิบัติการได้-
dc.description.abstractalternativeChemistry laboratory building is an important building type in university. These buildings are used in studying and extending scientific knowledge. However, energy use data in this type of building have not been systematically analyzed. The objective of this research is to compare energy useage of laboratory buildings using Chulalongkorn University as a case study. The goal is to evaluate building energy performance and to help establish the energy conservation policy for university building. This study collected energy use data per floor from 4 laboratory buildings with chemical and biochemical laboratories including energy consumption data from 46 floors, and power data of installed equipments from 51 rooms. The results should that average floor area was 1,367.60 m2 with average air-conditions area of 793.78 m2 (61% per floor). An average Energy Use Intensity (EUI) was 133.86 kWh/m2/year. Data analysis showed that Energy Use Intensity (EUI) was positively skewed and the median value of EUI was 89.63 kWh/m2/year. An average Equipment Power Density (EPD) and Lighting Power Density (LPD) per room were 214.54 Watt/m2 and 12.90 Watt/m2 respectively. The regression analysis showed that the gross floor area is the best predictor with coefficient of determination (r2) of 0.27 (p<0.05), RMSE value was 0.37 and CV(RMSE) was 7.3%. This research suggests that the future study should collect more data from other types of laboratory buildings in university for a better comparison of energy use in university laboratory buildings.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1145-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleการเปรียบเทียบการใช้พลังงานของอาคารปฏิบัติการเคมีในมหาวิทยาลัย: กรณีศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.title.alternativeCOMPARISON OF ENERGY USE IN UNIVERSITY CHEMISTRY LABORATORY BUILDING : A CASE STUDY OF CHULALONGKORN UNIVERSITY-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineสถาปัตยกรรม-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorVorapat.I@Chula.ac.th,vorapat.i@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.1145-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5873583725.pdf8.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.