Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55719
Title: ตัวชี้วัดความสามารถการใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงองค์กรในอุตสาหกรรมการโรงแรมและสายการบิน
Other Titles: Social Media Competence Indicators Relating to Organizational Reputation of Hospitality and Airline Industries
Authors: นันท์นภัส วงศ์อัมพรลาภ
Advisors: ธาตรี ใต้ฟ้าพูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Tatri.T@Chula.ac.th,tatri13@gmail.com
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาเกี่ยวกับแรงจูงใจการใช้สื่อสังคมออนไลน์ พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ และตัวชี้วัดความสามารถการใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงองค์กรในอุตสาหกรรมการโรงแรมและสายการบิน โดยศึกษาความแตกต่างด้านภูมิหลังทางประชากรและเปรียบเทียบลักษณะงานของบุคลากรของทั้งสองอุตสาหกรรมตามปัจจัยข้างต้น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ แบบวัดผลเพียงครั้งเดียว ด้วยเครื่องมือการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม กับกลุ่มตัวอย่างทั้งส่วนหน้า (front office) และส่วนหลัง (back office) ของโรงแรม 3 ดาว โรงแรม 5 ดาว สายการบินต้นทุนต่ำ และสายการบินเต็มรูปแบบ กลุ่มละ 100 คน รวมเป็น 400 คน พบว่าทุกกลุ่มมีระดับแรงจูงใจการใช้สื่อสังคมออนไลน์ปานกลาง และเกือบทุกกลุ่มมีระดับการแสดงพฤติกรรมเสี่ยงบนสื่อสังคมออนไลน์น้อยที่สุด ส่วนตัวชี้วัดความสามารถการใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงองค์กรในแต่ละด้าน อันได้แก่ 1. ด้านเทคนิค 2. ด้านการตระหนักถึงการมองเห็นของผู้อื่น 3. ด้านพื้นฐานความรู้ 4. ด้านการประเมินผลกระทบ และ 5. ด้านการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ พบว่า ทุกกลุ่มมีระดับความสามารถด้านที่ 1,2,3 และ 5 อยู่ในเกณฑ์สูง ยกเว้นบุคลากรส่วนหลังของโรงแรม 3 ดาว มีระดับความสามารถด้านที่ 1,2,3 และ 5 อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง และทุกกลุ่มมีระดับความสามารถด้านที่ 4 อยู่ในเกณฑ์ปานกลางเท่านั้น จากการศึกษาความแตกต่างด้านภูมิหลังทางประชากร พบว่ามีระดับแรงจูงใจการใช้สื่อสังคมออนไลน์ไม่ต่างกัน แต่มีระดับการแสดงพฤติกรรมเสี่ยงบนสื่อสังคมออนไลน์ต่างกันเมื่ออายุงานต่างกัน และมีระดับความสามารถการใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงองค์กรด้านเทคนิคต่างกันเมื่ออายุต่างกัน และเมื่อเปรียบเทียบลักษณะงานที่ต่างกัน พบว่าทุกกลุ่มมีระดับแรงจูงใจการใช้สื่อสังคมออนไลน์ไม่ต่างกัน แต่มีระดับการแสดงพฤติกรรมเสี่ยงบนสื่อสังคมออนไลน์ต่างกัน 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) บุคลากรส่วนหน้าของโรงแรมเสี่ยงมากกว่าส่วนหลัง 2) บุคลากรส่วนหน้าของสายการบินต้นทุนต่ำเสี่ยงมากกว่าส่วนหน้าของสายการบินเต็มรูปแบบ 3) บุคลากรส่วนหน้าของโรงแรม 5 ดาวเสี่ยงมากกว่าส่วนหน้าของสายการบินเต็มรูปแบบ และบุคลากรส่วนหลังของสายการบินต้นทุนต่ำมีระดับความสามารถในด้านที่ 2, 3 และ 5 ต่ำกว่าบุคลากรของสายการบินเต็มรูปแบบ
Other Abstract: The objectives of the research were to study hospitality and airline employees’ use and motives for using social media; and to gauge employees’ organizational-reputation-related social-media competence, including the frequency of risk behavior. In doing so, the research aimed to identify any demographic or occupational trends. The research was conducted by distributing questionnaires to 400 randomly selected subjects in both front office and back office in the hotel and airline industries. The target group was staff members who frequently use social media, specifically Facebook, Instagram or Twitter. The participants were categorized into four groups. There were 100 subjects in each group. The four groups were comprised of staff members at three-star hotels, five-star hotels, low-cost airlines and full-service airlines. Social-media competence was assessed in five categories: technical skills, visibility awareness, knowledge, social-media communication and impact assessment. The survey found that most staff members were highly competent in terms of technical skills, visibility awareness, knowledge, and social-media communication; however, back-office staff members in three-star hotels were rated moderate in those categories. The data showed negative correlations between duration of employment and frequency of risk behavior, and between age and technical skills. The impact-assessment competency was scored as moderate across all subject groups. In terms of motives for using social media, there was no significant difference among groups. Frequency of risk behavior was found to be low across all groups.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55719
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.403
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.403
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5884657328.pdf7.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.