Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55733
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สมพงษ์ ศิริโสภณศิลป์ | - |
dc.contributor.author | ธิดา ฉานแสงทอง | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2017-10-30T04:48:06Z | - |
dc.date.available | 2017-10-30T04:48:06Z | - |
dc.date.issued | 2559 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55733 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 | - |
dc.description.abstract | ในการบริหารสินค้าคงคลังทั่วไป บริษัทจะประเมินความต้องการสินค้าและกำหนดปริมาณการสั่งซื้อสินค้าเป็นรายชนิดไป แต่สำหรับสินค้าที่ทดแทนกันได้ ความต้องการของสินค้าจะมีความสัมพันธ์กัน หากสินค้าชนิดหนึ่งขาดมือจะทำให้สินค้าชนิดอื่นที่สามารถทดแทนสินค้านั้นได้มีปริมาณความต้องการเพิ่มขึ้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดปริมาณการสั่งซื้อสินค้าเพื่อรองรับปริมาณความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากการทดแทน ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ให้กับบริษัท โดยบริษัทกรณีศึกษาในงานวิจัยนี้เป็นบริษัทนำเข้าสินค้าประเภทเครื่องดื่ม สินค้าที่ศึกษาได้แก่ สินค้าประเภทกาแฟสำเร็จรูป 2 ชนิดที่สามารถทดแทนกันได้ ซึ่งเป็นสินค้าแบบเดียวกันแต่มีขนาดหีบห่อต่างกัน โดยการศึกษาวิจัยจะอาศัยข้อมูลยอดขายและสถานะสินค้าคงคลังของสินค้าในปี พ.ศ. 2556 ถึง 2559 งานวิจัยนี้อ้างอิงระเบียบวิธีในการประเมินปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสมของสินค้าที่ทดแทนกันได้จากงานวิจัยของ Huang, Zhou, and Zhao ในปี 2011 ระเบียบวิธีวิจัยเริ่มจากการประเมินระดับการทดแทนระหว่างสินค้า ซึ่งศึกษาจากการจำลองพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าของลูกค้าจากข้อมูลยอดขายและสถานะสินค้าคงคลังรายเดือน โดยอ้างอิงแบบจำลองในงานวิจัยของ Vulcano, Van Ryzin, and Ratliff ในปี 2012 การกำหนดปริมาณการสั่งซื้อสินค้าจะพิจารณาด้วยแบบจำลองระดับสินค้าคงคลังเป้าหมาย ภายใต้ระดับการบริการที่กำหนด ผลการศึกษาพบว่าเมื่อกำหนดปริมาณการสั่งซื้อสินค้าโดยพิจารณาการทดแทนของสินค้าจะทำให้ผลกำไรรวมสูงขึ้นและต้นทุนสินค้าขาดมือลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับกรณีไม่พิจารณาการทดแทนของสินค้า ทำให้บริษัทมีระดับการบริการที่ดีขึ้น ในขณะที่ต้นทุนรวมเพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่าผลกำไรที่เพิ่มขึ้นเกิดจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นนั้นสูงกว่าส่วนต่างต้นทุนรวมที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่า หากสินค้ามีระดับการทดแทนกันสูงขึ้น ผลกำไรก็มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น และต้นทุนสินค้าขาดมือก็มีแนวโน้มจะลดลงตามไปด้วย | - |
dc.description.abstractalternative | Normally, order quantities of different products will be considered independently. But in case of substitutable products, the demands are interrelated in a sense that a shortage in a particular product may increase the demand for its substitutable products. This study aims to determine optimal order quantities for substitutable products. The case company is an importer of beverage products and the case products include two substitutable coffee product items which are the same product type with different package sizes. The study is based on the sales and product availability data over the period 2013 to 2016. This study applies the methodology as proposed by Huang, Zhou, and Zhao in 2011 for determining optimal order quantities for substitutable products. The method begins with the estimation of degree of substitutability among the case products by developing customer behavior model making use of monthly sales transaction and product availability data as proposed by Vulcano, Van Ryzin, and Ratliff in 2012. The order quantities are determined under the order-up-to-level inventory policy with a given service level. The results indicate that our analysis that recognizes the substitutability of products yields higher profit, resulting from higher revenue more than offsetting the higher cost, and lower shortage cost, resulting in better service level, than the conventional method that treats these products independently. It is also found that the improvements over conventional method in terms of total profit and shortage cost likely increase with the degree of substitutability among the concerned products. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.137 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.title | ปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสมของสินค้าที่ทดแทนกันได้ | - |
dc.title.alternative | Optimal order quantities for substitutable products | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | Sompong.Si@chula.ac.th,Sompong.Si@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2016.137 | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5887152220.pdf | 3.65 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.