Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55743
Title: ผลกระทบของความสดของสีและลักษณะของพื้นผิวต่อการรับรู้ภาพลักษณ์ของร้านกาแฟ
Other Titles: EFFECTS OF COLOR SATURATION AND TEXTURE APPEARANCE ON PERCEPTION OF STORE IMAGE IN CAFE
Authors: ณิชาภัทร ทองนพคุณ
Advisors: วรภัทร์ อิงคโรจน์ฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Vorapat.I@Chula.ac.th,Vorapat.I@Chula.ac.th
Subjects: ร้านกาแฟ -- การออกแบบ
พื้นผิวในการตกแต่งภายใน
สีในการตกแต่งภายใน
Coffee shops -- Design
Texture in interior decoration
Color in interior decoration
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของความสดของสีและลักษณะของพื้นผิวต่อการรับรู้ภาพลักษณ์ของร้านกาแฟ โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 70 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มตัวอย่างอายุน้อยกว่า 30 ปี และกลุ่มตัวอย่างอายุมากกว่า 30 ปี ทำการประเมินภาพความจริงเสมือน (virtual reality image) ที่มีการปรับเปลี่ยนความสดของสีและลักษณะของพื้นผิวทั้งหมด 7 ภาพ ด้วยแบบสอบถามการรับรู้บรรยากาศและภาพลักษณ์ของร้าน 7 ด้าน ประกอบไปด้วยการรับรู้ด้านความพึงพอใจ ความสบายตา ความสว่าง ความดึงดูด ความน่าจดจำ ความหรูหรา และสไตล์ทันสมัย จากผลการวิจัยพบว่าความสดของสีส่งผลต่อการรับรู้บรรยากาศและภาพลักษณ์ของร้านในแต่ละด้านอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 โดยการตกแต่งภายในด้วยสีที่มีความสดน้อยกว่าทำให้การรับรู้ในด้านต่างๆ เพิ่มขึ้นในเชิงบวก การศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างความสดของสีและช่วงอายุพบว่ากลุ่มตัวอย่างอายุน้อยกว่า 30 ปีมีการรับรู้บรรยากาศด้านความพึงพอใจและความสบายตาสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างอายุมากกว่า 30 ปีในเชิงบวกเมื่อตกแต่งภายในด้วยสีที่มีความสดปานกลาง และมีการรับรู้น้อยกว่ากลุ่มอย่างอายุมากกว่า 30 ปีเมื่อความสดของสีมากขึ้น จากผลการวิจัยพบว่าลักษณะของพื้นผิวส่งผลต่อการรับรู้ด้านความสบายตา ความสว่าง ความหรูหรา และการรับรู้สไตล์ทันสมัยอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 โดยภาพที่ตกแต่งภายในด้วยพื้นผิวทาสีเรียบมีคะแนนการรับรู้ในแต่ละด้านสูงกว่าการตกแต่งภายในด้วยพื้นผิวไม้ และยังพบว่าเมื่อตกแต่งภายในด้วยไม้สีเข้ม กลุ่มตัวอย่างอายุน้อยกว่า 30 ปีมีคะแนนการรับรู้สูงกว่ากลุ่มตัวอย่างอายุมากกว่า 30 ปีในเชิงบวก ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงเสนอแนะว่าการเลือกใช้สีและพื้นผิวในร้านกาแฟควรคำนึงถึงช่วงอายุของลูกค้า ท้ายที่สุดงานวิจัยนี้มีข้อสรุปว่าการศึกษาเพิ่มเติมควรศึกษาผลกระทบของสีและลักษณะของพื้นผิวแบบอื่นเพื่อความเข้าใจในการออกแบบร้านกาแฟที่เหมาะสมยิ่งขึ้น
Other Abstract: The objective of this research was to study the effects of color saturation and texture appearance on the perception of store image in the cafe. In this research, a total 70 participants were divided into 2 groups: under 30-years-old group and over 30-years-old group. The participants were asked 7 virtual reality images with different color saturation and texture appearance on the questionnaire consisting of 7 store image and space perceptions (pleasant, comfortable, bright, attractive, notable, glamorous and modern style). The results revealed that color saturation significantly affects both the store image and space perceptions at the 0.05 level of significance. Lower color saturation interiors were more positively perceived. The study of the interaction between color saturation and age groups showed that under 30-year-old group has more positive perceptions of pleasantness and comfortableness in moderate color saturation interiors and less these perceptions than over 30-year-old group in higher color saturation interiors. The results showed that texture appearance significantly affects perceptions of comfortableness, brightness, glamorousness and perceived modern style at the 0.05 level of significance. Plain interior scene was preferred over wooden-texture interior. The results also showed that the under 30-year-old group perceived space with a dark wood texture more positively compared to the over 30-year-old group. According to the results, this research suggests that the age of customers should be considered when selecting color and texture of cafe. Finally, this research concludes that further study need to investigate the effect of other color and texture appearance for a better understanding of cafe design.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55743
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1177
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1177
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5973348725.pdf6.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.