Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55945
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกาญจนา นิมมานเหมินทร์-
dc.contributor.advisorธิติพันธ์ เชื้อบุญชัย-
dc.contributor.authorสุเมธ ศิริคุณโชติ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2017-11-16T09:45:35Z-
dc.date.available2017-11-16T09:45:35Z-
dc.date.issued2530-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55945-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530en_US
dc.description.abstractความมั่นคงทางสังคมเป็นสิทธิขั้นมูลฐานประชาชน และเป็นอุดมการณ์ที่แพร่หลายที่สุดอย่างหนึ่งของมวลมนุษยชาติ เป็นที่ยอมรับกันว่าการสร้างความมั่นคงทางสังคม เป็นภาระหน้าที่ที่สำคัญประการหนึ่งของรัฐบาล เพราะนั่นย่อมหมายความถึงความมั่นคงของรัฐบาลเองด้วย ระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นวิธีการสร้างความมั่นคงทางสังคมวิธีหนึ่ง ซึ่งมักใช้เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายในการสงเคราะห์คนชรา คนทุพพลภาพ และคนขาดไร้การอุปการะ ระบบนี้โดยเนื้อแท้แล้ว เป็นการบังคับให้มีการออมทรัพย์ โดยลูกจ้างและนายจ้างต่างจ่ายเงินเข้ากองทุนอย่างสม่ำเสมอ เงินจ่ายเข้ากองทุนบวกด้วยดอกผลที่เกิดขึ้น จะแยกเข้าบันทึกลงในบัญชีของลูกจ้างแต่ละคนและจะจ่ายให้แก่ลูกจ้างหรือทายาทของลูกจ้าง เมื่อมีเหตุการณ์ที่ระบุไว้เกิดขึ้น อย่างไรก็ดี รูปแบบของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในประเทศต่างๆ มีความหลากหลายแตกต่างกัน จนยากที่จะหาคำจำกัดความที่ยอมรับกันทั่วไป วิทยานิพนธ์นี้ ได้ทำการศึกษารูปแบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของประเทศต่างๆ ได้แก่ ประเทศกานา คิริบาติ เคนยา ชิลี ซามัวตะวันตก เซนต์วินเซนต์ เซนต์คริสโตเฟอร์เนวิส แซมเบีย แทนซาเนีย เนปาล ไนจีเรีย ปาปัวนิวกินี ฟิจิ มอนตเซอรัต มาเลเซีย สวาซิแลนด์ สิงคโปร์ ศรีลังกา หมู่เกาะโซโลมอน อินเดีย อินโดนีเซีย และอูกานดา รวม 22 ประเทศ และได้ศึกษาถึงสิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพประเทศสิงคโปร์และอินเดีย นอกจากนี้ยังได้ศึกษารูปแบบและสิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้ของกองทุนบำนาญเอกชนในประเทศสหรัฐอเมริกาด้วยเพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบว่า รูปแบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และสิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้ตามกฎหมายไทย มีความเหมาะสมหรือไม่เพียงใด และควรเป็นเช่นใดภายใต้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมในประเทศไทยดังเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ผลจากการศึกษาและวิเคราะห์เปรียบเทียบ ผู้เขียนพบว่า 1.รูปแบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในประเทศต่างๆ รวมทั้งกองทุนบำนาญในประเทศสหรัฐอเมริกาล้วนมีความมั่นคง และเป็นหลักประกันความมั่นคงทางสังคมของลูกจ้างได้ในระดับหนึ่ง โดยรัฐบาลประเทศส่วนใหญ่มักให้ประโยชน์เสริมอย่างอื่นแก่สมาชิกด้วย นอกจากนี้ยังมีการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้แก่นายจ้างและลูกจ้างอย่างมากด้วย เพื่อจูงใจและสร้างความสมัครใจ อนึ่ง แหล่งเงินออมภาคเอกชนนี้นอกจากสามารถสร้างความมั่นคงทางสังคมได้ในระดับหนึ่ง เป็นการบรรเทาภาระหน้าที่ของรัฐบาลในด้านนี้ให้ลดน้อยลงแล้ว รัฐบาลยังสามารถผันเงินก้อนนี้ไปใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโดยส่วนรวมได้อีกด้วย 2. รูปแบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายไทย ยังมีลักษณะไม่เหมาะสมหลายประการ คือมีลักษณะไม่มั่นคง มีลักษณะจำกัดผู้จัดตั้ง มีลักษณะเปิดโอกาสให้เลือกปฏิบัติต่อลูกจ้างและจำนวนเงินจ่ายจากกองทุนมีน้อยไม่เพียงพอ ซึ่งผู้เขียนเห็นว่า ควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงฉบับที่ 162 (พ.ศ.2526) หลายประการ รวมทั้งควรรีบออกกฎหมายพิเศษเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อรับรองความเป็นนิติบุคคลของกองทุน 3. สิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายไทยมีน้อยเกินไป ไม่จูงใจเท่าที่ควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษีเงินได้ที่เก็บจากลูกจ้างในกรณีได้รับเงินจ่ายจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้นในอัตราสูง และไม่เป็นธรรม ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าควรเพิ่มสิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้ให้มากขึ้นและที่สำคัญควรยกเว้นภาษีเงินได้ให้กับลูกจ้างในกรณีดังกล่าวen_US
dc.description.abstractalternativeSocial security is a basic right of the people and is one of the ideals of human society. It is generally accepted that promoting social security is one of the most important duties of the government, because it contributes to the security of the government itself. The Provident Fund System is a means of realizing social security. This system is aimed at providing for old-age benefits, benefits for the disabled and other benefits for the needy. The pure form of provident fund is based upon compulsory savings, by which both employers and employees pay regular contributions into a central fund and the contributions are credited to a separate account, to which interest is added periodically, for each employee. When certain circumstances as stipulated arise, it is then paid out to the employee or to the survivors. However, it is difficult to define the term “Provident Fund” because it tends to differ in various countries. This thesis is aimed at studying the characteristics of the Provident Fund of Ghana, Kiribati, Kenya, Chile, West Samoa, Saint Vincent, Saint Christopher Nevis, Zambia, Tanzania, Nepal, Nigeria, Papua New Guinea, Fiji, Montserat, Malaysia, Swaziland, Singapore, Srilanka, Solomon Islands, India, Indonesia and Uganda. It will also cover income tax incentives in Singapore and India, and those of the United States pension scheme. It will analyse and compare the features of the above with the Provident Funds and income tax incentives in Thailand. It will endeavour to find out suitable strategies for promoting income tax incentives for local Provident Funds that take into account the Thai economic and social background. After preliminary study and analysis the following observation may be offered: 1. Provident Funds in most countries including Pension Funds in the United States have proved to be reliable and ensure a level of social security for the employees. Most governments also give other benefit to the members of Provident Fund including income-tax incentives in many instances. Moreover, the money accumulated in these funds may be transferred to development projects in the economic and social fields. 2. The Provident Funds that exists in Thailand are hampered by certain unsuitable charact[e]rustics i.e. insecurity, limited number of operators, discrim[i]nation, and too small amount of money in the Funds. Therefore, it is submitted that Ministerial Regulations (No.162) B.E. 1983 be corrected and special legislation be enacted to confer the status of juristic person on the Provident Funds. 3. The income tax incentives permitted by the Thai Revenue Code are too low. In particular, the income tax collected from beneficiary is rather high. Therefor[e] it is proposed that income tax incentives be increased, e[s]pecially by exempting income tax for the beneficiary of Provident Funds.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectประกันสังคม -- ไทยen_US
dc.subjectกองทุนสำรองเลี้ยงชีพen_US
dc.subjectภาษีเงินได้ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับen_US
dc.subjectเงินสะสมen_US
dc.subjectมาตรการทางภาษีอากรen_US
dc.subjectSocial security -- Thailanden_US
dc.subjectProvident funden_US
dc.subjectEconomic security -- Thailanden_US
dc.subjectIncome tax -- Law and legislationen_US
dc.subjectTax incentivesen_US
dc.titleกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภาคเอกชนกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้ ตามประมวลรัษฎากรen_US
dc.title.alternativePrivate provident funds and income-tax incentives according to revenue codeen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisorTithiphan.C@chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sumet_si_front.pdf2.08 MBAdobe PDFView/Open
Sumet_si_ch1.pdf2.24 MBAdobe PDFView/Open
Sumet_si_ch2.pdf2.98 MBAdobe PDFView/Open
Sumet_si_ch3.pdf5.42 MBAdobe PDFView/Open
Sumet_si_ch4.pdf5.51 MBAdobe PDFView/Open
Sumet_si_ch5.pdf9.07 MBAdobe PDFView/Open
Sumet_si_ch6.pdf1.58 MBAdobe PDFView/Open
Sumet_si_back.pdf621.08 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.