Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56001
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorประธาน ดาบเพชร-
dc.contributor.advisorวัธนี พรรณเชษฐ์-
dc.contributor.authorศันสนีย์ กนกพัฒนางกูร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2017-11-20T09:42:06Z-
dc.date.available2017-11-20T09:42:06Z-
dc.date.issued2534-
dc.identifier.isbn9745793434-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56001-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (บช.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวความคิดและระเบียบวิธีการตรวจสอบการดำเนินงานของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ตลอดจนศึกษาถึงปัญหา สาเหตุ และแนวทางแก้ปัญหาในการปฏิบัติงานตรวจสอบ จากการศึกษาผลงานทางวิชาการ สรุปได้ว่า การประเมินผลการดำเนินงานมี 2 วิธี คือ วิธีประเมินโดยตรงและวิธีประเมินโดยอ้อม และจากการสำรวจและวิเคราะห์การตรวจสอบการดำเนินงานของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน พบว่า(1) แนวความคิดและระเบียบวิธีการตรวจสอบการดำเนินงานของกองและสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคต่างๆ ของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินมีความชัดเจนและเป็นแนวเดียวกัน กล่าวคือ ประเมินผลการดำเนินงานโดยใช้ทั้งวิธีประเมินโดยอ้อมและโดยตรง แต่เน้นการประเมินผลการดำเนินงานตามวิธีประเมินโดยอ้อม (2) ปัญหาและอุปสรรคในการประเมินผลการดำเนินงานตามวิธีประเมินโดยตรง คือ หน่วยรับตรวจส่วนมาก (2.1) ไม่ได้จัดทำต้นทุนมาตรฐานและไม่ได้หาต้นทุนจริงของการดำเนินการไว้ (2.2) ไม่ได้กำหนดผลได้เป้าหมายและไม่ได้รวบรวมข้อมูลผลได้จริงของการดำเนินงานไว้ จากข้อสรุปข้างต้นมีข้อเสนอแนะดังนี้ (1) หน่วยงานของรัฐควรจัดให้มีระบบการประเมินผลการดำเนินงานโดยใช้วิธีประเมินโดยตรง ทั้งนี้โดยกำหนดต้นทุนมาตรฐานที่เหมาะสม และกำหนดผลงานเป้าหมายและผลได้เป้าหมายที่วัดได้อย่างเหมาะสม และจะต้องคำนวณต้นทุนจริง รวบรวมข้อมูลผลงานจริงและผลได้จริงที่ถูกต้องด้วย (2) องค์กรที่มีอำนาจในการอนุมัติโครงการ ควรกำหนดเงื่อนไขในการอนุมัติโครงการว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานจะต้องจัดให้มีระบบการประเมินผลการดำเนินงานที่เหมาะสม (3) สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินควร (3.1) เข้ามีส่วนร่วมในการกำหนดและหรือพิจารณาความเหมาะสมของระบบการประเมินผลการดำเนินงาน ในขั้นการพิจารณาและอนุมัติโครงการ (3.2) พัฒนาแนวความคิดและระเบียบวิธีการตรวจสอบเพื่อให้มีการประเมินผลการดำเนินงานตามวิธีประเมินโดยตรงให้ครบทุกด้านที่ควรประเมิน ได้แก่ ด้านประสิทธิผล ประสิทธิภาพ ความประหยัด และหรือความคุ้มค่า (3.3) ควรประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานของรัฐเห็นความสำคัญของการประเมินผลการดำเนินงานตามวิธีประเมินโดยตรง (3.4) ปรับปรุงคู่มือการตรวจสอบให้ชัดเจนและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น (3.5) สนับสนุนและผลักดันให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการตรวจสอบภายในที่มีประสิทธิผลทั้งการตรวจสอบด้านการเงินและด้านการปฏิบัติงานen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of the thesis are to study the concepts and methodologies of performance audit by the Office of the Auditor General as well as problems encountered in conducting the audits and their causes including ways and means to problem solving. As a conclusion of the study of academic works, there are two performance evaluation approaches, i.e. direct and indirect evaluation approaches. The survey and analysis of performance audit by the Office of the Auditor General can be summarized as follows: (1) among divisions and regional offices within the Office of the Auditor General, concepts and methodologies of performance audit are clear and similar, i.e. either direct and indirect evaluation approaches are applied with the emphasis on indirect approach; (2) problems and abstacles encountered when the direct evaluation approach applied are: In most cases; (2.1) there are no standard cost nor actual cost data available for evaluation purpose; (2.2) there are no measurable target benefit nor actual benefit data available for evaluation purpose. In consequence of the above conclusions, the recommendations are: (1) public agencies should put into existence the performance evaluation system of direct evaluation approach, and make available for evaluations the appropriate standard costs measurable target outputs, and measurable target benefits as well as accurate data on actual costs, actual outputs and actual benefits; (2) bodies having authority to approve project proposals should stipulate a condition that the approval of a project proposal will not be made unless the executing agency has put into existence the appropriate performance evaluation system; (3) The Office of the Auditor General should;(3.1) at the stage of deliberating and approving project proposal, take part in establishing a performance evaluation system and/or reviewing the system already established by and agency;(3.2) develop concepts and methodologies of performance audit to include in an audit by direct evaluation approach all aspects that should be evaluated, i.e. effectiveness, efficiency, economy and/or worthwhileness ; (3.3) publicize to draw public agencies’ attentions to the significant of a performance evaluation by direct evaluation approach; (3.4) improve the performance audit manual to make it clearer and more complete; (3.5) support and influence the public agencies to establish and maintain effective internal financial and operation audits.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินen_US
dc.subjectสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน -- การบริหารen_US
dc.subjectสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน -- การประเมินen_US
dc.subjectการสอบบัญชี -- ไทยen_US
dc.subjectองค์การ -- การประเมินen_US
dc.subjectOrganization -- Evaluationen_US
dc.subjectOffice of the Auditor General of Thailanden_US
dc.subjectOffice of the Auditor General of Thailand -- Administrationen_US
dc.subjectOffice of the Auditor General of Thailand -- Evaluationen_US
dc.subjectAuditing -- Thailanden_US
dc.titleการตรวจสอบการดำเนินงานโดยสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินen_US
dc.title.alternativePerformance audit by the office of the auditor generalen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameบัญชีมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการบัญชีen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sansanee_gn_front.pdf731.4 kBAdobe PDFView/Open
Sansanee_gn_ch1.pdf711.12 kBAdobe PDFView/Open
Sansanee_gn_ch2.pdf3.03 MBAdobe PDFView/Open
Sansanee_gn_ch3.pdf1.74 MBAdobe PDFView/Open
Sansanee_gn_ch4.pdf3.07 MBAdobe PDFView/Open
Sansanee_gn_ch5.pdf921.29 kBAdobe PDFView/Open
Sansanee_gn_back.pdf2.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.