Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56002
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชาญวิทย์ โคธีรานุรักษ์-
dc.contributor.authorฟ้ารุ่ง สุขพิทักษ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2017-11-21T01:27:34Z-
dc.date.available2017-11-21T01:27:34Z-
dc.date.issued2540-
dc.identifier.isbn9746388479-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56002-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540en_US
dc.description.abstractภาวะความดันเลือดตอบสนองมากเกินปกติต่อการออกกำลังกายเป็นดัชนีบ่งชี้ถึงปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งต่อการเกิดโรคความดันเลือดสูง การทดสอบด้วยการออกกำลังกายแบบพลวัตดังเช่นการทดสอบสมรรถภาพแบบออสทรานอาจจะสามารถใช้ในการประเมินปัจจัยเสี่ยงนี้ได้ ความดันเลือดในกลุ่มตัวอย่าง เพศชาย สุขภาพแข็งแรง จำนวน 66 คน อายุ 30-40 ปี ถูกประเมินขณะทดสอบสมรรถภาพแบบออสทรานและขณะทดสอบด้วยการออกกำลังกายสูงสุด ภายหลังจากการทดสอบ ผลของความดันเลือดบ่งชี้ว่ากลุ่มตัวอย่างสามารถแยกตามเกณฑ์ความดันเลือดขณะพักและขณะออกกำลังกายได้สามกลุ่ม คือ กลุ่มปกติ 37 คน,กลุ่มเสี่ยง 15 คน, กลุ่มความดันเลือดสูง 14 คน และพบว่าการทดสอบสมรรถภาพแบบออสทรานสามารถกระตุ้นให้เกิดการเพิ่มขึ้นของความดันเลือดซิสโตลิกและไดแอสโตลิกในแนวโน้มเช่นเดียวกับที่พบในทดสอบด้วยการออกกำลังกายสูงสุด และความแตกต่างของความดันเลือดระหว่าง 3 กลุ่ม สามารถพบได้ ตั้งแต่นาทีแรกของการทดสอบค่าเฉลี่ย ±ความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของความดันเลือดซิสโตลิกและไดแอสโตลิกที่นาทีที่ 6 ของการทดสอบสมรรถภาพแบบออสทรานไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับค่าที่80% อัตราการเต้นหัวใจของการทดสอบด้วยการออกกำลังกายสูงสุด(p<0.05) โดยการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในชั้น(INTRACLASS CORRELATION COEFFICIENT: ρ[subscript I]) แสดงให้เห็นว่าความดันเลือดซิสโตลิกที่นาทีที่ 6 ของการทดสอบสมรรถภาพแบบออสทรานสามารถทดแทนในระดับดีมากกับค่าที่80%อัตราการเต้นหัวใจของการทดสอบด้วยการออกกำลังกายสูงสุด (ρ[subscript I] =0.9545) ขณะที่ความดันเลือดไดแอสโตลิกที่นาทีที่ 6 ของการทดสอบสมรรถภาพแบบออสทรานสามารถทดแทนในระดับดีกับค่าที่80%อัตราการเต้นหัวใจของการทดสอบด้วยการออกกำลังกายสูงสุด (ρ[subscript I] =0.6574) ดังนั้น การทดสอบสมรรถภาพแบบออสทรานสามารถใช้ประเมินความดันเลือดตอบสนองต่อการออกกำลังกายมากเกินปกติได้ โดยใช้ค่าความดันเลือดที่นาทีที่ 6 ของการทดสอบซึ่งมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 200/100 มม.ปรอทเป็นเกณฑ์ในการตัดสินen_US
dc.description.abstractalternativeExaggerated blood pressure response to exercise is an indicator for a risk of hypertension. The dynamic exercise test as Astrand-Rhyming bicycle ergometer test, may be used to evaluate this risk factor. In this investigation, blood pressure of 66 healthy men (30-40 years old) were examined during Astrand-Rhyming bicycle ergometer test and maximum exercise test. After the tests, the results of blood pressure indicated that the subject could be characterized into three groups by criteria of resting and exercise blood pressure. Those groups are normal group (n=37), risk group (n=15), hupertensive group (n=14). The results also showed that Astrand-Rhyming bicycle ergometer test can evoke the increase of systolic blood pressure (SBP) and dyastolic blood pressure (DBP) in the same tend as found during maximum exercise test. The significant difference of SBP and DBP among 3 groups could be determined at the first minute of Astrand-Rhyming bicycle ergometer test. Mean±SE of SBP and DBP at 6thminute of Astrand-Rhyming bicycle ergometer test showed no significant difference as compared to those values at 80%maximum heart rate of maximum exercise test (p<0.05). By Intraclass Correlation Coefficient (ρ[subscript I]) analysis, the results showed that SBP at 6thminute of Astrand-Rhyming bicycle ergometer test was the excellent reproducibility with SBP at 80%maximum heart rate of maximum exercise test (ρ[subscript I] =0.9545). Also DBP at 6thminute of Astrand-Rhyming bicycle ergometer test was the good reproducibility with SBP at 80%maximum heart rate of maximum exercise test (ρ[subscript I] =0.6574).Therefore, Astrand-Rhyming bicycle ergometer test could be used to evaluate exaggerated blood pressure response to exercise. And blood pressure, 200/100 mmHg. , at 6thminute of the test was recommended as a criteria cut point.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectความดันเลือดen_US
dc.subjectความดันเลือดสูง -- การวินิจฉัยen_US
dc.subjectความดันเลือดสูง -- ปัจจัยเสี่ยงen_US
dc.subjectBlood pressureen_US
dc.subjectHypertension -- Diagnosisen_US
dc.subjectHypertension -- Risk factorsen_US
dc.titleการตอบสนองความดันเลือดต่อการทดสอบสมรรถภาพแบบออสทราน : ความเป็นไปได้ในการทำนายภาวะความดันเลือดสูงen_US
dc.title.alternativeBlood pressure response to astrand-rhyming bicycle ergometer test : a potential hypertension predictoren_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineสรีรวิทยาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorkcharnvit@hotmail.com-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Faroong_su_front.pdf715.77 kBAdobe PDFView/Open
Faroong_su_ch1.pdf486.65 kBAdobe PDFView/Open
Faroong_su_ch2.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
Faroong_su_ch3.pdf642.68 kBAdobe PDFView/Open
Faroong_su_ch4.pdf1.69 MBAdobe PDFView/Open
Faroong_su_ch5.pdf14.58 MBAdobe PDFView/Open
Faroong_su_back.pdf443.64 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.