Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56046
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา-
dc.contributor.authorนริศรา เสือคล้าย-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-11-21T09:01:15Z-
dc.date.available2017-11-21T09:01:15Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56046-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาลักษณะและสภาพการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูระดับประถมศึกษา 2) เพื่อพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน และ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถทางการคิดของนักเรียน การวิจัยและพัฒนาใช้วิธีวิจัยผสมผสานระหว่างการสำรวจ พหุกรณีศึกษา และการทดลอง กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจ คือ ครูผู้สอนระดับประถมศึกษา จำนวน 80 คน พหุกรณีศึกษา คือ โรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลาง 2 แห่ง และกลุ่มตัวอย่างในการทดลอง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2 โรง รวมทั้งหมด 56 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 28 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นของครู แบบสังเกตและแบบสัมภาษณ์นักเรียนและครูในกรณีศึกษา และแบบวัดความสามารถทางการคิดและแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา สถิติภาคบรรยาย และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมตัวแปรพหุนาม (MANCOVA) ผลการวิจัย 1. ลักษณะของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูในปัจจุบันมีองค์ประกอบดังนี้ (1) จุดประสงค์การเรียนรู้มิได้เน้นการพัฒนาความสามารถทางการคิด (2) เนื้อหาที่เรียนเป็นไปตามหนังสือแบบเรียน (3) กิจกรรมการเรียนรู้ไม่เน้นการปฏิบัติจริงให้เกิดผลงานจริง (4) สื่อการเรียนการสอนมีลักษณะเป็นนามธรรม และ (5) การวัดและประเมินผล เน้นเพื่อตัดสินผลการเรียนโดยใช้แบบทดสอบ 2. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน มุ่งพัฒนาความสามารถทางการคิดของนักเรียน โดยให้ความสำคัญกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับธรรมชาติและความต้องการของผู้เรียน ลักษณะสำคัญของแผนมีดังนี้ (1) จุดประสงค์การเรียนรู้เน้นพัฒนาความสามารถทางการคิด (2) สาระการเรียนรู้สอดคล้องกับเนื้อหาหลักสูตร และความสนใจของผู้เรียน (3) กิจกรรมการเรียนรู้ เน้นกระบวนการกลุ่ม การปฏิบัติจริง การเชื่อมโยงกับชีวิตจริง โดยให้ความสำคัญกับการสร้างบรรยากาศที่เป็นมิตร และการสื่อสารเชิงบวก (4) สื่อการเรียนการสอน ใช้สื่อที่หลากหลายและสื่อของจริง และ (5) การวัดและประเมินผล เน้นการวัดและประเมินผลเพื่อปรับปรุงพัฒนานักเรียนอย่างต่อเนื่อง และให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน 3. ผลการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานพัฒนาความสามารถทางการคิดและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้มากกว่าการเรียนรู้จากแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ปกติen_US
dc.description.abstractalternativeThe research objectives were 1) to study characteristics and state of using learning activities plans of elementary school teachers, 2) to develop learning activities plans based on brain-based learning approach, and 3) to study effects of learning activities plans for developing thinking abilities of elementary school students. The research and development employed a mixed-method approach compiling with a survey, a multiple case study and an experiment. The survey samples were 80 elementary schools' teachers, the multiple case study was conducted in 2 middle sizes elementary schools, 56 fourth grade students were used in the experimental study. The research instruments were a teachers' questionnaire, field observation and interview guideline, a thinking abilities test and a science achievement test. The data analysis covered content analysis, descriptive statistic and a multivariate analysis of covariance. The research findings were: 1. The learning activities plans contained (1) learning objectives without emphasizing in thinking development, (2) content according to textbooks, (3) learning activities lacking of practice, (4) using abstract media, and (5) summative evaluation through achievement tests. 2. The learning activities plans based on brain-based learning approach emphasized in developing thinking abilities through learning activities responding to students' needs and nature. The important characteristics of the plans were (1) aiming at thinking development, (2) covering content according to the curriculum and students' interests, (3) promoting meaningful practice and group learning activities with positive atmosphere, (4) using various realife media, and (5) emphasizing formative evaluation and students' participation in evaluation. 3. The effects of using the brain-based activities plans indicated that the students' thinking scores and science achievement scores were higher than those in the control group.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.2192-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการเรียนรู้ (จิตวิทยา)en_US
dc.subjectสมองen_US
dc.subjectการสอน -- แง่จิตวิทยาen_US
dc.subjectความคิดและการคิดen_US
dc.subjectทักษะทางการคิดen_US
dc.subjectLearning, Psychology ofen_US
dc.subjectBrainen_US
dc.subjectTeaching -- Psychological aspectsen_US
dc.subjectThought and thinkingen_US
dc.subjectThinking skillen_US
dc.titleการวิจัยและพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาความสามารถทางการคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาen_US
dc.title.alternativeA research and development of thinking abilities of elementary school students through learning activities plans based on brain-based learning approachen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSiripaarn.S@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.2192-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
narissara_su_front.pdf1.58 MBAdobe PDFView/Open
narissara_su_ch1.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open
narissara_su_ch2.pdf5.61 MBAdobe PDFView/Open
narissara_su_ch3.pdf4.4 MBAdobe PDFView/Open
narissara_su_ch4.pdf4.07 MBAdobe PDFView/Open
narissara_su_ch5.pdf4.67 MBAdobe PDFView/Open
narissara_su_ch6.pdf1.88 MBAdobe PDFView/Open
narissara_su_ch7.pdf994.29 kBAdobe PDFView/Open
narissara_su_back.pdf16.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.