Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56392
Title: HEALTH RISK ASSESSMENT OF CARBONYL COMPOUNDS AND BTEX AMONG HIGHLY EXPOSURE WORKERS IN THE INNER CITY OF BANGKOK
Other Titles: การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีโอกาสรับสัมผัสสารประกอบคาร์บอนิลและบีเทคในปริมาณสูง บริเวณเขตเมืองชั้นในกรุงเทพมหานคร
Authors: Navaporn Kanjanasiranont
Advisors: Tassanee Prueksasit
Daisy Morknoy
Other author: Chulalongkorn University. Graduate School
Advisor's Email: Tassanee.C@Chula.ac.th,Tassanee.C@Chula.ac.th
deysimor@yahoo.com
Issue Date: 2015
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: BTEX and CCs (carbonyl compounds) were detected for the ambient air and personal exposure of five workers who worked in Pathumwan district, Bangkok, Thailand, a traffic intensive urban area in both summer and rainy seasons of the year 2012 to 2014. Health risk assessments of the outdoor workers at roadside area (street vendors, motorcycle taxi drivers and security guards), the outdoor workers at road intersection (traffic policeman), and the indoor workers were estimated. The results showed that the mean ambient air BTEX levels of street vendors, motorcycle taxi drivers, security guards, traffic policemen and indoor workers were 213.95±200.17, 172.42±188.26, 118.34±92.23, 2563.19±921.06 and 439.33±176.39 µg/m3, whereas, those of formaldehyde were 10.65±4.77, 14.19±10.72, 8.25±3.30, 17.44±8.20, 26.48±14.18 µg/m3, and 5.81±5.54, 5.70±3.21, 2.49±1.54, 43.13±35.06, 8.73±4.91µg/m3 for acetaldehyde. For personal exposure sample, traffic policemen were contained the highest concentrations of BTEX (1,990.59±942.30 µg/m3) and acetaldehyde (11.06±11.00 µg/m3), however, the indoor workers showed the greatest value of formaldehyde (23.31±12.41 µg/m3). For the health risk assessment, traffic policemen had the greatest total cancer-risk level of benzene, ethylbenzene, formaldehyde and acetaldehyde (2.64E-04 to 4.21E-04) followed by security guards (1.44E-05 to 3.72E-05), street vendors (8.77 E-06 to 2.52E-05), motorcycle taxi drivers (5.00E-06 to 2.13E-05), and indoor workers (8.49E-06 to 1.58E-05), respectively. For total non-cancer risk, the values of all workers were in an acceptable level. The scenario of risk reduction was expressed that the use of mask during the working time was the best way that can be decreased these toxic pollutants, however, total cancer risk level still greater than an acceptable value for security guards and traffic policemen. In view of risk perception and risk communication, knowledge (K) and attitude (A) questionnaires were conducted, and it was found that most workers were more understand and concerned on their health effect and tended to changed their practice to protect themselves from BTEX and CCs. For statistical analysis, the correlations between knowledge of air pollution of street vendors were affected on their attitude on air pollution. For health risk assessment part, the relationships between knowledge and attitude were found for motorcycle taxi drivers and traffic policemen. The associations between all parts of knowledge (air pollution, health risk assessment and practice) and attitude on practice were found for motorcycle taxi drivers, security guards and traffic policemen.
Other Abstract: การศึกษาตรวจวัดสารบีเทคและสารประกอบคาร์บอนิลในตัวอย่างอากาศที่ผู้ประกอบอาชีพห้าอาชีพรับสัมผัสและในอากาศ ณ บริเวณที่ปฏิบัติงานในเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการจราจรหนาแน่น โดยได้ดำเนินการในช่วงฤดูร้อนและฤดูฝนของปี พ.ศ.2555 ถึง 2557 พร้อมทั้งทำการประเมินความเสี่ยงของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทั้งห้าอาชีพ โดยแบ่งเป็น (1) กลุ่มอาชีพที่ทำงานบริเวณริมถนน ได้แก่ พ่อค้าแม่ค้า จักรยานยนต์รับจ้าง และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (2) กลุ่มอาชีพตำรวจจราจรที่ทำงานบริเวณแยกจราจร และ (3) กลุ่มเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ทำงานภายในอาคาร ผลการศึกษาพบว่า ระดับความเข้มข้นเฉลี่ยของสารบีเทคในอากาศ ณ บริเวณที่ปฏิบัติงานของพ่อค้าแม่ค้า จักรยานยนต์รับจ้าง เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ตำรวจจราจร และเจ้าหน้าที่สำนักงาน เท่ากับ 213.95±200.17, 172.42±188.26, 118.34±92.23, 2563.19±921.06 และ 439.33±176.39 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ สำหรับค่าความเข้มข้นของสารฟอร์มัลดีไฮด์และอะเซทัลดีไฮด์มีค่าเท่ากับ 10.65±4.77, 14.19±10.72, 8.25±3.30, 17.44±8.20, 26.48±14.18 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และ 5.81±5.54, 5.70±3.21, 2.49±1.54, 43.13±35.06, 8.73±4.91 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ จากการเปรียบเทียบพบว่า ตำรวจจราจรได้รับสัมผัสสารบีเทคและอะเซตัลดีไฮด์ในระดับสูงที่สุด (1,990.59±942.30, 11.06±11.00 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ส่วนเจ้าหน้าที่สำนักงาน ได้รับสารฟอร์มัลดีไฮด์ในระดับสูงที่สุด (23.31±12.41 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ผลการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพพบว่า ค่าความเสี่ยงรวมจากการรับสัมผัสสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งอันประกอบด้วยบีเทค เอธิลเบนซิน ฟอร์มัลดีไฮด์ และ อะเซทัลดีไฮด์ของตำรวจจราจร มีค่าอยู่ในระดับสูงที่สุด (2.64E-04 to 4.21E-04) รองลงมาได้แก่ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (1.44E-05 to 3.72E-05) พ่อค้าแม่ค้า (8.77 E-06 to 2.52E-05) จักรยานยนต์รับจ้าง (5.00E-06 to 2.13E-05) และเจ้าหน้าที่สำนักงาน (8.49E-06 to 1.58E-05) ตามลำดับ สำหรับค่าความเสี่ยงรวมต่อการเกิดโรคอื่นๆ ที่ไม่ก่อมะเร็งของผู้ปฏิบัติงานทั้งห้าอาชีพ มีค่าไม่เกินค่าที่ยอมรับได้ ผลการวิเคราะห์แนวทางในการลดค่าความเสี่ยงจากการรับสัมผัสสารมลพิษอากาศเหล่านี้ พบว่า การสวมใส่หน้ากากขณะปฏิบัติงานเป็นวิธีที่สามารถลดการสัมผัสของสารเหล่านี้ได้ดีที่สุด แม้ว่าจะไม่สามารถลดได้ถึงระดับค่าที่ยอมรับได้ในอาชีพตำรวจจราจรและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยก็ตาม จากการศึกษาการรับรู้ความเสี่ยงและการสื่อสารความเสี่ยง โดยใช้แบบสอบถามความรู้และทัศนคติ พบว่า กลุ่มผู้ประกอบอาชีพส่วนมากมีความเข้าใจและตระหนักต่อผลกระทบต่อสุขภาพมากขึ้นจากการให้ความรู้ผ่านการสื่อสารความเสี่ยง และมีแนวโน้มที่จะป้องกันตัวเองจากการรับสัมผัสสารบีเทคและสารประกอบคาร์บอนิล การประเมินผลการศึกษาทางสถิติพบว่า ในกลุ่มพ่อค้าแม่ค้า การได้รับความรู้เรื่องมลพิษอากาศส่งผลต่อทัศนคติด้านมลพิษอากาศ ส่วนความรู้เรื่องความเสี่ยงส่งผลต่อทัศนคติด้านความเสี่ยงเฉพาะในกลุ่มจักรยานยนต์รับจ้างและตำรวจจราจร และการได้รับความรู้โดยรวมทั้งด้านมลพิษอากาศ ความเสี่ยงและการปฏิบัติตน ส่งผลต่อทัศนคติด้านการปฏิบัติในกลุ่มจักรยานยนต์รับจ้าง และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย และตำรวจจราจร
Description: Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2015
Degree Name: Doctor of Philosophy
Degree Level: Doctoral Degree
Degree Discipline: Environmental Management
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56392
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5487851920.pdf10.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.