Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56399
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมใจ เพ็งปรีชา
dc.contributor.authorธีรพล บุญฤทธิ์
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2017-11-27T10:18:22Z-
dc.date.available2017-11-27T10:18:22Z-
dc.date.issued2558
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56399-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการทำไบโอดีเซลให้บริสุทธิ์ด้วยเบนโทไนต์บำบัดด้วยแคลเซียมคลอไรด์ โดยผลิตไบโอดีเซลจากกระบวนการทรานส์เอสเทอริฟิเคชัน โดยใช้อัตราส่วนโดยโมลของน้ำมันปาล์มต่อแอลกอฮอล์ เท่ากับ 1 ต่อ 6 และใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา 1 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก ที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส เป็นเวลานาน 2 ชั่วโมง เบนโทไนต์บำบัดด้วยแคลเซียมคลอไรด์ เตรียมได้จากการบำบัดเบนโทไนต์ด้วยสารละลายแคลเซียมคลอไรด์ที่ความเข้มข้น 1, 5, 10, 20 เปอร์เซ็นต์ และความเข้มข้นอิ่มตัว (60 เปอร์เซ็นต์) ใช้ความเร็วในการกวน 800 รอบต่อนาที ที่อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส เป็นเวลานาน 2.5 ชั่วโมง เอกลักษณ์ของเบนโทไนต์บำบัดด้วยแคลเซียมคลอไรด์ถูกพิสูจน์ทราบโดยใช้ เทคนิคการดูดซับไนโตรเจน (BET) เทคนิคการดูดกลืนรังสีในช่วงอินฟราเรด (FT-IR) เทคนิคการวิเคราะห์จุลภาคสัณฐานวิทยา (SEM) เทคนิคการเลี้ยวเบนของรังสีเอ็กซ์ (XRD) และเทคนิคเอกซเรย์ฟลูออเรสเซนซ์ (XRF) จากการศึกษาการดูดซับกลีเซอรีนออกจากไบโอดีเซลพบว่า สภาวะที่ดีที่สุดคือ การใช้ตัวดูดซับเบนโทไนต์บำบัดด้วยแคลเซียมคลอไรด์ความเข้มข้น 5 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณร้อยละ 10 โดยน้ำหนักไบโอดีเซล ที่มีขนาด 200 เมช ระยะเวลา 15 นาที ผลการศึกษาพบว่าสามารถกำจัดกลีเซอรีนได้สูงสุดถึงร้อยละ 67 ตัวดูดซับเบนโทไนต์บำบัดด้วยแคลเซียมคลอไรด์ความเข้มข้น 5 เปอร์เซ็นต์ มีไอโซเทอร์มของการดูดซับกลีเซอรีนสอดคล้องกับไอโซเทอร์มการดูดซับแบบแลงเมียร์ การทำไบโอดีเซลให้บริสุทธิ์ด้วยเบนโทไนต์บำบัดด้วยแคลเซียมคลอไรด์ความเข้มข้น 5 เปอร์เซ็นต์ สามารถลดปริมาณน้ำเสียจากกระบวนการล้างด้วยน้ำได้ถึง 43 เปอร์เซ็นต์ และให้คุณภาพไบโอดีเซลที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานไบโอดีเซลของประเทศไทย
dc.description.abstractalternativeThis research aims to study the purification of biodiesel by using calcium chloride treated bentonite. The biodiesel was produced by transesterification of palm oil and methanol (1:6 by mole ratio of oil to alcohol), using 1%wt of sodium hydroxide as a catalyst, at 70 oC for 2 hours. The bentonite was modified by various concentrations of calcium chloride solution at 1, 5, 10, 20% and saturated solution (60%) with mechanical stirring at 800 rpm, at 90 oC for 2.5 hours. Their structures, components, and functional groups were characterized by BET, FT-IR, SEM, XRD and XRF techniques. The highest adsorption performance was obtained by treating bentonite with 5% of calcium chloride solution. Up to 67% of glycerin in crude biodiesel could be removed by using 10%wt of adsorbent with 200 mesh size for 15 minutes. The results showed that the adsorption isotherm of calcium chloride treated bentonite adsorbent is fit with Langmuir model. Up to 43% of waste water can be reduced by using the optimum condition. The quality of biodiesel obtained from this research is met with Thai standard specification for biodiesel.
dc.language.isoth
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.titleการทำไบโอดีเซลให้บริสุทธิ์ด้วยเบนโทไนต์บำบัดด้วยแคลเซียมคลอไรด์
dc.title.alternativeBIODIESEL PURIFICATION WITH CALCIUM CHLORIDE TREATED BENTONITE
dc.typeThesis
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineปิโตรเคมีและวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisorsomchai.pe@chula.ac.th,spengprecha@hotmail.com,somchai.pe@chula.ac.th
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5572404623.pdf5.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.