Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56462
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกิตติศักดิ์ อัจฉริยะขจร-
dc.contributor.advisorชัยเดช อินทร์ชัยศรี-
dc.contributor.authorวันวิสาข์ วะชุม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-11-27T10:36:10Z-
dc.date.available2017-11-27T10:36:10Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56462-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการและรูปแบบต่างๆ ในการรักษาโรคเต้านมอักเสบแบบแสดงอาการด้วยยาปฏิชีวนะ และปัจจัยของตัวโคด้านต่างๆ ที่มีผลกับการหายของอาการเต้านมอักเสบแบบแสดงอาการโดยการใช้ยาปฏิชีวนะ โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน ส่วนของการศึกษาที่ 1 ศึกษาบันทึกข้อมูลย้อนหลังจำนวน 1,156 ข้อมูลเต้านมอักเสบจากโครีดนม 400 ตัว ระหว่างปี 2546-2557 ในฟาร์มโคนมขนาดใหญ่ โดยใช้ข้อมูลตัวโค เช่น อายุโค ลำดับที่ของการให้นม วันคลอด ข้อมูลปริมาณน้ำนม ได้แก่ ปริมาณน้ำนมรายวัน (milk yield) ปริมาณน้ำนมรายวันที่มากที่สุด (peak milk yield) วันที่ให้ปริมาณน้ำนมมากที่สุด (time of peak milk) และค่าปริมาณน้ำนม ณ วันต่างๆ ซึ่งได้จากการประมาณการจากวิธีคำนวณของ Wood (1967) และวิธีการรักษา ทำการเก็บข้อมูลในช่วงระยะเวลาการให้นม 305 วันรีดนม การหายของส่วนที่หนึ่งคือไม่มีประวัติการรักษาซ้ำในระยะเวลา 14 วันหลังการรักษาครั้งสุดท้าย การศึกษาส่วนที่ 2 ทำการเก็บตัวอย่างเต้านมที่เป็นเต้านมอักเสบแบบแสดงอาการก่อนและหลังการรักษาจำนวนทั้งสิ้น 124 ตัวอย่าง จากแม่โคที่เป็นเต้านมอักเสบ 112 ตัว ระหว่างธันวาคม 2558 ถึง กันยายน 2559 การหายของส่วนที่สองคือไม่พบเชื้อจุลินทรีย์หลังการรักษา นำข้อมูลแต่ละส่วนเข้าทำการวิเคราะห์โดย univariate logistic regression model มีเลขประจำตัวโค และลำดับที่ของการให้นมเป็นตัวแปรแบบสุ่ม (a random effect) ในสมการ จากนั้นนำเฉพาะปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการหายของเต้านมอักเสบแบบแสดงอาการจากการวิเคราะห์ครั้งแรกเข้า วิเคราะห์โดย multivariate logistic regression model มีเลขประจำตัวโค และลำดับที่ของการให้นมเป็นตัวแปรแบบสุ่ม (a random effect) ในสมการ พบว่าในส่วนของการศึกษาที่ 1 ชนิดของยาปฏิชีวนะแบบสอดเข้าเต้านมไม่มีผลกับการหาย มีเพียง 4 ปัจจัยที่มีผลกับการหายของเต้านมอักเสบแบบแสดงอาการ คือ ลำดับที่ของการให้นม จำนวนครั้งที่เคยเป็นเต้านมอักเสบ ปริมาณน้ำนมรายวัน 3 วันก่อนวันที่เป็นเต้านมอักเสบ และอัตราการเพิ่มขึ้นของปริมาณน้ำนมก่อนให้ปริมาณน้ำนมสูงสุด ลำดับที่การให้นมที่ 1 มีการหายมากกว่าลำดับที่การให้นมที่ ≥4 การเป็นเต้านมอักเสบครั้งแรกมีการหายมากกว่าการเป็นหลายครั้ง กลุ่มโคที่ให้ปริมาณน้ำนมรายวัน 3 วันก่อนวันที่เป็นเต้านมอักเสบมากมีการหายน้อยกว่ากลุ่มที่ให้น้ำนมน้อยกว่า และอัตราการเพิ่มขึ้นของปริมาณน้ำนมก่อนให้ปริมาณน้ำนมสูงสุด กลุ่มที่ให้อัตราการเพิ่มปริมาณน้อยมีการหายมากกว่ากลุ่มที่มีอัตราการเพิ่มปริมาณน้ำนมมาก ในส่วนของการศึกษาที่ 2 พบ 3 ปัจจัยที่มีผลกับการหายของเต้านมอักเสบแบบแสดงอาการ คือลักษณะน้ำนมที่ผิดปกติ สาเหตุของเชื้อที่เป็นเต้านมอักเสบ และรูปแบในการใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษา ซึ่งพบว่าลักษณะน้ำนมที่ผิดปกติแบบอื่นๆ มีการหายมากกว่าลักษณะน้ำนมที่เป็นตะกอน เชื้อ Streptococcus agalactiae ที่เป็นสาเหตุของเต้านมอักเสบที่มีการหายมากกว่าเชื้อจากสิ่งแวดล้อม และการใช้ปฏิชีวนะแบบสอดเข้าเต้านมร่วมกับการรักษากับแบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อมีการหายมากากว่าการใช้ยาปฏิชีวนะแบบสอดเข้าเต้านมเพียงอย่างเดียว แนวโน้มกับความสำเร็จของการรักษาเต้านมอักเสบไม่ได้ขึ้นอยู่กับการใช้ยาปฏิชีวนะที่ใช้ในการักษาเท่านั้น แต่ยังมีความเกี่ยวเนื่องกับปัจจัยของตัวโค เช่น ลำดับที่การให้นม ปริมาณน้ำนม และจำนวนครั้งที่เป็นเต้านมอักเสบ เป็นต้น-
dc.description.abstractalternativeThe objective is to evaluate the mastitis treatment protocols and cow factors in order to reveal the probability of a success of mastitis antibiotic treatment. First part, the investigation was performed using the mastitis record of 1,156 cases (400 cows) obtained from the database of the one large dairy farm during year 2003-2014. Cow’s records with age, lactation number, date of birth, the lactation curve characteristics of individual lactations were estimated by Wood (1967) using the test-day milk records from dairy farm (the lactation curve characteristics included milk yield, peak milk yield, time of peak milk yield and daily at x day of lactation) and treatment regimes. Historic mastitis treatment during 305 days in milking were included. The success of mastitis treatment cure is the cow has no recurrent during 14 days after case had been initially treated. Second part, we monitored 124 mastitis cases (112 cows) during December, 2015- September, 2016. The success of mastitis treatment is the negative bacteria culture after treatment. The univariate logistic regression model with cow ID as random effect was performed at the mastitis case level to evaluate the effect of cow factors and treatment regimes on the success of antibiotic treatment. Cow factors and the treatment regime were included in the model. Significant factor associated with clinical cure were further analyzed in multivariable logistic regression model. For 1st part, final model indicated that there was no significant difference in mastitis cure between two antibiotic treatment regimes. Four factors affected the cure of mastitis treatment including lactation number, ordering number of clinical mastitis in lactation, daily milk yield before onset of mastitis and slope to peak of lactation. The successful treatment of clinical mastitis cure was found more successful in the 1st lactation cow than in >4th lactation cow. In the same lactation of one cow, the first mastitis case in her lactation was easier to cure than a chronic case. A cow with a high daily milk yield before 3 day clinical onset was a high risk to fail in treatment. Also, cow with a low rate of slope to peak was easier to cure than a high rate of slope to peak. 2nd part, final model indicated that three cow factors affected the cure of mastitis treatment including character in milk of mastitis, bacteria culture of mastitis and method of treatment. The successful of clinical mastitis treatment is associated with the character with of milk secretion, Streptococcus agalactiae and treatment regime (intramammary and intramuscular). We concluded the success of clinical mastitis treatment depends on antibiotic treatment regime, cow factors such as lactation number, ordering number of mastitis in lactation and daily milk yield.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1279-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleการหายจากโรคเต้านมอักเสบแบบแสดงอาการในแม่โครีดนมที่รักษาด้วยยาปฏิชีวนะ-
dc.title.alternativeCLINICAL MASTITIS CURE IN LACTATION COW USING ANTIBIOTIC TREATMENT-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์สัตวแพทย์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorKittisak.A@Chula.ac.th,kittisak_cu@yahoo.com-
dc.email.advisorChaidate.I@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.1279-
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5575342931.pdf2.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.