Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56465
Title: ผลของการขัดเซรามิกด้วยวิธีขัดต่าง ๆ ต่อความหยาบพื้นผิวของเซรามิกชนิดแคดแคมบล็อก
Other Titles: EFFECT OF VARIOUS POLISHING TECHNIQUES ON SURFACE ROUGHNESS OF CAD/CAMCERAMIC BLOCKS
Authors: ปาลิน สัปปินันทน์
Advisors: ศิริวิมล ศรีสวัสดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Sirivimol.S@Chula.ac.th,sirivimol6415@gmail.com
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อเปรียบเทียบความเรียบผิวของแคดแคมเซรามิกบล็อก 3 ชนิด ได้แก่ วีต้ามาร์คทูบล็อก ไอพีเอส เอ็มเพรสแคดบล็อกและไอพีเอส อีแมกซ์แคดบล็อกชนิดละ 70 ชิ้น ที่ผ่านการขัดด้วยวิธีขัดต่าง ๆ เทียบกับการเคลือบทับ โดยนำเซรามิกทั้ง 3 ชนิดมาทำการกรอเลียนแบบผิวชิ้นงานให้ใกล้เคียงกับเซรามิกที่ผ่านการกลึงจากเครื่องซีเรคด้วยหัวกรอกากเพชรขนาด 50 ไมโครเมตร แล้วนำมาวัดค่าความความหยาบพื้นผิวเป็นค่าความหยาบพื้นผิวก่อนการขัด โดยใช้เครื่องโปรฟิลโลมิเตอร์ หลังจากนั้นแบ่งกลุ่มเซรามิก 70 ชิ้นตัวอย่างเป็น 7 กลุ่ม กลุ่มละ 10 ชิ้นตัวอย่าง กลุ่มที่ 1 และ 2 ขัดด้วยชุดหัวยางแอสโทรโพล กลุ่มที่ 3 และ 4 ขัดด้วยหัวขัดชนิดแผ่นพลาสติกเคลือบอลูมินัมออกไซด์ กลุ่มที่ 5 และ 6 ขัดด้วยชุดหัวขัดออปตร้าไฟน์โดยใช้จำนวนครั้งในการขัด 20 และ 40 ครั้งตามลำดับ และกลุ่มที่ 7 ทำการเคลือบทับ จากนั้นนำชิ้นงานมาวัดค่าความหยาบพื้นผิว นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสามทางและเปรียบเทียบเชิงซ้อนด้วยการทดสอบเชฟเฟที่ระดับความเชื่อมันร้อยละ 95 พบว่าในกลุ่มวีต้ามาร์คทูกลุ่มที่ผ่านการขัดด้วยชุดหัวขัดออปตร้าไฟน์ 20 และ 40 ครั้ง ชุดหัวยางแอสโทรโพล 40 ครั้ง และกลุ่มที่ขัดด้วยชุดหัวขัดชนิดแผ่นพลาสติกเคลือบอลูมินัมออกไซด์ 40 ครั้งมีความหยาบพื้นผิวไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติซึ่งมีความหยาบรองจากกลุ่มเคลือบทับ เซรามิกไอพีเอส เอ็มเพรสแคดพบว่ากลุ่มที่ขัดด้วยชุดหัวขัดออปตร้าไฟน์และกลุ่มที่ขัดด้วยหัวขัดชนิดแผ่นพลาสติกเคลือบอลูมินัมออกไซด์ทั้ง 20 และ 40 ครั้งมีความหยาบพื้นผิวไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติซึ่งมีความหยาบรองจากกลุ่มเคลือบทับ เซรามิกไอพีเอส อีแมกซ์แคดพบว่ากลุ่มที่ผ่านการขัดด้วยหัวขัดชนิดแผ่นพลาสติกเคลือบอลูมินัมออกไซด์ 40 ครั้งและกลุ่มที่ขัดด้วยหัวขัดออปตร้าไฟน์ 40 ครั้งมีค่าเฉลี่ยความหยาบพื้นผิวไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติซึ่งมีความหยาบรองจากกลุ่มเคลือบทับ สรุปผลการวิจัย วิธีการขัดและจำนวนครั้งในการขัดที่เหมาะสมกับเซรามิกแต่ละชนิดคือ กลุ่มวีต้ามาร์คทู การขัดด้วยหัวขัดออปตร้าไฟน์ หัวขัดแผ่นพลาสติกเคลือบอลูมินัมออกไซด์ หัวขัดยางแอสโทรโพล 40 ครั้ง และหัวขัดออปตร้าไฟน์ 20 ครั้ง กลุ่มไอพีเอส เอ็มเพรสแคดวิธีที่เหมาะสมในการขัดคือการขัดด้วยหัวขัดออปตร้าไฟน์และหัวขัดแผ่นพลาสติกเคลือบอลูมินัมออกไซด์ทั้ง 20 และ 40 ครั้ง ส่วนกลุ่มไอพีเอส อีแมกซ์แคดวิธีการขัดที่เหมาะสมคือการใช้แผ่นพลาสติกเคลือบอลูมินัมออกไซด์และหัวขัดออปตร้าไฟน์ 40 ครั้ง
Other Abstract: The aim of this study was to compare the effect of various polishing techniques and overglazing on the surface roughness of Vita Mark™II blocks (70 specimens) IPS Empress CAD™blocks (70 specimens) and IPS e.max CAD™blocks (70 specimens). First, all specimens were ground with 50 micron diamond burs to simulate surface derived from Cerec milling system. The surface roughness was measured with a profilometer. Seventy blocks of each type of ceramic were divided into 7 groups (10 blocks each). Groups 1 and 2 were polished with Astropol™, groups 3 and 4 with SofLex™disc, groups 5 and 6 with OptraFine™system for 20 and 40 strokes respectively. Group 7 was overglazed. The mean values of average surface roughness (Ra) were compared using 3-way ANOVA and Post Hoc Scheffe test (α=0.05). In Vita Mark™II groups, no significant difference in the mean surface roughness values was found between ceramic polished with OptraFine™system 20, 40 strokes, Astropol™ 40 strokes and SofLex™disc 40 strokes, which Ra were inferior to overglazed group. In IPS Empress CAD™groups, no significant difference in the mean surface roughness values was found between ceramic polished with OptraFine™system 20, 40 strokes, SofLex™disc 20, 40 strokes, which Ra were inferior to overglazed group. In IPS e.max CAD™group, no significant difference in the mean surface roughness values was found between ceramic polished with SofLex™disc 40 strokes and OptraFine™system 40 strokes, which Ra were inferior to overglazed group. From this study the proper polishing method for Vita Mark™II was to polish with OptraFine™ using 20, 40 strokes, SofLex™disc 40 strokes, Astropol™ 40 strokes, IPS Empress CAD™ with OptraFine™20, 40 strokes, SofLex™disc 20, 40 strokes, and IPS e.max CAD™ with SofLex™disc 40 strokes and OptraFine™system 40 strokes.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ทันตกรรมหัตถการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56465
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.375
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.375
Type: Thesis
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5675812632.pdf6.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.