Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56547
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนงลักษณ์ วิรัชชัย-
dc.contributor.advisorสุวิมล ว่องวาณิช-
dc.contributor.authorศิริเดช สุชีวะ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2017-12-17T05:55:28Z-
dc.date.available2017-12-17T05:55:28Z-
dc.date.issued2538-
dc.identifier.isbn9746316036-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56547-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิธีการวินิจฉัยสำหรับตรวจสอบมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์และเปรียบเทียบผลที่ได้จากการวินิจฉัยด้วยวิธีการที่พัฒนาขึ้นและวิธีการของทาทซูโอกะ วิธีการที่พัฒนาขึ้นนี้มีพื้นฐานมาจากแนวคิดการประเมินกฎ ซึ่งกล่าวว่าผู้สอบแต่ละคนมีกระบวนการคิดที่หลากหลายคำตอบที่ตรงกันอาจมาจากกระบวนการคิดที่เหมือนกันหรือต่างกันก็ได้ ดังนั้นการประเมินกฎจากแบบการตอบทั้งชุดของผู้สอบทำให้สามารถย้อนรอยกระบวนการคิดและวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนของผู้สอบได้ กระบวนการวินิจฉัยครั้งนี้มี 3 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนแรกเป็นการสำรวจแบบการคิดทั้งหมดที่เป็นไปได้ตามสังกัปของเนื้อหาที่ต้องการวินิจฉัย ขั้นตอนที่สองเป็นการสร้างข้อสอบจากรูปแบบข้อสอบทั้งหมดที่เป็นไปได้ให้แผนการตอบทั้งชุดสามารถย้อนรอยแบบการคิดของผู้สอบแต่ละคน และขั้นตอนที่สามเป็นการดำเนินการวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน ซึ่งมี 2 ขั้นตอนคือ การวินิจฉัยเชิงสำรวจแบบการคิดและการวินิจฉัยเพื่อยืนยันแบบการคิด จากการวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในการสอบวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่องการบวกเลขจำนวนเต็มลบของนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 940 คน พบว่าวิธีการที่พัฒนาขึ้นมีความคงที่ในการวินิจฉัยและมีความตรงเชิงเกณฑ์สัมพัทธ์เมื่อใช้ผลการวินิจฉัยของครูเป็นเกณฑ์ วิธีการที่พัฒนาขึ้นให้ผลการวินิจฉัยที่สอดคล้องกับวิธีการของทาทซูโอกะและลดข้อจำกัดของวิธีการของทาทซูโอกะเกี่ยวกับการจำแนกมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนซึ่งมีแบบแผนคะแนนการตอบเหมือนกันหรือมีแบบแผนคะแนนการตอบเป็นศูนย์หมดทุกข้อ นอกจากนี้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการวินิจฉัยตามวิธีการที่พัฒนาขึ้นใช้งานได้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้en_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to develop the diagnostic method for detecting mathematical misconceptions and to compare the diagnostic result from the developed method and Tatsuoka’s method. This developed method was based on the rule assessment approach which stated that each testee had various thinking processess, and that the same responses might be obtained from the same or different thinking processes. Therefore, the rule assessment of the whole set of testee’s responses would make possible the tracing back of thinking process and the diagnosis of the testee’s misconceptions. This diagnostic process consisted of 3 steps : the first one was the survey of all possible cognitive patterns in accordance with the concept of the content wanted to be diagnosed; the second one was the construction of all possible item forms and the test in such a way that the response pattern could be traced back to get the tastee’s cognitive pattern; the last one was the two-step diagnostic process : exploratory diagnosis and confirmatory diagnosis. From the diagnostic method for misconceptions in mathematics : the negative sign-number addition, of a sample of 940 Matayomsuksa 2 students, it was found that the diagnostic result of the developed method was stable and had criterion-related validity when the teachers’ diagnostic result were used as a criterion. This method provided diagnostic result consistenly with that of Tatsuoka’s, and was able to decrease the limitation of Tatsuoka’s method; i.e. –to discriminate misconceptions of the testees whose item-score response patterns were the same or all zero’s. In addition, the computer program written from this diagnostic method functioned as planned.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectความคิดรวบยอดen_US
dc.subjectคณิตศาสตร์en_US
dc.subjectConceptsen_US
dc.subjectMathematicsen_US
dc.titleการพัฒนาวิธีการวินิจฉัยสำหรับตรวจสอบมโนทัศน์ ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์en_US
dc.title.alternativeDevelopment of diagnostic method for detecting mathematical misconceptionsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorNonglak.W@chula.ac.th-
dc.email.advisorwsuwimon@chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Siridej_su_front.pdf721.81 kBAdobe PDFView/Open
Siridej_su_ch1.pdf969.07 kBAdobe PDFView/Open
Siridej_su_ch2.pdf2.34 MBAdobe PDFView/Open
Siridej_su_ch3.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open
Siridej_su_ch4.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open
Siridej_su_ch5.pdf1.56 MBAdobe PDFView/Open
Siridej_su_back.pdf4.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.