Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56591
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรวรรณ ศิริรัตน์พิริยะ-
dc.contributor.authorศิราณี ศิริสุโขดม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.coverage.spatialปทุมธานี-
dc.date.accessioned2017-12-20T08:43:25Z-
dc.date.available2017-12-20T08:43:25Z-
dc.date.issued2535-
dc.identifier.isbn9745814121-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56591-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535en_US
dc.description.abstractการกำจัดกากตะกอนจากการบำบัดน้ำเสียชุมชุนที่มีโลหะหนักปนเปื้อนโดยนำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร เพื่อศึกษาถึงชนิดพืชที่เหมาะสมและการปนเปื้อนของโลหะหนักในดิน โดยพิจารณาจากผลของการเติมกากตะกอนลงดินอัตรา 1,600 และ 3,200 กิโลกรัมต่อไร่ที่มีต่อการเติบโตและการสะสมโลหะหนัก (ตะกั่ว แคดเมียม นิเกิล ทองแดง มังกานีส สังกะสี และเหล็ก) ของพืชผักสี่ชนิดคือ ผักคะน้า ผักกาดหอม ผักกวางตุ้ง และผักบุ้งจีน รวมทั้งการตกค้างของโลหะหนักในดิน ดำเนินการทดลองในภาคสนามที่พื้นที่เกษตรกรรมจังหวัดปทุมธานี แผนการทดลองเป็นแบบ 2×4 factorial in–completely randomize ผลการทดลองพบว่า กากตะกอนที่เติมลงดินอัตรา 1,600 และ 3,200 กิโลกรัมต่อไร่ ส่งผลให้ได้รับผลผลิตผักคะน้าและผักบุ้งจีนเท่าเทียมกับการเติมปุ๋ยเคมีสูตร 25-7-7 อัตรา 96 กิโลกรัมต่อไร่ อัตราการเติมกากตะกอน 3,200 กิโลกรัมต่อไร่ มีผลทำให้ผลผลิตผักกวางตุ้งที่ได้รับสูงกว่าการเติมปุ๋ยเคมีและอัตราเติมกากตะกอน 1,600 กิโลกรัมต่อไร่ มีผลทำให้ได้รับผลผลิตผักกาดหอมต่ำกว่าการเติมปุ๋ยเคมีอย่างมีนัยสำคัญและเมื่อเติมกากตะกอนลงดินการสะสมโลหะหนักทั้ง 7 ชนิดของผักคะน้าและผักกวางตุ้งจะไม่แตกต่างกับตำรับทดลองอื่น ๆ แต่ผักกาดหอมจะสะสมทองแดงและเหล็กในส่วนใต้ดินเพิ่มขึ้น การเติมกากตะกอนอัตรา 3,200 กิโลกรัมต่อไร่ มีผลให้ส่วนเหนือดินของผักกาดหอมและส่วนใต้ดินของผักบุ้งจีนสะสมสังกะสีเพิ่มขึ้น ปริมาณโลหะหนักทั้ง 7 ชนิดที่สะสมในพืชผักทุกชนิดนี้ยังอยู่ในระดับที่มีในเนื้อเยื่อพืชทั่วไป และต่ำกว่าปริมาณที่ยอมรับให้ปนเปื้อนในอาหารและบริโภคได้สูงสุดในแต่ละวันของคณะกรรมการวิชาการร่วม FAO/WHO (Codex) นอกจากนี้โลหะหนักส่วนใหญ่ที่ตกค้างในดิน หลังจากเติมกากตะกอนคือ ตะกั่ว แคดเมียม ทองแดง และเหล็กมีปริมารไม่แตกต่างจากตำรับทดลองอื่น ๆ มีเพียงการตกค้างของนิเกิลในดินที่ปลูกผักกวางตุ้งและสังกะสีในดินที่ปลูกผักทั้ง 4 ชนิดที่ปริมาณเพิ่มขึ้น ส่วนการเพิ่มอัตราเติมกากตะกอนลงดินมีผลให้สังกะสีตกค้างในดินเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามปริมาณโลหะหนักตกค้างในดินทุกแปลงทดลองยังอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับให้มีได้ในดินเพื่อการเกษตรกรรมen_US
dc.description.abstractalternativeDisposal of sewage sludge, which contaminated with heavy metals, to agricultural area for consideration about suitable vegetable species and heavy metal contaminated in the soil. Effect of two sewage sludge application rates (1,600 and 3,200 kg/rai) on growth and heavy metals (Pb, Cd, Ni, Cu, Mn and Fe) accumulation in four vegetables (Chinese Kale, Lettuce, Edible Rape and Kang-Kong) included heavy metals residual in the soil were studied. Field experiment was carried out in an agricultural area at Pathum thani Province by using experimental design 2×4 factorial incompletely randomize. The results showed that applied sewage sludge 1,600 and 3,200 kg/rai gave Chiness Kale and Kang-Kong products equal to add fertilizer (25-7-7) 96 kg/rai. Only Edible Rape at the sewage sludge application rate 3,200 kg/rai gave production significantly higher than added fertilizer. On the other hand, added fetilizer gave Lettuce products higher than applied sewage sewage sludge 1,600 kg/rai. Sewage sludge application at both rate had no effect on accumulation of heavy metals in Chinese Kale and Edible Rape difference among treatments but there were resulted in increased Cu and Fe accumulation in the root system of Lettuce. Applied sewage sludge 3,200 kg/rai enabled the increasing of Zn accumulation in the shoot system of Lettuce and in the root system of Kang-Kong. All of heavy metals accumulated in four vegetables in this experiment were in the range that generally accumulated in plant tissue. The heavy metals content in the vegetables were within acceptable daily intake (ADI) of FAO/WHO. Residue effect of heavy metals after applied sewage sludge were (1) non significant difference among treatments on Pb, Cd, Cu and Fe contents in the soil (2) increased both Ni content in the soil that grew Edible Rape and Zn content in the soil that grew four vegetables. Moreover, Zn residual in the soil was increased following the increasing rate of sewage sludge application. However heavy metalsresidual in the soil were in the acceptable range for the agricultural soil.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectกากตะกอนน้ำเสียen_US
dc.subjectดิน -- ปริมาณโลหะหนักen_US
dc.subjectผัก -- ปริมาณโลหะหนักen_US
dc.subjectSewage sludgeen_US
dc.subjectSoils -- Heavy metal contenten_US
dc.subjectVegetables -- Heavy metal contenten_US
dc.titleผลของกากตะกอนจากการบำบัดน้ำเสียชุมชนต่อการเติบโต และการสะสมโลหะหนักในพืชผักบริเวณพื้นที่เกษตรกรรม จังหวัดปทุมธานีen_US
dc.title.alternativeEffect of sewage sludge on growth and heavy metal accumulation in vegetables from Pathum Thani agricultural areaen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา)en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorOrawan.Si@chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Siranee_si_front.pdf786.96 kBAdobe PDFView/Open
Siranee_si_ch1.pdf473.03 kBAdobe PDFView/Open
Siranee_si_ch2.pdf1.33 MBAdobe PDFView/Open
Siranee_si_ch3.pdf648.58 kBAdobe PDFView/Open
Siranee_si_ch4.pdf2.87 MBAdobe PDFView/Open
Siranee_si_ch5.pdf451.41 kBAdobe PDFView/Open
Siranee_si_back.pdf2.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.