Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56630
Title: ผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่ม ต่อการเพิ่มความเชื่อมั่นในตนเอง
Other Titles: Effects of group counseling on increasing self-confidence
Authors: สาระ สุขวราห์
Advisors: โสรีช์ โพธิแก้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Soree.P@Chula.ac.th
Subjects: การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม
ความเชื่อมั่นในตนเอง
Group counseling
Self-confidence
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มต่อการเพิ่มความเชื่อมั่นในตนเอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์ จำนวน 20 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 10 คน โดยที่กลุ่มตัวอย่างจะต้องผ่านการสอบแบบสอบถามความเชื่อมั่นในตนเองซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น ลักษณะของแบบสอบถามเป็นแบบวัดที่มีมาตรประเมินค่าเป็น 6 ระดับ กลุ่มทดลองต้องเข้าร่วมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มเป็นเวลา 3 วัน 3 คืน รวม 26 ชั่วโมง หลังจากผ่านการทดลองแล้วกลุ่มตัวอย่างจะต้องสอบแบบสอบถามความเชื่อมั่นในตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การคำนวณหาค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบระดับความมีนัยสำคัญโดยใช้การทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มทดลองมีคะแนนความเชื่อมั่นในตนเองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.01) 2) คะแนนความเชื่อมั่นในตนเองของกลุ่มทดลองในแต่ละด้านเพิ่มขึ้นหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.01) 3) กลุ่มทดลองที่ได้รับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่ม มีคะแนนความเชื่อมั่นในตนเองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.01) 4) กลุ่มควบคุมมีคะแนนความเชื่อมั่นในตนเองก่อนและหลังการทดลองไม่แตกต่างกัน
Other Abstract: The purpose of this research was to study the effect of group counseling on increasing self-confidence. The sample consisted of 20 volunteer first-year nursing students of Kuakarun College of Nursing. Ten students were randomly assigned to a control group and another ten to an experimental group. The students were pretested through a self-confidence questionnaire which was constructed by the researcher. The nature of Questionnaire was a rating scale of six intervals. The experimental group participated in group counseling for three days or about 26 hours in total. After the experiment the students were given the self-confidence as a post-test. Statistics used in data analysis consisted of arithmetic means. Standard deviations and the t-test. The finding are : 1) The experimental group significantly gained score on the self-confidence test following group counseling participation (P<.01) 2) The self-confidence scores of the experimental group in each aspect significantly increased after group counseling participation (P<.01) 3) The self-confidence scores of the experimental group were significantly higher than the control group (P<.01) 4) The pre-test and post test scores on the self-confidence test of the control group did not show any difference.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการปรึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56630
ISBN: 9745770531
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sara_su_front.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open
Sara_su_ch1.pdf4.06 MBAdobe PDFView/Open
Sara_su_ch2.pdf1.92 MBAdobe PDFView/Open
Sara_su_ch3.pdf982.4 kBAdobe PDFView/Open
Sara_su_ch4.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Sara_su_ch5.pdf906.43 kBAdobe PDFView/Open
Sara_su_back.pdf3.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.