Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5669
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปิยะมล อัลบูสทานี-
dc.contributor.advisorศุภบูรณ์ บุรณเวช-
dc.contributor.authorธีรชัย ลิมป์ลาวัณย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2008-01-30T04:40:59Z-
dc.date.available2008-01-30T04:40:59Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741714092-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5669-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากำลังแรงยึดแบบเฉือนระหว่างเซโรเมอร์ กับเรซิน คอมโพสิตภายหลังจากการปรับปรุงพื้นผิวในรูปแบบต่างๆ 3 ประเภท คือ การเป่าทราย การใช้กรดกัดพื้นผิวและการเคลือบพื้นผิว และทดสอบการให้ความร้อนภายหลังการยึดด้วยเรซิน คอมโพสิต โดยเตรียม Targis รูปดิสก์ (ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 9 มิลลิเมตร หนา 2 มิลลิเมตร) จำนวน 110 ชิ้น ในตอนที่ 1 ศึกษาการปรับปรุงพื้นผิวในรูปแบบต่างๆ โดยแบ่ง 8 กลุ่ม กลุ่มละ 10 ชิ้น ทำการปรับปรุงพื้นผิว 4 แบบ คือ แบบที่ 1) เป่าทรายด้วยผงอะลูมิเนียม อ็อกไซด์ ขนาดอนุภาค 50 ไมครอน แบบที่ 2) เป่าทรายและกรดฟอสฟอริกร้อยละ 37 โดยน้ำหนัก แบบที่ 3) เป่าทรายและสารซีเลน และแบบที่ 4) เป่าทราย กรดฟอสฟอริกร้อยละ 37 โดยน้ำหนักและสารซีเลน จากนั้นทำการยึดด้วยเรซิน คอมโพสิต โดยที่กลุ่มที่ 1-4 ทำการยึดด้วย Z 250 ในขณะที่กลุ่มที่ 5-8 ทำการยึดด้วย Tetric Ceram จากนั้นทดสอบกำลังแรงยึดแบบเฉือนด้วยเครื่องลอยด์ อินสตรูเมนต์ ความเร็วของหัวทดสอบ 0.75 มิลลิเมตรต่อนาที นำข้อมูลมาทดสอบทางสถิติด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว แล้วทำการเปรียบเทียบเชิงซ้อนแบบทูกีย์ โดยได้ผลการทดลองดังนี้คือ กลุ่มที่ 3 มีค่าเฉลี่ยของกำลังแรงยึดแบบเฉือนมากที่สุด คือ 6.7 +- 1.3 เมกะปาสคาล โดยที่กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ 3 และกลุ่มที่ 4 มีค่าเฉลี่ยของกำลังแรงยึดแบบเฉือนไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ตอนที่ 2 ศึกษาผลของกำลังแรงยึดแบบเฉือนเมื่อบ่มด้วยความร้อน โดยสุ่มตัวอย่าง 30 ชิ้น และแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม (กลุ่มที่ 9-11) ทุกกลุ่มทำการปรับปรุงพื้นผิวและยึดด้วยเรซิน คอมโพสิตเหมือนกับกลุ่มที่ 3 จากนั้นบ่มด้วยความร้อนที่อุณหภูมิต่างๆกันเป็นเวลา 2 นาที คือ 41 46 และ 60 องศาเซลเซียสตามลำดับ ทำการทดสอบและวิเคราะห์ทางสถิติเหมือนตอนที่ 1 โดยได้ผลการทดลองดังนี้คือ กลุ่มที่ 11 มีค่าเฉลี่ยของกำลังแรงยึดแบบเฉือนมากที่สุด คือ 11.26 + 1.8 เมกะปาสคาล กลุ่มที่ 9 กลุ่มที่ 10 และกลุ่มที่ 11 มีค่าเฉลี่ยของกำลังแรงยึดแบบเฉือนแตกต่างกับกลุ่มที่ 3 ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 การวิจัยนี้มีข้อแนะนำในการยึด Targis ว่าการปรับสภาพผิวด้วยการเป่าทรายและการทาสารซีเลน เป็นวิธีการที่เหมาะสมและให้ประสิทธิภาพดีที่สุด และเมื่อเพิ่มการบ่มด้วยความร้อนที่อุณหภูมิคงที่ 41 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 2 นาที ภายหลังจากการยึดจะทำให้ค่าเฉลี่ยของกำลังแรงยึดแบบเฉือนเพิ่มขึ้นen
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to evaluate the shear bond strength (SBS) between Ceromer and resin composite after surface treatments. Generally, these included sandblasting, acid etching and surface coating. Additional heat-cure was applied after bonding. 110 Targis discs (9 mm. in diameter and 2 mm. in thickness) were fabricated. In part I, 8 groups (10 discs/group) were subjected for 4 types of surface treatment : type 1) sandblasting with aluminium oxide particle 50 microns, type 2) sandblasting and 37% phosphoric acid etching, type 3) sandblasting and silane coupling agent application and type 4) sandblasting, 37% phosphoric acid etching and silane coupling agent application. Then, discs were bonded with light-cured resin composite. Group 1 to 4 were bonded with Z 250 while group 5 to 8 were bonded with Tetric Ceram. SBS was evaluated using Lloyd testing instrument (crosshead speed of 0.75 mm./min.) ANOVA and Tukey's statistical analyses were performed. Group 3 had a maximum value in SBS (6.7 + 1.3 Mpa). Group 1,3 and 4 showed no significant difference (p<0.05) in SBS. In part II, 30 Targis discs were devided into 3 groups (Gr 9-11). They were surface treated and bonded as in group 3. Additionally, these were treated by heat-cure for 2 minutes. The tested temperature were 41, 46 and 60 degree Celsius, respectively. Statistical analysis was performed as in part I. Group 11 had shown maximum value in SBS(11.26 + 1.8 Mpa). The values of group 9, 10 and 11 are significantly different from group 3 (p<0.05). These results indicated that sandblasting together with silane coupling agent application was suitable and effective for Targis bond surface treatment, whereas additional heat-cured treatment at 41 degree Celsius for 2 minutes could increase SBS after bonding.en
dc.format.extent1283737 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2002.584-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเรซินอะคริลิกทางทันตกรรมen
dc.subjectทันตวัสดุen
dc.titleกำลังแรงยึดแบบเฉือนระหว่างเซโรเมอร์กับวัสดุบูรณะฟันเรซิน คอมโพสิตภายหลังการปรับปรุงพื้นผิวด้วยวิธีต่างๆ และเพิ่มการบ่มตัวด้วยความร้อนen
dc.title.alternativeShear bond strength between ceromer and resin composite after various surface treatments and additional heat treatmenten
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineทันตกรรมประดิษฐ์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2002.584-
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Teerachai.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.