Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56759
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุวิมล ว่องวาณิช-
dc.contributor.authorพนิดา มารุ่งเรือง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-01-11T04:19:53Z-
dc.date.available2018-01-11T04:19:53Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56759-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา 1) ระดับการร่วมมือรวมพลังของครอบครัวในการจัดการศึกษาสำหรับผู้เรียนที่อยู่ในช่วงชั้นที่ต่างกัน 2) ความต้องการจำเป็นของการร่วมมือรวมพลังของครอบครัวในการจัดการศึกษาสำหรับผู้เรียนที่อยู่ในช่วงชั้นที่ต่างกัน 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการจำเป็นของการร่วมมือรวมพลังของครอบครัวในการจัดการศึกษา และ 4) แนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาความต้องการจำเป็นของการร่วมมือรวมพลังของครอบครัวในการจัดการศึกษา การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการสำรวจและการสนทนากลุ่มในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการวิจัยเชิงสำรวจใช้กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้ปกครองนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 440 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามการร่วมมือรวมพลังของครอบครัวในการจัดการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทำตาราง 2 มิติ (cross-tabulation) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA) การวิเคราะห์ลิสเรล (LISREL analysis) และใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index (PNI[subscript Modified] ในการจัดลำดับความสำคัญสำหรับการสนทนากลุ่ม เก็บข้อมูลโดยใช้การจัดสนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญและผู้ปกครอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ครอบครัวมีระดับการร่วมมือรวมพลังในด้านการตัดสินใจสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านการเรียนรู้ที่บ้าน ด้านการอบรมเลี้ยงดู ด้านการร่วมมือรวมพลังกับชุมชน และด้านการอาสาสมัคร ตามลำดับ โดยผู้ปกครองของนักเรียนในช่วงชั้นที่ 4 มีระดับการร่วมมือรวมพลังสูงที่สุด รองลงมาคือ ผู้ปกครองของนักเรียนในช่วงชั้นที่ 3, 1 และ 2 ตามลำดับ ซึ่งการร่วมมือรวมพลังด้านการอาสาสมัครมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้ปกครองของนักเรียนในช่วงชั้นที่ 1 มีค่าเฉลี่ยของการร่วมมือรวมพลังด้านการอาสาสมัครต่ำกว่าผู้ปกครองของนักเรียนในช่วงชั้นที่ 3 และ 4 2) ผู้ปกครองของนักเรียนในทุกช่วงชั้นมีความต้องการจำเป็นด้านการอาสาสมัครมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการร่วมมือรวมพลังกับชุมชน 3) ปัจจัยที่ส่งผลทางลบต่อความต้องการจำเป็นของการร่วมมือรวมพลังของครอบครัวในการจัดการศึกษามี 2 ปัจจัยหลักคือ ปัจจัยด้านครอบครัวและปัจจัยด้านโรงเรียน โดยปัจจัยด้านครอบครัว ประกอบด้วย สภาพปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัว ผู้ปกครองมีระดับการศึกษาต่ำ การขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทของผู้ปกครอง และการขาดความตระหนักถึงความสำคัญของการร่วมมือรวมพลังของครอบครัวในการจัดการศึกษา ส่วนปัจจัยด้านโรงเรียน ประกอบด้วย การขาดประสิทธิภาพในการติดต่อสื่อสาร พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของครู และการขาดการประเมินและติดตามผลการดำเนินงาน 4) โมเดลเชิงสาเหตุความต้องการจำเป็นของการร่วมมือรวมพลังของครอบครัวในการจัดการศึกษามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยให้ค่าไค-สแควร์=28.26, องศาอิสระ=49, p=0.992, GFI=0.99, AGFI=0.98 และ RMR=0.022 และสามารถอธิบายความแปรปรวนของความต้องการจำเป็นของการร่วมมือรวมพลังของครอบครัวในการจัดการศึกษาได้ร้อยละ 7 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการจำเป็นของการร่วมมือรวมพลังของครอบครัวในการจัดการศึกษามากที่สุด คือ ช่วงชั้นของผู้เรียนรองลงมาคือ ภูมิหลังของผู้ปกครอง ประกอบด้วยตัวแปรเพศ อายุ ความสัมพันธ์กับนักเรียน สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา และรายได้ครอบครัว 5) แนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาความต้องการจำเป็นของการร่วมมือรวมพลังของครอบครัวในการจัดการศึกษาพบว่า มีความหลากหลายและมีความแตกต่างกันตามรูปแบบของการร่วมมือรวมพลังen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research were to study 1) the level of family collaboration in educational management for learners at different key stages 2) needs of family collaboration in educational management for learners at different key stages 3) the factors affecting needs of family collaboration in educational management and 4) the appropriate solutions to the problems of needs of family collaboration in educational management. This research used survey and focus group method to collect data. According to survey method, the samples were 440 parents of schools in the Office of the Foundational Education Commission in Bangkok. The research instrument was family collaboration in educational management questionnaire. Data were analyzed by frequencies, percentage, mean, standard deviation, cross-tabulation, one-way ANOVA, LISREL analysis and setting priority in term of needs using Modified Priority Needs Index (PNI[subscript Modified]). The focus group with experts and parents, the data were analyzed by content analysis. The research findings were summarized as follows: 1) Families had the level of collaboration on decision-making in the highest degree. The level of collaboration on communicating was next in descending order, then on learning at home, parenting, collaborating with the community, and volunteering. In descending order, parents of the students in the fourth stage had the highest level of collaboration, then parents of the students in the third stage, and then the first stage, and finally the second stage. There was different significance of collaboration on volunteering among the stages of the students that the level of statistical significance was 0.5. An average of collaboration on volunteering from parents of the students in the first stage was lower than from parents of the students in the third and fourth stage. 2) The parents of the students in every stage had needs of volunteering in the highest degree. The needs of collaboration with the community were next in order. 3) There were two main factors that negatively influenced on needs of collaboration: the factor concerning families and the factor concerning schools. The factor with regard to families consisted of the economical and societal problem of families. Parents had low education. Besides, understanding on parent’ role and realizing about the important of family collaboration in educational management were lacking. On the other, the factor relating to schools consisted of a lack of efficiency in communication, teachers’ improper behaviors, and a lack of evaluating and pursuing the results of the administration. 4) The causal model of needs of family collaboration in educational management was consisted with the empirical data. Indicated by the Chi-square=19.37, df=40, P=0.997, GFI=0.99, AGFI=0.98 and RMR=0.022. The model accounted for 7% of variance in needs of family collaboration in educational management. The most influential factor effecting needs of family collaboration was learners’ stages. Parents’ backgrounds were next. These consisted of the following variables: gender, age, relationship with students, marital status, educational level, and families’ incomes. 5) The appropriate solutions to the problems of needs of family collaboration in educational management, it was found that there were various ways depending on the forms of collaboration.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.480-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการประเมินความต้องการจำเป็นen_US
dc.subjectการศึกษา -- การมีส่วนร่วมของบิดามารดาen_US
dc.subjectการจัดการศึกษาโดยครอบครัวen_US
dc.subjectNeeds assessmenten_US
dc.subjectEducation -- Parent participationen_US
dc.subjectHome schoolingen_US
dc.titleการวิจัยประเมินความต้องการจำเป็นเชิงเปรียบเทียบการร่วมมือรวมพลังของครอบครัวในการจัดการศึกษาสำหรับผู้เรียนที่อยู่ในช่วงชั้นต่างกันen_US
dc.title.alternativeComparative needs assessment research of family collaboration in educational management for learners at different key stagesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorwsuwimon@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.480-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
panida_ma_front.pdf1.43 MBAdobe PDFView/Open
panida_ma_ch1.pdf964.54 kBAdobe PDFView/Open
panida_ma_ch2.pdf4.64 MBAdobe PDFView/Open
panida_ma_ch3.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
panida_ma_ch4.pdf7.24 MBAdobe PDFView/Open
panida_ma_ch5.pdf1.53 MBAdobe PDFView/Open
panida_ma_back.pdf5.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.