Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56769
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรวรรณ ศิริรัตน์พิริยะ-
dc.contributor.advisorสุธน ช่วยเกิด-
dc.contributor.authorสัตตะพงศ์ ชอบกตัญญู-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.coverage.spatialสุราษฎร์ธานี-
dc.date.accessioned2018-01-11T09:03:31Z-
dc.date.available2018-01-11T09:03:31Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56769-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en_US
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยการทดแทนปุ๋ยด้วยกากตะกอนน้ำเสียและกากขี้แป้งเพื่อการเพาะชำยางชำถุงเป็นการศึกษาความเป็นประโยขน์และศักยภาพการทดแทนปุ๋ยด้วยกากตะกอนน้ำเสียและกากขี้แป้งในการเพาะชำและการเติบโตของต้นยางชำถุง วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design ทำ 5 ซ้ำหนึ่งหน่วยทดลองคือ ถุงเพาะชำขนาด 11.5X35 ซม. วัสดุที่ใช้เพื่อเพาะชำต้นยางชำถุง คือ ดินผสมวัสดุปรับปรุงดิน (กากขี้แป้ง กากตะกอนน้ำเสีย ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี) ในอัตรา 3:1 โดยปริมาร มีทั้งหมด 8 ตำรับทดลอง ดำเนินการทดลองในโรงเรือนเพาะชำ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน พ.ศ. 2551 ที่ตำบลไทรขึง อำเภอพระแสง จุงหวัดสุราษฎร์ธานี โดยใช้วิธีติดตาเขียวต้นตอยาง พันธุ์ PRIM 600 ผลการศึกษาพบว่ากากตะกอนน้ำเสียและกากขี้แป้งสามารถทดแทนปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ได้อย่างเท่าเทียมหรือดีกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่งผลให้มีปริมาณอินทรียวัตถุ ธาตุอาหารหลัก (N, P, K) และธาตุอาหารลอง (Mg) ในดินเพาะชำยางชำถุงเพียงพอต่อการเติบโตของต้นยางชำถุงเมื่อพิจารณาจากความสูง เส้นผ่านศูนย์กลาง รัศมีเรือนยอด และน้ำหนักแห้งของราก อีกทั้งยังไม่จำเป็นต้องเติมปุ๋ยฟอสเฟตเป็นปุ๋นรองก้นหลุม (อัตรา 170 กรัม/หลุม) เมื่อนำต้นยางชำถุงปลูกลงหลุม ตลอดจนไม่มีความกังวลใจเรื่องปริมาณโบหะหนัก (Cu, Mn, Fe, Zn, Cd, Pb และ Ni) ที่ปนเปื้อนในดินเพาะชำต้นยางชำถุง เนื่องจากปริมาณโลหะหนักที่ตรวจวัดได้มีค่าอยู่ในมาตรฐานตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่องกำหนดมาตรฐานคุ้มครองคุณภาพดินที่ใช้ประโยชน์เพื่อการอยู่อาศัยและเกษตรกรรมประกอบกับการใช้กาก ตะกอนน้ำเสียและกากขี้แป้งเป็นวัสดุปรับปรุงดินในการเพาะชำต้นยางชำถุงนั้นมีต้นทุนต่ำกว่าการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีประมาณ 8 เท่า ซึ่งต่าใช้จ่ายในการปลูกสร้างสวนยางเป็น ค่าปุ๋ยประมาณ 40% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด กล่าวโดยสรุปคือ กากตะกอนน้ำเสียและกากขี้แป้งสามารถทดแทนปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ในการเพาะชำต้นยางชำถุง จึงสามารถเป็นทางเลือกหนึ่งให้กับเกษตรกรในการเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุและแหล่งธาตุอาหารให้กับต้นยางชำถุงด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าวิธ๊การเพาะชำต้นยางชำถุงที่เกษตรกรนิยมใช้ในปัจจุบัน และเป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดของเหลือทิ้ง เพิ่มมูลค่าของเหลือทิ้งให้มีประโยชน์ขึ้นมาใหม่ และเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำen_US
dc.description.abstractalternativeReplacement of fertilizers with sludge and rubber latex lutoid for mursering poly-bag rubber were stuied the adventage and latency of sludge and rubber latex lutoid for growth of poly-bag rubber. Theexperimental design was Randomized Complete Block Design (RCBD) with 5 replications. One treatment unit was poly-bag size 11.5X35 centimeter. Medias for nursering were the mixed of soil and soil amendment (sludge, rubber latex lutoid, organic fertilizer and chemical fertilizer) with the ratio 3:1 by volume consisted of 8 mixing methods. The planting technique was bidded stump PRIM 600. The experiment was conducted at agricultural area tambon Saikhueng, Phrasang district, Suratthani province during Febriary-April 2008. The result showed that chemical fertilizer and organic fertilizer could be replaced by sludge cum rubber latex lutoid equally or better off significantly. Both amendments in the media could increase organic matter content, sufficiently supplied major elements (N, P, K) and Mg for growth of poly-bag rubber (height, diameter, size of canopy and dry weight of root) and basal application of rock phosphate fertilizer (170 grms/tree) in the field was not neede. In addition, heavy metals (Cu, Mn, Fe, Zn, Cd, Pb and Ni) content in the soils for nursering poly-bag rubber were within the standrad of soil quality for residence and agriculture under Committee Environment Nation notice (series 25; 2004). Moreover, investment cost for nursering poly-bag rubber by using ludge and rubber latex lutoid was 8 times lower than that of organic fertilizer and chemical fertilizer with is about 40% of total rubber farming cost. In conclusion, chemical fertilizer and organic fertilizer could be replaced by sludge and rubber latex lutoid for nursering poly-bag rubber. This replacement can be one of the alternative for rubber replanter to increase the organic matter and nutrient source with low investment cost for nursering poly-bag rubber and can be a direction to sustain community development. Besides, reduction cost of waste treatment, increased value-added of waste, and solve the sequence problems resulted from waste as water pollution.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.523-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectปุ๋ย -- แง่สิ่งแวดล้อมen_US
dc.subjectกากตะกอนน้ำเสีย -- แง่สิ่งแวดล้อมen_US
dc.subjectพืชตระกูลยาง -- การปลูก -- แง่สิ่งแวดล้อมen_US
dc.subjectFertilizers -- Environmental aspects-
dc.subjectSewage sludge -- Environmental aspects-
dc.subjectRubber plants -- Planting -- Environmental aspects-
dc.titleการทดแทนปุ๋ยด้วยกากตะกอนน้ำเสียและกากขี้แป้งเพื่อการเพาะชำยางชำถุงen_US
dc.title.alternativeReplacement of fertilizers with sludge and rubber latex lutoid for nursering poly-bag rubberen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorOrawan.Si@chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.523-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sattapong Chobkatanyoo.pdf1.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.