Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56770
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณัทธร พิทยรัตน์เสถียร-
dc.contributor.authorอิสรียา ดาราทอง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2018-01-11T09:19:39Z-
dc.date.available2018-01-11T09:19:39Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56770-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมไม่พึงประสงค์และความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร พร้อมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ของทั้งสองตัวแปรและศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ โดยเป็นการวิจัยเชิงพรรณนาโดยศึกษา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนอาชีวศึกษาระดับระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช) ชั้นปีที่ 1-3 และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส) ชั้นปีที่ 1-2 ในวิทยาลัยอาชีวศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร 5 วิทยาลัย จำนวน 1051 คน เครื่องมือที่ใช้แบ่งเป็นสามส่วน คือ ข้อมูลส่วนบุคคล, แบบสอบถามวัดความฉลาดทางอารมณ์ และ แบบประเมินพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช้สถิติเชิงพรรณนาในการบรรยายลักษณะของนักเรียนอาชีวศึกษา ใช้วิธีวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันดูความสัมพันธ์ และ ใช้สถิติ t-test และ One - way ANOVA ในการวิเคราะห์ความแตกต่าง ผลการวิจัยพบว่านักเรียนอาชีวะประเมินตนเองว่ามีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์โดยเฉลี่ย 2.21 เรื่อง (พิสัย 0-12 เรื่อง) ในขณะที่อาจารย์ประเมินว่านักเรียนที่ตนเองดูแลนั้นมีปัญหาพฤติกรรมโดยเฉลี่ย 0.51 เรื่อง (พิสัย 0-9 เรื่อง) การประเมินของอาจารย์และนักเรียนมีความสอดคล้อง (Agreement) กันในระดับปานกลาง (r = .223, P = .01) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ได้แก่ เพศ สาขาที่เรียน ระดับชั้นปี และเกรดเฉลี่ย การประเมินความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนอาชีวะพบว่าอยู่ในระดับสูง 3.8% ค่อนข้างสูง 65.3% ปานกลาง 30.2% ค่อนข้างต่ำ 0.7% โดยไม่มีผู้มีระดับความฉลาดทางอารมณ์ในระดับต่ำเลยแม้แต่คนเดียว ไม่พบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนความฉลาดทางอารมณ์กับจำนวนปัญหาพฤติกรรม (r = .015, p = .626)สรุปผลการวิจัยคือ มีปัจจัยหลายประการที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ในเด็กนักเรียนอาชีวะ แต่ไม่พบว่าความฉลาดทางอารมณ์มีความสัมพันธ์ด้วย การประเมินปัญหาพฤติกรรมในเด็กนักเรียนอาชีวะควรระลึกถึงข้อจำกัดและอคติของผู้ให้ข้อมูลแต่ละกลุ่มเสมอen_US
dc.description.abstractalternativeObjective: To examine deviant behaviors among vocational students in Bangkok, and to investigate the relationship between the deviant behaviors and potential associated factors, including emotional intelligence. Materials and Method: The research design was cross-sectional, descriptive. The samples included a total of 1,051 vocational students (Vocational Certificate) in 1st, 2nd, and 3rd year, and high vocational students (High Vocational Diploma) in 1st and 2nd year from five different vocational colleges in Bangkok. The instruments consisted of three following parts; respondent’s demographic data, the Emotional Intelligence Test, and the Deviant Behavior Inventory. To analyze data, the descriptive statistics was used to describe the vocational students’ characteristics. Pearson’s correlation coefficient was conducted to determine the relationship between deviant behavior and emotional intelligence. T-test and One-way ANOVA were used to delineate the difference. Result: The vocational students reported themselves as having deviant behaviors on average of 2.21 areas (range 0 – 12), while they were rated as having the deviant behaviors by teacher in 0.51 areas (range 0 – 9). Evaluation of deviant behaviors by students and teachers showed moderate agreement (r =.223, p = .01). Factors associated with the deviant behaviors included gender, program learnt, year rank and GPA. Regarding the assessment of emotional intelligence, 3.8% of vocational students in Bangkok were rated as of high level, 65.3% somewhat high, 30.2% moderate, and 0.7% somewhat poor. None of the participants were rated as of poor emotional intelligence. There was no relationship between emotional intelligence scores and number of deviant behaviors (r = .015, = .626). Conclusion: Despite several factors associated with deviant behaviors among the vocational students were found, there was no relationship with emotional intelligence. The assessment process of the vocational students’ behavioral problems should always be aware of the limitation and respondent’s bias.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectความฉลาดทางอารมณ์en_US
dc.subjectนักเรียนอาชีวศึกษา -- พฤติกรรมen_US
dc.subjectความก้าวร้าวในเยาวชนen_US
dc.subjectEmotional intelligenceen_US
dc.subjectVocational school students -- Behavioren_US
dc.subjectAggressiveness in youthen_US
dc.titleพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ของนักเรียนอาชีวศึกษาและความสัมพันธ์กับความฉลาดทางอารมณ์en_US
dc.title.alternativeVocational student's deviant behaviors and relationship with emotional intelligenceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการจัดการด้านโลจิสติกส์ (สหสาขาวิชา)en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorNuttorn.P@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ubonwan Aonto.pdf2.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.