Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56775
Title: การศึกษาการประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริงกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ช่วงชั้นที่ 3 ในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Study of authentic assessment in science subject areas at key stage three in Bangkok Metropolis
Authors: ชนันท์ เกียรติสิริสาสน์
Advisors: อลิศรา ชูชาติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Alisara.C@chula.ac.th
Subjects: การวัดผลทางการศึกษา
การประเมินผลทางการศึกษา
วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) -- การประเมิน
Educational tests and measurements
Educational evaluation
Science -- Study and teaching ‪(Secondary)‬ -- Evaluation
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาการประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริงของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 3 ตัวอย่างประชากร คือ ครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 3 ในเขตกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม และแนวคำถามในการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์เนื้อหาความเชื่อมโยงของกลุ่มข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ การประเมินผลการเรียนรู้ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 3 ยังไม่เป็นไปตามแนวคิดของการประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง ดังต่อไปนี้ 1. การวางแผนการประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง พบว่า มีครูวิทยาศาสตร์เพียง 46.46% ที่มีการวางแผนและบันทึกการวางแผนการประเมินผลการเรียนรู้ จากการสนทนากลุ่มพบว่า การวางแผนการประเมินของครูมีลักษณะเป็นข้อตกลงร่วมกันของครูผู้สอนในรายวิชาเดียวกัน เกี่ยวกับรายละเอียดของการให้คะแนน และการกำหนดผลงานของผู้เรียนที่ใช้ในการประเมิน แต่ไม่มีการบันทึก 2. การดำเนินการประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง 2.1 ช่วงเวลาในการประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริงพบว่า มีครูวิทยาศาสตร์ เพียง 53.54% ที่มีการประเมินเมื่อเริ่มต้นการจัดการเรียนการสอนในภาคเรียนใหม่ จากการสนทนากลุ่มพบว่า ครูส่วนใหญ่ขาดการประเมินในช่วงก่อนเรียนเนื่องจากเวลาในการจัดการเรียนการสอนที่จำกัด และเนื้อหาของบทเรียนมีเป็นจำนวนมาก 2.2 วัตถุประสงค์ในการประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง พบว่า จากจำนวนครูวิทยาศาสตร์ที่ประเมินก่อนเรียนมีเพียง 33.82% ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความรู้ ทักษะ และเจตคติที่เป็นพื้นฐานในการเรียน ในช่วงระหว่างเรียนและหลังเรียน พบว่า มีครูวิทยาศาสตร์เพียง 12.99% และ 9.45% ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการของผู้เรียน ตามลำดับ จากการสนทนากลุ่มพบว่ ครูขาดการประเมินเพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการของผู้เรียน เนื่องจากจำนวนนักเรียนในแต่ละชั้นมากเกินไป ทำให้การประเมินผู้เรียนเป็นรายบุคคลทำได้อย่างจำกัด อีกทั้งขาดแนวทางการประเมินพัฒนาการของผู้เรียนที่ชัดเจน 2.3 สิ่งที่ครูประเมินผู้เรียนตามสภาพจริงพบว่า จากจำนวนครูวิทยาศาสตร์ที่ประเมินก่อนเรียนพบว่า มีเพียง 57.35% และ 38.97% ที่ประเมินด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ ในช่วงระหว่างเรียนและหลังเรียน พบว่า มีครูวิทยาศาสตร์เพียง 49.21% และ 39.37% ที่ประเมินด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสม และมีเพียง 36.61% และ 19.69% ที่ประเมินด้านเจตคติทางวิทยาศาสตร์ ตามลำดับ จากการสนทนากลุ่มพบว่า ครูให้ความสำคัญกับการประเมินเจตคติทางวิทยาศาสตร์ลดลง เพราะไม่ได้นำผลมาใช้คิดคะแนนเพื่อตัดสินผลการเรียน ในด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พบว่า ครูขาดการประเมิน เนื่องจากเวลาในการจัดการเรียนการสอนที่จำกัด และเนื้อหาของบทเรียนมีเป็นจำนวนมาก 2.4 วิธีการในการประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริงพบว่า จากจำนวนครูวิทยาศาสตร์ที่ประเมินก่อนเรียนพบว่า มีเพียง 53.68% ที่ใช้วิธีการสังเกต ในช่วงระหว่างเรียนและหลังเรียนพบว่า มีครูวิทยาศาสตร์เพียง 51.97% และ 34.25% ที่ใช้วิธีการซักถาม หรือสัมภาษณ์ ตามลำดับ จากากรสนทนากลุ่มพบว่า ครูไม่ได้ใช้วิธีการสังเกตและการซักถาม หรือสัมภาษณ์ประเมินผู้เรียน เนื่องจากเวลาในการจัดการเรียนการสอนมีจำกัด 2.5 การนำผลการประเมินไปใช้ตามสภาพจริงพบว่า จากจำนวนครูวิทยาศาสตร์ที่ประเมินก่อนเรียน พบว่ามีเพียง 38.23% ที่นำผลไปใช้เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการ หลังการจัดการเรียนการสอน โดยนำไปใช้เพียงบางครั้ง ในช่วงระหว่างเรียบและหลังเรียน พบว่า มีเพียง 36.22% และ 42.52% ตามลำดับ ที่นำผลการประเมินไปใช้เพื่อชี้แจงและเสนอแนวทางการกำกับดูแล และพัฒนาผู้เรียนให้กับผู้ปกครอง โดยนำไปใช้เพียงบางครั้ง จากการสนทนากลุ่มพบว่า แม้ว่าครูนำผลการประเมินไปใช้เพื่อช่วยเหลือ และกำกับติดตาม การพัฒนาตนเองของผู้เรียน แต่ยังคงจำกัดเพียงแค่การช่วยเหลือ และพัฒนาผู้เรียนกลุ่มที่มีคะแนนต่ำเท่านั้น และเป็นการนำไปใช้เพียงบางครั้ง
Other Abstract: To study authentic assessment of teachers in science subject areas at key stage 3. The samples of the study were science teachers at key stage 3 in Bangkok Metropolis. The research instruments were the authentic assessment questionnaire, and guideline questions for focus group interview. The data were analyzed by means of percentage, arithmetic means, and content analysis. It was found that: The learning assessment of science teachers at key stage 3 was not proceeded follow the authentic assessment guideline that could be presented as follows: 1. The learning authentic assessment planing. It was found that only 46.46% of science teachers had the learning assessment planing and recording. Focus group interview found that science teachers who teach the same subject had co-operate in learning authentic assessment planing about detail of scoring and assignment students' work that use in assessing but it was not had record. 2. The proceed on learning authentic assessment. 2.1 The time of learning authentic assessment. It was found that only 53.54% of science teachers assessed the students' learning in the begin of semester. Focus group interview found that the most of science teachers had no assessed the students' learning in before learning because limitation of time and many of science contents. 2.2 The purpose of learning authentic assessment. It was found that 33.82% of science teachers that assessed the students' learning in before learning had the purpose of assessment to check the basic knowledge, skill, and attitude of students. In during and post-learning, it was found that 12.99% and 9.45% of science teachers had purpose of learning assessment to collect the data about students' development respectively. Focus group interview found that science teachers had no assess students' learning to collect the data about students' development because of each class had many students and had no the precise method in assess students' development. 2.3 Learning outcome that science teachers assessed. It was found that 57.35% and 38.97% of science teachers that assessed the students' learning in before learning assessed basic science process skills and scientific attitude of students respectively. In during and post-learning, it was found that 49.21% and 39.37% of science teachers assessed integrated science process skills of students and only 36.61% and 19.69% of science teachers assessed scientific attitude of students respectively. Focus group interview found that science teachers assessed scientific attitude of students decrease because of it was not used in deciding learning outcome of students. In science process skills, it was found that science teachers had no assess because limitation of time and many of science contents. 2.4 Method in learning authentic assessment. It was found that 53.68% of science teachers that assessed the students' learning in before learning used the observing. In during learning and post-learning, it was found that 51.97% and 34.25% of science teachers used the interviewing respectively. Focus group interview found that science teachers were not used the observing and interviewing in assessing students because limitation of time. 2.5 Using authentic assessment result. It was found that 38.23% fo science teachers that assessed the students' learning in before learning used assessment result for comparing students' development but used it sometimes. In during learning and post-learning, it was found that 36.22% and 42.52% of science teachers respectively used assessment result for inform and guide to parents about the way in monitor and develop students but used it sometimes. Focus group interview found taht science teachers used assessment result for promoting and monitoring self-development of students who had low achievement only but used it sometimes.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษาวิทยาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56775
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.656
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.656
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chanan_ke_front.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
chanan_ke_ch1.pdf763.85 kBAdobe PDFView/Open
chanan_ke_ch2.pdf3.32 MBAdobe PDFView/Open
chanan_ke_ch3.pdf791.82 kBAdobe PDFView/Open
chanan_ke_ch4.pdf2.8 MBAdobe PDFView/Open
chanan_ke_ch5.pdf808.37 kBAdobe PDFView/Open
chanan_ke_back.pdf2.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.