Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56831
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วไลรัตน์ บุญสวัสดิ์ | - |
dc.contributor.author | สายัณห์ ผาน้อย | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.coverage.spatial | ไทย (ภาคกลาง) | - |
dc.date.accessioned | 2018-01-25T11:28:15Z | - |
dc.date.available | 2018-01-25T11:28:15Z | - |
dc.date.issued | 2529 | - |
dc.identifier.isbn | 9745673005 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56831 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 | en_US |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์ สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอและกิ่งอำเภอ ในเขตการศึกษา 6 2. เพื่อศึกษาปัญหาในการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์ สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอและกิ่งอำเภอในเขตการศึกษา 6 วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มประชากรที่ใช้ตอบแบบสอบถามเพื่อการวิจัย ได้แก่ ศึกษานิเทศก์อำเภอในเขตการศึกษา 6 จำนวน 202 คน และกลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ศึกษาเอกสารการปฏิบัติงาน และสัมภาษณ์เพื่อการวิจัย ได้แก่ ศึกษานิเทศก์อำเภอ ในเขตการศึกษา 6 ตามขนาดอำเภอที่รับผิดชอบ 3 ขนาด ขนาดละ 7 คน รวม 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ แบบมาตราส่วนประเมินค่า แบบบันทึกรายละเอียดจากการศึกษาเอกสารการปฏิบัติงาน และแบบสัมภาษณ์มีลักษณะเป็นคำถามแบบปลายเปิด ส่งแบบสอบถามไปจำนวน 202 ฉบับ ได้รับแบบสอบถามที่สมบูรณ์กลับคืนมาจำนวน 164 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 81.19 การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการแจกแจงความถื่ สรุปผลการวิจัย 1. การปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์อำเภอ ในเขตการศึกษา 6 โดยสรุปแล้วศึกษานิเทศก์อำเภอเห็นว่า มีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก 6 งาน อยู่ในระดับน้อย 3 งาน งานที่ศึกษานิเทศก์อำเภอเห็นว่าได้มีการปฏิบัติมากว่างานอื่นๆ ได้แก่ งานนิเทศและตรวจเยี่ยม ส่วนงานที่เห็นว่าได้มีการปฏิบัติน้อยกว่างานอื่นๆ ได้แก่ งานศูนย์วัสดุอุปกรณ์ 2. ปัญหาในการปฏบัติงานของศึกษานิเทศก์อำเภอ ในเขตการศึกษา 6 โดยสรุปแล้วศึกษานิเทศก์อำเภอเห็นว่าปัญหาที่อยู่ในระดับมากมีจำนวน 1 งาน ได้แก่ งานศูนย์วัสดุอุปกรณ์ งานที่มีปัญหาในการปฏิบัติอยู่ในระดับน้อยมีจำนวน 7 งาน รวมทั้งงานด้านอื่นๆ ส่วนงานที่มีปัญหาน้อยที่สุดมี 2 งาน คือ งานส่งเสริมคุณลักษณะนักเรียน และงานพัฒนาการศึกษา 3. เมื่อรวมกิจกรรมต่างๆ ของการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์อำเภอ ทั้งหมดจำนวน 57 กิจกรรม พบว่า กิจกรรมที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ การนิเทศและติดตามผลการใช้หลักสูตรคู่มือครู แผนการสอน การวัดและประเมินผลตามแบบ ป.02 ส่วนกิจกรรมที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ จัดทำคู่มือเกี่ยวกับวิธีทำและวิธีใช้สื่อการสอนให้โรงเรียน 4. เมื่อรวมกิจกรรมต่างๆ ของปัญหาในการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์อำเภอทั้งหมด 30 กิจกรรม พบว่า กิจกรรมที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยของปัญหาสูงสุด ได้แก่ ขาดงบประมาณในการจัดซื้อสื่อการสอนและโสตทัศนูปกรณ์ ส่วนกิจกรรมที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยของปัญหาต่ำสุดได้แก่ ศึกษานิเทศก์ขาดความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน วิธีการวัดและประเมินผล 5. สาเหตุของปัญหาในการปฏิบัติงานด้านศูนย์วัสดุอุปกรณ์ จากแบบสอบถามและจากการสัมภาษณ์ พบว่า เกิดจากการขาดงบประมาณในการจัดซื้อสื่อการสอนและโสตทัศนูปกรณ์เป็นส่วนใหญ่ รองลงไปคือ ขาดอาคารสถานที่ในการจัดตั้งศูนย์วัสดุอุปกรณ์ 6. ปัญหาอื่นๆ ที่ศึกษานิเทศก์อำเภอเห็นว่า เป็นปัญหาที่อยู่ในระดับมาก มี 2 เรื่อง ได้แก่ จำนวนศึกษานิเทศก์มีน้อยไม่ได้สัดส่วนกับจำนวนครูและโรงเรียน และหน้าที่ของศึกษานิเทศก์อำเภอตามระเบียบที่กำหนดไว้มีมากเกินไป | en_US |
dc.description.abstractalternative | Purposes of the study : 1. To study the performance of educational supervisors at the district and subdistrict Office of Primary Education in Educational Region Six. 2. To investigate problems of performance of such educational supervisors. Research Procedure : The population in this study were 202 district educational supervisors in Educational Region 6. The population whose working manual were examined and being interviewed were also district educational supervisors in region 6 but selected from 3 different sizes of districts under responsibility, seven administrators for each size, totally 21 persons. The research instruments were a set of questionnaire that were check list, rating scale, records of working manual study and interviewing. Two hundred two sets of questionnaire were distributed and completed 164 sets were returned (81.19%). The data were analysed by percentage, mean, standard deviation and frequency. Conclusions : 1. In summary view of educational supervisors’ performance in Educational Region 6, it is found that there are six much performed works and three less performed works. The most performed one is supervision and school visit, where as the least performed one is the works concerned with instructional media centrel. 2. The problem aspects in performance of educational supervisors in Educational Region 6, it is found that there is only one problem at high level which is the works at instructional media centre, while there are 7 works having problem at low level. Two problems which are at the lowest level, are promoting students and quality and education development. 3. After including 57 activities of educational supervisor’s performance the highest mean score activities are supervision and curricula using following up teachers’ handbook instructional plan measurement and evaluation. The lowest mean scored activities are preparing handbook of producing and using instructional media. 4. When concluding 30 problems in performance the highest mean score problem is the budget shortage in purchasing instructional media and audio–visual. On the other hand the lowest mean scored problem is the supervisors’ lacking of the right idea in educational planning and measurement and evaluation method. 5. The questionnaire and the interviewing reveal that the problem of instructional media centre has the budget shortage in purchasing instructional media and audio-visual media as the major cause, the second cause in not having place for establishing the centre. 6. There are 2 problems of high level mean score which are the unappropriate ratio numbers of education supervisor and number of teachers and too many appointed duties for an educational supervisor. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ศึกษานิเทศก์ | en_US |
dc.subject | การนิเทศการศึกษา | en_US |
dc.subject | โรงเรียนประถมศึกษา -- ไทย (ภาคกลาง) | en_US |
dc.subject | Supervised study | en_US |
dc.subject | Elementary schools -- Thailand, Central | en_US |
dc.title | การศึกษาการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์ สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอและกิ่งอำเภอ ในเขตการศึกษา 6 | en_US |
dc.title.alternative | A study of educational supervisors' performance at the district and subdistrict office of primary education in educational region six | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | บริหารการศึกษา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Valairat.b@chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sayan_pan_front.pdf | 1.95 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sayan_pan_ch1.pdf | 1.47 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sayan_pan_ch2.pdf | 5.07 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sayan_pan_ch3.pdf | 1.28 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sayan_pan_ch4.pdf | 8.3 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sayan_pan_ch5.pdf | 2.6 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sayan_pan_back.pdf | 4.53 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.