Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56840
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorประคอง ตังประพฤทธิ์กุล-
dc.contributor.authorศิริมา สระวาสี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2018-01-26T09:41:11Z-
dc.date.available2018-01-26T09:41:11Z-
dc.date.issued2529-
dc.identifier.isbn9745670464-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56840-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529en_US
dc.description.abstractการศึกษารูปแบบของฮอร์โมนอีสตราดิออล โปรเจสเตอโรน และลูทีนไนซิงฮอร์โมนโดยวิธีเรดิโออิมมิวโนแอสเสย์ในลิงหางยาวเพศเมียวัยเจริญพันธุ์ที่มีความสามารถในการสืบพันธุ์ต่ำ อายุ 6-10 ปี จำนวน 6 ตัว จากศูนย์วิจัยไพรเมต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่าลิง 2 ตัว มีระดับอีสตราดิออล และโปรเจสเตอโรนในระหว่างรอบเดือนเป็นปกติ ลิงทั้ง 2 ตัว สามารถตั้งครรภ์ได้เมื่อนำไปผสมกับเพศผู้ที่มีความสามารถในการสืบพันธุ์สูงในช่วงเวลาที่เหมาะสมโดยไม่ต้องใช้คลอมิฟีน ซิเตรทในการรักษา ส่วนลิงอีก 4 ตัว มีระดับอีสตราดิออลต่ำในระหว่างการเจริญของฟอลลิเดิล (0.12-0.36 นาโนโมลต่อลิตร เทียบกับ 0.21-0.80 นาโนโมลต่อลิตร) และระยะก่อนตกไข่ พบปริมาณอีสตราดิออลเพียง 0.61-0.78 นาโนโมลต่อลิตร เมื่อเทียบกับลิงปกติ 1.30-2.06 นาโนโมลต่อลิตร ระดับลูทีนไนซิงฮอร์โมนในระยะก่อนตกไข่ จะพบระดับสูงสุดระหว่าง 90-128 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร ซึ่งในลิงปกติจะสูงถึง 176-343 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร และในระยะลูเทียลก็มีระดับโปรเจสเตอโรนต่ำ 3.84-4.96 นาโนโมลต่อลิตร เทียบกับ 12.33-24.82 นาโนโมลต่อลิตร นอกจากนี้ยังพบว่า ลิง 3 ตัว ในจำนวน 4 ตัวนี้ มีระยะลูเทียลสั้น (8-11 วัน เทียบกับ 12-15 วันในลิงปกติ) การมีระดับอีสตราดิออล ลูทีนในซิงฮอร์โมน และโปรเจสเตอโรนต่ำในระหว่างรอบประจำเดือน และการมีระยะลูเทียลสั้นของลิงทั้ง 4 ตัวนี้ พบว่าไม่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของฤดู เนื่องจากในฤดูฝนและฤดูแล้งลิงทุกตัวยังคงมีรูปแบบฮอร์โมนเหมือนเดิม เมื่อใช้คลอมิฟีน ซิเตรท ทดลองรักษาลิง 4 ตัวที่มีความผิดปกติของระดับฮอร์โมนโดยให้ลิงกินในขนาด 10 มิลลิกรัมต่อวัน ในวันที่ 1-5 ของรอบประจำเดือน พบว่าลิงทุกตัวมีระดับอีสตราดิออลในระหว่างการเจริญของฟอลลิเคิลเพิ่มขึ้นเป็น 0.26-0.79 นาโนโมลต่อลิตร ระยยะตกไข่เพิ่มขึ้นเป็น 1.96-2.72 นาโนโมลต่อลิตร ลูทีนไนซิงฮอร์โมนเพิ่มขึ้นเป็น 227-360 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร ระดับโปรเจสเตอโรนในระยะลูเทียลเพิ่มขึ้นเป็น 14.01-22.61 นาโนโมลต่อลิตร เมื่อนำลิงกลุ่มนี้ไปผสมกับพ่อพันธุ์ในช่วงกลางของรอบเดือนลิง 2 ตัวสามารถตั้งครรรภ์ได้ ส่วนลิงอีก 2 ตัว พบว่ามีระยะลูเทียลยาวขึ้นเป็น 16-17 วัน จากการศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่า 1. ลิงหางยาวที่มีความสามารถในการสืบพันธุ์ต่ำ อาจเนื่องจากช่วงเวลาใช้ในการผสมหรือเพศผู้ที่ใช้ไม่เหมาะสม หรืออาจเนื่องจากมีระดับฮอร์โมนอีสตราดิออล ลูทีนไนซิงฮอร์โมน และโปรเจสเตอโรน ต่ำกว่าปกติ 2. การใช้คลอมิฟีน ซิเตรทอาจมีผลในการปรับปรุงความสามารถในการสืบพันธุ์ในลิงหางยาวเพศเมียที่มีความผิดปกติของระดับฮอร์โมนได้เช่นเดียวกับในสตรีen_US
dc.description.abstractalternativeSerum levels of estradiol (E₂), progesterone (P) and luteinizing hormone (LH) were determined by radioimmunoassay method in 6 adult subfertile female monkeys of 6-10 years old kept in the Primate Center of Chulalongkorn University. Two monkeys showed normal E₂ and P profiles during the menstrual cycle. These animals were capable to mate and have successful pregnancy by placing with selected adult fertile males in proper mating time without clomiphene citrate treatment. The other four monkeys exhibited lower level of E₂ during follicular phase (0.12-0.36 nmol/L VS 0.21-0.80 nmol/L) lower preovulatory E₂ peak (0.61-0.78 nmol/L VS 1.30-2.05 nmol/L) lower LH peak (90-128 ng/ml VS 176-343 ng/ml) and lower level of P during the mid-luteal phase (384-4.96 nmol/L VS 12.33-24.82 nmol/L). Moreover, it was found that luteal phase were shorter in three out of four monkeys (8-11 days VS 12-15 days). These phenomena were exhibited in rainy season as well as in dry season.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเซรุ่มen_US
dc.subjectโปรตีนในเลือดen_US
dc.subjectเอสตราไดออลเบนโซเอทen_US
dc.subjectเอสโตรเจนen_US
dc.subjectลูทิไนซิงฮอร์โมนen_US
dc.subjectSerumen_US
dc.subjectBlood proteinsen_US
dc.subjectEstradiol benzoateen_US
dc.subjectEstrogenen_US
dc.subjectLuteinizing hormoneen_US
dc.titleรูปแบบของอีสตราดิออล โปรเจสเตอโรน และลูทีนนไนนซิงฮอร์โมน ในเลือดของลิงหางยาวเพศเมียวัยเจริญพันธุ์ที่มีความสามารถในการสืบพันธุ์ต่ำและการรักษาด้วยคลอมิฟีน ซิเตรทen_US
dc.title.alternativeSerum patterns of estradiol progesterone and luteinizing hormone in sub-fertile adult female Macaca fascicularis and clomiphene citrate treatmenten_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineสรีรวิทยาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sirima_sr_front.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open
Sirima_sr_ch1.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open
Sirima_sr_ch2.pdf2.79 MBAdobe PDFView/Open
Sirima_sr_ch3.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open
Sirima_sr_ch4.pdf803.96 kBAdobe PDFView/Open
Sirima_sr_back.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.